กินวิตามินหลังติดโควิด ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน

สวัสดีค่าวันนี้พี่เนิร์ส เอาเรื่องวิตามินที่จำเป็นหลังจากหายโควิดมาฝากค่า หลังจากติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ถึงแม้จะหายดี ไม่พบเชื้อไวรัสหลงเหลือในร่างกายแล้ว แต่หลายคนกลับมีสภาพร่างกายเปลี่ยนไป เหนื่อยง่ายขึ้น สมาธิ ไอเรื้อรัง หรืออาการอื่นๆ ที่เข้าข่ายภาวะลองโควิด (Long COVID) อาการเหล่านี้ สามารถรักษาได้ด้วยการกินวิตามินหลังติดโควิดเพื่อฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาแข็งแรงดังเดิม

วิตามินหลังติดโควิด

จากการวิจัยพบว่า หลังติดเชื้อโควิด-19  ผู้ป่วย 30-50% พบอาการลองโควิด โดยผู้ป่วยส่วนมากที่มีภาวะลองโควิดคือผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ผู้ป่วยที่เชื้อลงปอด หรือมีโรคประจำตัวเรื้อรัง โดยจะมีอาการดังเช่น ปวดหัว เวียนศรีษะ ใจสั่น หายใจไม่อิ่ม จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรสเหนื่อยง่าย เป็นต้น

 

หนึ่งในทางเลิอกรักษาอาการดังกล่าวคือการกินอาหารเสริมหลังเป็นโควิด วิตามินเสริมภูมิคุ้มกันโควิด เพราะวิตามินหลังโควิดจะช่วยฟื้นฟูร่างกายให้แข็งแรง เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน สร้างภูมิต้านทานให้แก่ร่างกาย ฟื้นฟูร่างกายให้กลับมามีประสิทธิภาพดังเดิม

 

ทำไมจึงต้องทานวิตามินบำรุงหลังติดโควิด

1.ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

วิตามินมีหลายชนิด แต่ละชนิดก็มีส่วนช่วยในการสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น วิตามินซี สร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยกระตุ้นการผลิตเม็ดเลือดขาว ซึ่งเม็ดเลือดขาวมีส่วนช่วยในการทำลายเชื้อโรคทั้งไวรัสและแบคทีเรีย รวมถึงกระบวนการจับกินเชื้อโรค

2.ป้องกันภาวะลองโควิด (Long COVID)

วิตามินจะไปช่วยซ่อมแซมร่างกายที่ได้รับความเสียหายจากอาการลองโควิด เมื่อมีภาวะลองโควิด ผู้ป่วยบางรายอาจร่างกายอ่อนแอลงได้ เช่น การรับประทานวิตามินจะช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วขึ้น เพราะวิตามินดีช่วยกระตุ้นเซล์ภูมิคุ้มกันในร่างกาย

3.ฟื้นฟูสภาพร่างกายให้แข็งแรง

หนึ่งในวิธีที่จะช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายให้แข็งแรงหลังติดเชื้อโควิดคือวิตามินกินหลังเป็นโควิด จากการที่วิตามินช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ภูมิคุ้มกันเรียกได้ว่าเป็นอาวุธสำคัญในการต่อสู้กับเชื้อโรค หากวิตามินช่วยร่างกายต่อสู้เชื้อโรคสำเร็จแล้ว ผู้ป่วยก็จะกลับมาฟื้นฟูร่างกายให้มีประสิทธิภาพดังเดิมได้

4.วิตามินช่วยต้านโควิดได้จริงไหม

จากงานวิจัยพบว่า วิตามินไม่ได้สามารถรักษาโรคโควิดได้ แต่วิตามินต้านโควิดได้  ผศ. นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล จากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ระบุว่า วิตามินดีสามารถต้านโรคโควิดได้ วิตามินดี สำคัญต่อระบบภูมิต้านทานโรค สามารถต้านโรคโควิด-19 ไม่ให้ลุกลาม ช่วยลดความรุนแรงของโรค รวมถึงช่วยลดโอกาสเกิดภาวะมรสุมภูมิวิปริตหรือพายุไซโตไคน์ที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยโควิด-19 ได้

หลังติดโควิด ควรกินอะไรบ้าง

สำหรับคำถามที่ว่า ควรกินอะไรเสริมภูมิคุ้มกันหลังเป็นโควิด กรมอนามัยแนะนำให้ผู้ป่วยกินอาหารดังต่อไปนี้เพื่อช่วยฟื้นฟูร่างกาย

 

