เคล็ดลับดีๆ สำหรับพยาบาลกะดึก

เคล็ดลับดีๆ สำหรับพยาบาลกะดึก

การทำงานกะดึก เป็นการทำงานที่ไม่ตรงกับนาฬิกาชีวิตของร่างกาย เพราะโดยปกติช่วงเวลากลางคืนเป็นเวลาพักผ่อน เมื่อเวลานอนเปลี่ยนไป จึงส่งผลต่อปัญหาสุขภาพที่ตามมา

‍แต่ไม่ต้องกังวลไปค่ะ วันนี้พี่เนิร์สจะพาทุกคนมาสร้าง “นาฬิกาชีวิตกะดึก” ให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างไม่เสียสุขภาพ ต้องทำอย่างไรบ้างไปดูกัน

Tip 1 : นอนพักผ่อนให้เพียงพอ
หากต้องเข้ากะดึกควรปรับเวลานอนกลางวันให้ครบ 8 ชั่วโมง และที่สำคัญคือพยายามสร้างบรรยากาศให้เอื้อต่อการนอนมากที่สุด อาจจะปิดผ้าม่าน ใช้ผ้าปิดตา และที่อุดหู เพื่อทำห้องให้มืดที่สุดและกันสิ่งรบกวนจากภายนอกในเวลากลางวัน

Tip 2 : ทานแค่พออิ่มไม่ให้รู้สึกหิวก็พอ
ควรกินอาหารมื้อก่อนเข้ากะและมื้อระหว่างกะในปริมาณที่น้อย พร้อมหาของทานเล่นแก้ง่วงที่มีโปรตีนสูง เช่น โยเกิร์ต ถั่วอบแห้งไม่เติมเกลือ เพื่อเพิ่มพลังงานให้แก่ร่างกาย แล้วค่อยกินมื้อใหญ่หลังออกกะในช่วงเช้า

Tip 3 : ดื่มคาเฟอีนอย่างชาญฉลาด
หลีกเลี่ยงดื่มกาแฟหนักเวลากลางคืน ถ้าจะต้องดื่มจริง ๆ ให้ดื่มก่อนเข้างานและไม่ควรดื่มหลังตี 3 เพราะคาเฟอีนจะกระตุ้นสมองให้เราตื่นนาน 6 ชั่วโมง ทำให้นอนไม่หลับในช่วงกลางวัน

Tip 4 : ดื่มน้ำเพิ่มความชุ่มชื่น
แนะนำให้พยายามดื่มน้ำบ่อย ๆ ขณะปฏิบัติงาน เพราะถ้าดื่มน้ำไม่เพียงพอ ร่างกายอาจเกิดภาวะขาดน้ำได้ ดังนั้นเพื่อรักษาความชุ่มชื่นให้แก่ร่างกาย จึงควรดื่มน้ำ 1.5-2 ลิตรต่อวัน จะช่วยป้องกันอาการปวดหัวและความเหนื่อยล้าได้

Tip 5 : หมุนเวียนงานต่าง ๆ ระหว่างกะ
การหมุนเวียนงานจะช่วยทำให้ร่างกายรู้สึกตื่นตัวอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นวัดสัญญาณชีพ ให้ยา/น้ำเกลือผู้ป่วย เจาะเลือด หรือเขียนบันทึกการรักษา

Tip 6 : โยคะบำบัดก่อนเข้านอน
โยคะช่วยผ่อนคลายความเครียดจากการเข้าเวรดึกได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการอดนอนเรื้อรัง การฝึกโยคะเบา ๆ ก่อนเข้านอนจะช่วยปลดปล่อยความเมื่อยล้าออกจากร่างกายและจิตใจ รวมทั้งเตรียมความพร้อมเข้าสู่โหมดพักผ่อนได้อย่างเต็มที่

