ภาวะไขมันพอกตับ (Fatty liver)

ภาวะไขมันพอกตับ (Fatty Liver) หรือ ภาวะไขมันเกาะตับ เป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถนำไขมันที่รับประทานไปใช้ได้หมด จึงสะสมเป็นไขมันในรูปไตรกลีเซอไรด์ในเซลล์ตับ หากไม่รักษาอาจส่งผลให้กลายเป็นตับแข็งและมะเร็งตับได้ โดยพบได้ทุกเพศทุกวัย แต่จะพบมากในอายุ 40-50 ปีขึ้นไป ที่ประสิทธิภาพการทำงานของระบบการเผาผลาญอาหารเริ่มลดลง

สาเหตุ แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ
1.จากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับปริมาณแอลกอฮอล์ ประเภท และระยะเวลาที่ดื่ม เรียกว่า Alcoholic fatty liver
2.จากสาเหตุปัจจัยเสี่ยงอื่น
  • รับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูงเป็นประจำ เช่น แป้ง น้ำตาล ไขมัน
  • มีภาวะอ้วน น้ำหนักตัวมากเกินไป ดัชนีมวลกายมากกว่า 25 (BMI > 25)
  • เป็นโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง
  • ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อไวรัส ตับอักเสบ B และไวรัสตับอักเสบ C
  • ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาเคมีบำบัดรักษาโรคมะเร็ง ยาปฏิชีวนะบางชนิด ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ ยากลุ่มฮอร์โมน
กลุ่มเสี่ยง
  • คนอ้วน ผู้ชายรอบเอวเกิน 40 นิ้ว / ผู้หญิง รอบเอวเกิน 35 นิ้ว
  • ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือมีน้ำตาลในเลือดมากกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • ผู้ที่มีไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงกกว่า 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • ผู้ที่มีไขมันดี หรือ HDL ต่ำ ผู้ชาย น้อยกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ผู้หญิง น้อยกว่า 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง
  • ขาดการออกกำลังกายเป็นประจำ จึงทำให้มีการเผลาผลาญพลังงานน้อยลง
  • ทานยาบางชนิดติดต่อกันเป็นเวลานาน เช่น ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ และยาในกลุ่มที่เป็นฮอร์โมนทดแทน
อาการของไขมันพอกตับ
ภาวะไขมันพอกตับจะมีการดำเนินโรคแบบค่อยเป็นค่อยไปผู้ที่เป็นมักไม่รู้ตัวเพราะไม่มีอาการแสดงออกและเมื่อมีไขมันพอกตับสะสมอยู่เป็นปริมาณมาก จะทำให้เซลล์ตับมีการบวมและ 10-20% ของผู้มีไขมันพอกตับจะเกิดอาการตับอักเสบได้ โดยจะมีอาการ
  • เหนื่อย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
  • รู้สึกไม่สบายท้อง
  • น้ำหนักลดผิดปกติ ความอยากอาหารลดลง
  • คลื่นไส้
  • มึนงง ความสามารถในการตัดสินใจและสมาธิลดลง
การวินิจฉัย
  • การประวัติอาการและการตรวจร่างกาย เป็นสิ่งชี้นำในการตรวจขั้นตอนต่อไป แต่ในรายที่เป็นมะเร็งตับอ่อน ระยะเริ่มแรกมักจะตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติ
  • การตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็ง เป็นการตรวจเลือด ปัสสาวะ หรือเนื้อเยื่อเพื่อตรวจวัดปริมาณสารบางอย่าง เช่น สาร CA 19-9 หรือ (CEA) ซึ่งอาจมีระดับเพิ่มสูงขึ้น
  • การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) เป็นการภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่จะแสดงให้เห็นตำแหน่งและขนาดของจุดเกิดโรค นอกจากนี้ยังช่วยวินิจฉัยได้ว่าโรคมีการลุกลามไปยังตับและต่อมน้ำเหลืองหรือไม่
  • การตรวจเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เป็นการถ่ายภาพคอมพิวเตอร์อีกชนิดหนึ่งที่ไม่อาศัยรังสีเอกซ์ แต่อาศัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งจะช่วยทำให้เห็นภาพของอวัยวะภายในและสามารถตรวจพบมะเร็งตับอ่อนได้ ละเอียดแม่นยำ ใช้สำหรับการติดตามรักษาโรคได้เป็นอย่างดี
โดยภาวะไขมันพอกตับ แบ่งระยะการดำเนินโรคได้เป็น 4 ระยะดังนี้
ระยะที่ 1 เป็นระยะมีไขมันก่อตัวอยู่ในเนื้อตับซึ่งไม่ได้ก่อให้เกิดผลใด ๆ ไม่มีการอักเสบ หรือพังผืดเกิดขึ้นในตับ
ระยะที่ 2 เป็นระยะที่เริ่มมีอาการอักเสบของตับ ในระยะนี้หากไม่ควบคุมดูแลให้ดี และปล่อยให้การอักเสบดำเนินไปเรื่อย ๆ เกินกว่า 6 เดือนกลายเป็นตับอักเสบเรื้อรัง
ระยะที่ 3 การอักเสบรุนแรง ก่อให้เกิดพังผืดในตับ เซลล์ตับค่อย ๆ ถูกทำลายลง
ระยะที่ 4 เซลล์ตับถูกทำลายไปมาก ตับไม่อาจทำงานได้ตามปกติอีกต่อไป ตับแข็ง และอาจกลายเป็นมะเร็งตับ

แนวทางการป้องกัน
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์เช่น อาหารที่มีไขมันต่ำ กากใยสูง และให้พลังงานต่ำ
  • หากเป็นเบาหวานหรือไขมันในเลือดสูง ควรควบคุมโรคให้ดีด้วยการรับประทานยาตามแพทย์สั่ง ควบคุมอาหาร และออกกำลังกาย
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานยาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่นอกเหนือจากที่แพทย์สั่ง
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี
แหล่งอ้างอิง : bangkok hospital phuket , ประชาชื่น MRI

Related Articles

ทำความรู้จัก Burn Injury แผลไหม้

แผลไหม้ หมายถึง บาดแผลที่ผิวหนังถูกทำลายด้วยความร้อน สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากถูกเปลวไฟลวก ถูกของเหลวร้อนลวก กระแสไฟฟ้าแรงสูง หรือสารเคมี ส่งผลทำให้เนื้อเยื่อถูกทำลาย ตั้งแต่ชั้นหนังกำพร้า หนังแท้ หรืออาจลึกลงไปถึงกระดูกได้