1.โปรตีน

โปรตีนพบในเนื้อสัตว์จำพวก หมู เนื้อ ไก่ ไข่ และนม และโปรตีนตีนจากพืชเช่น ถั่วต่างๆ โปรตีนประกอบไปด้วยกรดอะมิโนที่ช่วยให้ผิวหนัง กระดูก และกล้ามเนื้อแข็งแรง ในแต่ละวันควรรับประทานโปรตีนให้ถึงปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อวัน เพื่อช่วยสร้างภูมิคุ้มกันในการต่อสู้กับเชื้อโรค ฟื้นฟูให้ร่างกายกลับมาแข็งแรง

2.โพรไบโอติกส์

โพรไบโอติกส์คือ จุลินทรีย์ขนาดเล็กชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ในร่างกายมนุษย์ ช่วยในการทำงานของระบบทางเดินอาหาร ช่วยดูดซึมอาหาร ป้องกันโรค ทั้งยังจะช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย หลังทานฟ้าทะลายโจรในขณะรักษาตัวจนหายแล้ว ควรกินโพรไบโอติกส์เพื่อบำรุงร่างกาย

3.วิตามินชนิดต่างๆ

วิตามินถือเป็นยาบำรุงหลังติดโควิดตัวหนึ่ง เพราะมีส่วนช่วยในการฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาแข็งแรงหลังจากติดเชื้อโควิด-19 วิตามินเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ส่งเสริมกระตุ้นการผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาว ช่วยในการต่อสู้กับทั้งแบคทีเรียและไวรัสในร่างกาย

 

วิตามินหลังโควิดแต่ละตัวจะไปช่วยฟื้นฟูร่างกายแตกต่างกัน วิตามินที่ควรกินหลังจากหายจากโควิดมีดังนี้

1. วิตามินเอ (Vitamin A)

วิตามินเอ พบมากในเครื่องในสัตว์ ไข่แดง นมรวมถึงผลิตภัณฑ์จากนม ผักใบเขียวเข้ม รวมถึงผักและผลไม้ที่มีสีเหลืองและส้ม เช่น แครอท ฟักทอง มะละกอ วิตามินช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย สร้างเนื้อเยื่อผิวหนัง ป้องกันการติดเชื้อ ลดโอกาสเกิดโรคต่างๆ

2. วิตามินซี (Vitamin C)

วิตามินซีพบมากในผักและผลไม้สด เช่น ฝรั่ง ส้ม มะนาว มะเขือเทศ วิตามินซีมีสารต้านอนุมูลอิสระช่วยต้านโรคต่างๆ ได้ วิตามินซียังมีส่วนช่วยในการทำงานของเม็ดเลือดขาว และช่วยในกระบวนการทำลายเชื้อโรค รวมถึงกระบวนการจับกินเชื้อโรค ทำให้ร่างกายแข็งแรง

3. วิตามินดี (Vitamin D)

สามารถพบวิตามินดีได้ในอาหารจำพวกปลาต่างๆ เช่น ปลานิล ปลาทับทิม รวมถึงในไข่แดง ตับ นม ชีส ไข่แดง วิตามินดีช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสสู่ร่างกาย นอกจากนี้ วิตามินดียังช่วยกระตุ้นเซลล์ภูมิคุ้มกันในร่างกาย เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดขาว ลดอาการอักเสบ

4. วิตามินอี (Vitamin E)

วิตามินอี พบได้ในไข่ ผัก และผลไม้ต่างๆ เช่น ถั่ว น้ำมันพืชต่างๆ น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันถั่วเหลือง อะโวคาโด ผักใบเขียวปนเหลือง เป็นต้น วิตามินอีช่วยรักษาเยื่อหุ้มเซลล์ต่างๆ ช่วยบำรุงผิวและระบบประสาทของร่างกาย

5. แร่ธาตุสังกะสี (Zinc)

แร่ธาตุสังกะสี มักพบในอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อไก่ เนื้อวัว เนื้อหมู ตับ อาหารทะเล เช่น หอยนางรม ปลาแซลมอน กุ้ง ปู หอย นอกจากช่วยดูแลสุขภาพผิวพรรณแล้ว สังกะสียังช่วยกระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวหลายชนิด

6. กรดไขมันโอเมก้า-3 (Omega-3 Fatty Acid)

อาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า-3 สูง เช่น ปลาและอาหารทะเล น้ำมันพืชที่มีไข่มันอิ่มตัว นมวัวหรือผลิตภัณฑ์จากนม ปกติแล้วกรดไขมันโอเมก้า-3 จะช่วยเสริมสร้างทำงานของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย เช่น เซลล์ประสาทและสมอง แต่รู้หรือไม่ว่า กรดไขมันโอเมก้า-3 ยังมีส่วนช่วยในการเสริมการทำงานของเม็ดเลือดอีกด้วย

 