เคล็ดลับดีๆ สำหรับพยาบาลกะดึก

Related Articles

ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ

สวัสดีค่ะ พี่น้อง nurse soulciety ทุกท่าน หลังจากพี่เนิร์สเผยแพร่เนื้อหาภาวะหลอดเลือดดำอักเสบไปแล้วนั้น วันนี้เราจะมาทบทวนความรู้ของภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาทางหลอดเลือดดำส่วนปลายอีกอย่างหนึ่ง ที่สำคัญมากๆ คือ ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ ส่งผลทำให้เกิดการติดเชื้อที่ตำแหน่งการให้ยา และติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ทำให้ต้องรักษาในโรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่ารักษาพยาบาลมากขึ้น ดังนั้นพยาบาลควรมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกัน เฝ้าระวัง ประเมินการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของยาหรือสารน้ำ และจัดการเมื่อเกิดภาวะดังกล่าว ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ภาวะรั่วซึมของยาหรือสารน้ำออกนอกหลอดเลือดดำ…

ทะเลไทย เที่ยวหน้าไหนดี?

ใครกำลังอยากรู้ว่าจะเที่ยวทะเลไทย ควรไปช่วงเดือนไหนดีที่จะไม่เจอมรสุม วันนี้น้องอารีย์มีคำตอบมาให้ทุกคนแล้วว ทะเลไทยแบ่งออกเป็น 4 โซนใหญ่ๆ ตามนี้ 1. ฝั่งอันดามัน เช่น ภูเก็ต กระบี่ พังงา ตรัง หลีเป๊ะ 2. ทะเลฝั่งอ่าวไทยตอนบน เช่น ชะอำ เพชรบุรี หัวหิน ประจวยคีรีขันธ์ 3. ทะเลฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง เช่น…

กลุ่มอาการ PMS/PMDD ก่อนมีประจำเดือน

สาวๆ คุณเคยมีอาการดังต่อไปนี้หรือเปล่า? อารมณ์แปรปรวนก่อนมีประจำเดือน เศร้า หดหู่ เซ็ง หงุดหงิด น่าเบื่อไปหมดทุกอย่าง อาการเหวี่ยงวีนของสาวๆ ก่อนมีประจำเดือน บางทีสาวๆ อย่างเราก็ยังไม่เข้าใจตัวเองเลย วันนี้พี่เนิร์สจึงขอพาทุกคนมาเช็คอาการที่เรามักจะเป็นก่อนมีประจำเดือน ว่าเราจัดอยู่ในกลุ่มอาการแบบไหน ต้องรักษาไหม?ไปดูกันเลย 1. เราเป็น PMS, PMDD หรือเปล่า ? PMS (Premenstrual Syndrome) คือ…

เทคนิคทำงานกะดึกยังไงให้หน้าใสไร้สิว

พยาบาลกะดึกก็ผิวสวยใสไม่มีสิวได้ แค่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และหมั่นดูแลสุขภาพของตัวเองให้ดีอยู่เสมอ ต้องทำอย่างไรบ้าง? พี่เนิร์สจะมาบอกเทคนิคค่ะ

การประเมินแผลกดทับ

แผลกดทับ คือ การบาดเจ็บเฉพาะที่ของผิวหนังหรือเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังโดยเฉพาะบริเวณปุ่มกระดูกหรือบริเวณที่มีอุปกรณ์ทางการแพทย์กดทับการเกิดแผลกดทับมักพบในผู้ป่วยที่มีการนอนอยู่บนเตียงเป็นเวลานาน นอนติดเตียง ไม่ค่อยพลิกตะแคงตัว หรือเป็นผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้หรือช่วยเหลือตัวเองได้น้อย มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวจนเกิดแผลกดทับที่ผิวหนังตามตำแหน่งต่างๆ โดยเฉพาะบริเวณปุ่มกระดูก เช่น กระดูกก้นกบ กระดูกเชิงกราน กระดูกสันหลัง ข้อศอกและส้นเท้า เป็นต้น ระดับของแผลกดทับตาม National Pressure Ulcer Advisory Panel (NPUAP), April 13, 2016 1.ระดับ1…

Responses