เรื่องที่ผู้หญิงต้องรู้เกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูก
มะเร็งปากมดลูกจะพบมากเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านมแต่กลับเป็นสาเหตุการเสียชีวิตจากมะเร็งอันดับหนึ่งของหญิงไทย เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกหรือระยะก่อนเป็นมะเร็งนั้นผู้ป่วยจะไม่มีอาการใดๆ รวมทั้งหญิงไทยมีความอาย กว่าจะมารับการตรวจโรคก็อาจเข้าสู่ระยะที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้จนต้องเสียชีวิตในที่สุด หากเราเรียนรู้และทำความเข้าใจ ก็จะช่วยป้องกันสาวๆ ให้ห่างไกลจากมะเร็งปากมดลูกได้
วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุตั้งแต่ 9 ปี ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ถึง 70 %
มะเร็งปากมดลูกเกิดได้กับผู้หญิงทุกคนทั้งที่เคยมีเพศสัมพันธ์และไม่เคย สาเหตุของมะเร็งปากมดลูกกว่า 90% เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papillomavirus) ส่วนใหญ่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ส่วนน้อยติดต่อทางการสัมผัส มักพบบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกของผู้หญิงบริเวณปากมดลูก ช่องคลอดและอวัยวะเพศ
วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุตั้งแต่ 9 ปี ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ถึง 70 %
มะเร็งปากมดลูกเกิดได้กับผู้หญิงทุกคนทั้งที่เคยมีเพศสัมพันธ์และไม่เคย สาเหตุของมะเร็งปากมดลูกกว่า 90% เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papillomavirus) ส่วนใหญ่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ส่วนน้อยติดต่อทางการสัมผัส มักพบบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกของผู้หญิงบริเวณปากมดลูก ช่องคลอดและอวัยวะเพศ
การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
1.ตรวจแปปเสมียร์ (Pap smear) การใช้ไม้พายเก็บเนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูก ก่อนนำไปตรวจในห้องปฏิบัติการ เป็นวิธีที่ใช้มาเป็นเวลานาน 2.ตินเพร็พ ( Pap Test) พัฒนามาจากการตรวจวิธีแปปเสมียร์ มีประสิทธิภาพและแม่นยำมากขึ้น โดยเก็บเซลล์บริเวณปากมดลูกด้วยอุปกรณ์เฉพาะ จากนั้นใส่ลงในขวดน้ำยาตินเพร็พ ก่อนนำส่งเพื่อตรวจผลในห้องปฏิบัติการ
3.ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแบบเจาะลึกถึงระดับ DNA ด้วย Thin Prep Plus Cervista HPV DNA Testing เป็นการตรวจหาเซลล์มะเร็งปากมดลูกร่วมกับตรวจดีเอ็นเอของเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่ความสัมพันธ์กับการเป็นมะเร็งปากมดลูก ร่วมกับการเจาะลึกว่ามีการติดเชื้อ HPV 16 และ HPV 18 หรือไม่ จะช่วยบอกความเสี่ยงต่อการมีรอยโรคแอบแฝง ในช่วงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่ดีที่สุด คือ 10 วันตรงกลาง โดย 1 เดือนเราแบ่งเป็น 3 ช่วงๆ ละ 10 วัน วันแรกที่มีประจำเดือนนับเป็นวันที่1 และนับต่อไปวันที่ 11 หลังจากมีประจำเดือนวันแรก ถึงวันที่ 20 นั่นเอง ซึ่งค่าเบี่ยงเบนจะมีน้อย ถือเป็นช่วงที่เหมาะสมที่สุด
ฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ต่อต้านเชื้อ HPV ก่อนมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุตั้งแต่ 9 – 26 ปี โดยฉีดจำนวน 3 เข็ม ซึ่งวัคซีนช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ถึง 70 % หากเคยมีเพศสัมพันธ์แล้วก็ฉีดได้เช่นกัน แต่ในกรณีนี้วัคซีนจะมีประสิทธิภาพดีก็ต่อเมื่อไม่เคยได้รับเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่บรรจุอยู่ในวัคซีนมาก่อน
9 สัญญาณเตือน อาการมะเร็งปากมดลูก มะเร็งปากมดลูก มักไม่แสดงอาการในระยะแรก หมั่นสังเกตอาการของตนเอง
1.ตรวจแปปเสมียร์ (Pap smear) การใช้ไม้พายเก็บเนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูก ก่อนนำไปตรวจในห้องปฏิบัติการ เป็นวิธีที่ใช้มาเป็นเวลานาน 2.ตินเพร็พ ( Pap Test) พัฒนามาจากการตรวจวิธีแปปเสมียร์ มีประสิทธิภาพและแม่นยำมากขึ้น โดยเก็บเซลล์บริเวณปากมดลูกด้วยอุปกรณ์เฉพาะ จากนั้นใส่ลงในขวดน้ำยาตินเพร็พ ก่อนนำส่งเพื่อตรวจผลในห้องปฏิบัติการ
3.ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแบบเจาะลึกถึงระดับ DNA ด้วย Thin Prep Plus Cervista HPV DNA Testing เป็นการตรวจหาเซลล์มะเร็งปากมดลูกร่วมกับตรวจดีเอ็นเอของเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่ความสัมพันธ์กับการเป็นมะเร็งปากมดลูก ร่วมกับการเจาะลึกว่ามีการติดเชื้อ HPV 16 และ HPV 18 หรือไม่ จะช่วยบอกความเสี่ยงต่อการมีรอยโรคแอบแฝง ในช่วงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่ดีที่สุด คือ 10 วันตรงกลาง โดย 1 เดือนเราแบ่งเป็น 3 ช่วงๆ ละ 10 วัน วันแรกที่มีประจำเดือนนับเป็นวันที่1 และนับต่อไปวันที่ 11 หลังจากมีประจำเดือนวันแรก ถึงวันที่ 20 นั่นเอง ซึ่งค่าเบี่ยงเบนจะมีน้อย ถือเป็นช่วงที่เหมาะสมที่สุด
ฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ต่อต้านเชื้อ HPV ก่อนมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุตั้งแต่ 9 – 26 ปี โดยฉีดจำนวน 3 เข็ม ซึ่งวัคซีนช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ถึง 70 % หากเคยมีเพศสัมพันธ์แล้วก็ฉีดได้เช่นกัน แต่ในกรณีนี้วัคซีนจะมีประสิทธิภาพดีก็ต่อเมื่อไม่เคยได้รับเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่บรรจุอยู่ในวัคซีนมาก่อน
9 สัญญาณเตือน อาการมะเร็งปากมดลูก มะเร็งปากมดลูก มักไม่แสดงอาการในระยะแรก หมั่นสังเกตอาการของตนเอง
- ตกขาวผิดปกติอย่างเห็นได้ชัด มีตกขาวมากกว่าปกติ หรือตกขาวมีเลือดปน
- เลือดออกจากช่องคลอดโดยไม่ทราบสาเหตุ เลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ เลือดออกหลังจากหมดประจำเดือน
- ปวดท้องน้อย ปวดบริเวณหัวหน่าว
- ประจำเดือนมาไม่ปกติ
- เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์
- ปัสสาวะ/อุจจาระปนเลือด
- ปัสสาวะไม่ค่อยออก ปวดบวม
- ปวดหลัง ขาบวม ไตวาย (กรณีที่มะเร็งมีระยะลุกลามรุนแรง)
- น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
- คนที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย เป็นช่วงอายุที่มีความไวต่อการติดเขื้อไวรัส HPV
- คนที่มีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนหลายๆ คน จะเพิ่มโอกาสการติดเชื้อ HPV
- คนที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายที่มีภรรยาหรือคู่นอนที่เป็นมะเร็งปากมดลูก
- ผู้หญิงหรือผู้ชายที่เป็นคู่นอน เป็นโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่น เริม หนองใน หูด
- ผู้หญิงที่มีโรคที่ทำให้ภูมิต้านทานต่ำ เช่น โรคเอดส์ (HIV)
Post Views: 1,333