ข้อสรุป

การรับประทานวิตามินหลังติดโควิดจะช่วยป้องกันภาวะลองโควิด (Long COVID) เนื่องจากวิตามินช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และฟื้นฟูสภาพร่างกายให้แข็งแรง การกินอาหารเสริมหลังติดโควิดจะกระตุ้นการผลิตเม็ดเลือดขาว ช่วยในการต่อสู้กับแบคทีเรียและไวรัสในร่างกาย และกระตุ้นเซล์ภูมิคุ้มกันในร่างกาย

 

แหล่งที่มา :  Samitivejchinatown

Related Articles

Long Covid เจ็บ…แต่ไม่จบของคนเคยติดเชื้อ covid-19

Long Covid คืออะไร ? อ้างอิงจากนิยามองค์การอนามัยโลก ประกาศ ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2564 ระบุว่า เป็นอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นใหม่หรือต่อเนื่องภายหลังการติดเชื้อโควิด-19 หลังจากรักษาหายแล้ว แต่หลายคนยังรู้สึกเหมือนยังไม่หายดี ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นมีความหลากหลายและอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยอาจเป็นอาการที่เกิดขึ้นใหม่ หรือเป็นอาการที่หลงเหลืออยู่หลังรักษาหาย ส่วนมากตั้งแต่ 3 เดือน นับจากวันตรวจพบเชื้อ และมีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 2 เดือน…

6 วิธีจัดการความเครียดจาก COVID-19 สำหรับพยาบาล

ท่ามกลางสถานการณ์ COVID-19 พี่น้องพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ทำงานกันอย่างหนัก ทุกคนล้วนรู้สึกเหน็ดเหนื่อย ทำให้เกิดภาวะความเครียดและวิตกกังวลขึ้นมา วันนี้พี่เนิร์สเลยจะมาแนะนำ 6 วิธีเพื่อรับมือกับความเครียดในสถานการณ์ COVID-19 สำหรับพยาบาลกันค่ะ 1) ติดตามข่าวสารเท่าที่จำเป็นก็พอการเสพข่าวจากโลกโซเชียลมากเกินไป อาจสร้างความวิตกกังวลและบั่นทอนจิตใจเราได้ จึงควรเลือกรับข้อมูลจากแหล่งที่เชื่อถือได้ก็พอ เช่น เว็บไซต์ WHO หรือกรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข 2) พูดคุยกับเพื่อนและครอบครัวบางครั้งต้องทำงานหนักอยู่แต่ที่โรงพยาบาล จนไม่สามารถกลับบ้านหรือออกไปข้างนอกได้ ทำให้คุณไม่ได้เจอกับคนในครอบครัวหรือเพื่อนฝูง แต่คุณสามารถเชื่อมต่อ พูดคุยปรึกษากันได้…

รู้จักสี ผัก เสริมรัก (สุขภาพ)

ทุกคนรู้ว่าผักผลไม้เป็นอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร และสารพฤกษาเคมีต่างๆที่มีประโยชน์ต่อร่างกายกินทุกวันเป็นสิ่งดีต่อสุขภาพ แต่เพื่อให้ได้รับคุณประโยชน์สูงสุด

โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder)

โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder)  ถือเป็นโรคทางจิตเวชที่พบได้บ่อยมากขึ้นในปัจจุบัน มีความแตกต่างไปจากความวิตกกังวลทั่วไปซึ่งเป็นความรู้สึกที่สามารถพบได้ในชีวิตประจำวัน จากข้อมูลของกรมสุขภาพจิตพบคนไทยมากกว่าหนึ่งแสนคนป่วยด้วยโรควิตกกังวล ซึ่งโรควิตกกังวลนี้จะเป็นความกังวลที่มากกว่าปกติ ไม่ใช่เพียงแค่การคิดมากเกินไปจนส่งผลต่อการดำเนินชีวิต       ถ้าเราสังเกตเห็นถึงความวิตกกังวลมากจนเกินไปก็อาจสันนิษฐานได้ว่ามีแนวโน้มที่จะเป็นโรควิตกกังวล ซึ่งสาเหตุของโรคนี้เกิดจากความผิดปกติทางจิตใจ หรือความไม่สมดุลของสารสื่อประสาทในสมอง ซึ่งอาจเกิดจากพันธุกรรมก็ได้ รวมถึงอาจเกิดจากสภาพแวดล้อม การเลี้ยงดู หรือการเลียนแบบพฤติกรรมจากพ่อแม่ หรือคนใกล้ชิด การประสบกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่ก่อให้เกิดโรควิตกกังวลซึ่งมีหลายประเภท และนี่คือ 5 โรควิตกกังวลที่มักพบได้บ่อยในวัยทำงาน 1.โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder)…