เรื่องที่ผู้หญิงต้องรู้เกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูกจะพบมากเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านมแต่กลับเป็นสาเหตุการเสียชีวิตจากมะเร็งอันดับหนึ่งของหญิงไทย เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกหรือระยะก่อนเป็นมะเร็งนั้นผู้ป่วยจะไม่มีอาการใดๆ รวมทั้งหญิงไทยมีความอาย กว่าจะมารับการตรวจโรคก็อาจเข้าสู่ระยะที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้จนต้องเสียชีวิตในที่สุด หากเราเรียนรู้และทำความเข้าใจ ก็จะช่วยป้องกันสาวๆ ให้ห่างไกลจากมะเร็งปากมดลูกได้
วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุตั้งแต่ 9 ปี ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ถึง 70 %

มะเร็งปากมดลูกเกิดได้กับผู้หญิงทุกคนทั้งที่เคยมีเพศสัมพันธ์และไม่เคย
สาเหตุของมะเร็งปากมดลูกกว่า 90% เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papillomavirus) ส่วนใหญ่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ส่วนน้อยติดต่อทางการสัมผัส มักพบบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกของผู้หญิงบริเวณปากมดลูก ช่องคลอดและอวัยวะเพศ
การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

1.ตรวจแปปเสมียร์ (Pap smear) การใช้ไม้พายเก็บเนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูก ก่อนนำไปตรวจในห้องปฏิบัติการ เป็นวิธีที่ใช้มาเป็นเวลานาน
2.ตินเพร็พ ( Pap Test) พัฒนามาจากการตรวจวิธีแปปเสมียร์ มีประสิทธิภาพและแม่นยำมากขึ้น โดยเก็บเซลล์บริเวณปากมดลูกด้วยอุปกรณ์เฉพาะ จากนั้นใส่ลงในขวดน้ำยาตินเพร็พ ก่อนนำส่งเพื่อตรวจผลในห้องปฏิบัติการ
3.ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแบบเจาะลึกถึงระดับ DNA ด้วย Thin Prep Plus Cervista HPV DNA Testing เป็นการตรวจหาเซลล์มะเร็งปากมดลูกร่วมกับตรวจดีเอ็นเอของเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่ความสัมพันธ์กับการเป็นมะเร็งปากมดลูก ร่วมกับการเจาะลึกว่ามีการติดเชื้อ HPV 16 และ HPV 18 หรือไม่ จะช่วยบอกความเสี่ยงต่อการมีรอยโรคแอบแฝง ในช่วงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่ดีที่สุด  คือ 10 วันตรงกลาง โดย 1 เดือนเราแบ่งเป็น 3 ช่วงๆ ละ 10 วัน วันแรกที่มีประจำเดือนนับเป็นวันที่1 และนับต่อไปวันที่ 11 หลังจากมีประจำเดือนวันแรก ถึงวันที่ 20 นั่นเอง ซึ่งค่าเบี่ยงเบนจะมีน้อย ถือเป็นช่วงที่เหมาะสมที่สุด

ฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ต่อต้านเชื้อ HPV
ก่อนมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุตั้งแต่ 9 – 26 ปี โดยฉีดจำนวน 3 เข็ม ซึ่งวัคซีนช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ถึง 70 % หากเคยมีเพศสัมพันธ์แล้วก็ฉีดได้เช่นกัน แต่ในกรณีนี้วัคซีนจะมีประสิทธิภาพดีก็ต่อเมื่อไม่เคยได้รับเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่บรรจุอยู่ในวัคซีนมาก่อน

9 สัญญาณเตือน อาการมะเร็งปากมดลูก
มะเร็งปากมดลูก มักไม่แสดงอาการในระยะแรก หมั่นสังเกตอาการของตนเอง
  1. ตกขาวผิดปกติอย่างเห็นได้ชัด มีตกขาวมากกว่าปกติ หรือตกขาวมีเลือดปน
  2. เลือดออกจากช่องคลอดโดยไม่ทราบสาเหตุ เลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ เลือดออกหลังจากหมดประจำเดือน
  3. ปวดท้องน้อย ปวดบริเวณหัวหน่าว
  4. ประจำเดือนมาไม่ปกติ
  5. เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์
  6. ปัสสาวะ/อุจจาระปนเลือด
  7. ปัสสาวะไม่ค่อยออก ปวดบวม
  8. ปวดหลัง ขาบวม ไตวาย (กรณีที่มะเร็งมีระยะลุกลามรุนแรง)
  9. น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
ใครที่เสี่ยง “มะเร็งปากมดลูก”
  • คนที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย เป็นช่วงอายุที่มีความไวต่อการติดเขื้อไวรัส HPV
  • คนที่มีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนหลายๆ คน จะเพิ่มโอกาสการติดเชื้อ HPV
  • คนที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายที่มีภรรยาหรือคู่นอนที่เป็นมะเร็งปากมดลูก
  • ผู้หญิงหรือผู้ชายที่เป็นคู่นอน เป็นโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่น เริม หนองใน หูด
  • ผู้หญิงที่มีโรคที่ทำให้ภูมิต้านทานต่ำ เช่น โรคเอดส์ (HIV)
แหล่งที่มา : โรงพยาบาลพญาไท , โรงพยาบาลศิครินทร์

Related Articles

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

NCDs ย่อมาจาก Non-Communicable Diseases หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หมายถึง โรคที่ไม่ติดต่อ หรือไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อโรค แต่เกิดจากการสะสมอาการอย่างต่อเนื่อง จากนิสัยหรือพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม

ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ

สวัสดีค่ะ พี่น้อง nurse soulciety ทุกท่าน หลังจากพี่เนิร์สเผยแพร่เนื้อหาภาวะหลอดเลือดดำอักเสบไปแล้วนั้น วันนี้เราจะมาทบทวนความรู้ของภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาทางหลอดเลือดดำส่วนปลายอีกอย่างหนึ่ง ที่สำคัญมากๆ คือ ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ ส่งผลทำให้เกิดการติดเชื้อที่ตำแหน่งการให้ยา และติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ทำให้ต้องรักษาในโรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่ารักษาพยาบาลมากขึ้น ดังนั้นพยาบาลควรมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกัน เฝ้าระวัง ประเมินการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของยาหรือสารน้ำ และจัดการเมื่อเกิดภาวะดังกล่าว ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ภาวะรั่วซึมของยาหรือสารน้ำออกนอกหลอดเลือดดำ…

การประเมินทางระบบประสาท (Neurological signs)

การประเมินทางระบบประสาทมีเครื่องมือหลายอย่าง วันนี้พี่เนิร์สนำความรู้เรื่องแบบประเมินกลาสโกว์โคมาสกอร์(Glasgow Coma Score : GCS) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่นิยมใช้ประเมินความรู้สึกตัวบาดเจ็บศีรษะ แบบประเมินกลาสโกว์โคมาสกอร์(Glasgow Coma Score : GCS) คือ แบบประเมินที่ใช้อธิบายระดับความรู้สึกตัวในผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะโดยประเมินการทางานของสมองส่วนต่างๆ (Henderson, 2016 ) การบันทึก แบ่งออกเป็น 3 ข้อ คือ การลืมตา (eye opening)…

กลุ่มอาการ PMS/PMDD ก่อนมีประจำเดือน

สาวๆ คุณเคยมีอาการดังต่อไปนี้หรือเปล่า? อารมณ์แปรปรวนก่อนมีประจำเดือน เศร้า หดหู่ เซ็ง หงุดหงิด น่าเบื่อไปหมดทุกอย่าง อาการเหวี่ยงวีนของสาวๆ ก่อนมีประจำเดือน บางทีสาวๆ อย่างเราก็ยังไม่เข้าใจตัวเองเลย วันนี้พี่เนิร์สจึงขอพาทุกคนมาเช็คอาการที่เรามักจะเป็นก่อนมีประจำเดือน ว่าเราจัดอยู่ในกลุ่มอาการแบบไหน ต้องรักษาไหม?ไปดูกันเลย 1. เราเป็น PMS, PMDD หรือเปล่า ? PMS (Premenstrual Syndrome) คือ…

ทำความรู้จัก Burn Injury แผลไหม้

แผลไหม้ หมายถึง บาดแผลที่ผิวหนังถูกทำลายด้วยความร้อน สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากถูกเปลวไฟลวก ถูกของเหลวร้อนลวก กระแสไฟฟ้าแรงสูง หรือสารเคมี ส่งผลทำให้เนื้อเยื่อถูกทำลาย ตั้งแต่ชั้นหนังกำพร้า หนังแท้ หรืออาจลึกลงไปถึงกระดูกได้