การอ่านคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นการพยาบาลที่สำคัญแสดงให้เห็นองค์ความรู้ความสามารถ (Competency) ของการแปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจ นำสู่กระบวนการพยาบาลที่เหมาะสม เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นสำคัญ เพราะพยาบาลเป็นบุคลากรในทีมสุขภาพที่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยตลอด 24 ชม. หากพยาบาลขาดความรู้ในการประเมินคลื่นไฟฟ้าหัวใจจะส่งผลให้การช่วยเหลือผู้ป่วยเกิดความล่าช้า อาจนำไปสู่ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่รุนแรงหรือหัวใจหยุดเต้นได้
คลื่นไฟฟ้าหัวใจช่วยบอกอัตราและจังหวะการเต้น ช่วยให้เข้าใจกลไกและช่วยวินิจฉัยภาวะของโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดต่างๆ ผลของยา ภาวะเสียสมดุลเกลือแร่ เป็นต้น ดังนั้นการประเมินคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เชื่อมโยงให้พยาบาลเข้าใจในพยาธิสภาพของโรค ส่งผลให้การพยาบาลได้อย่างรวดเร็วและมีคุณภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัยมากที่สุด
- ช่วยบอกอัตราและจังหวะการเต้นของหัวใจ (Rate & Rhythm)
- ช่วยวินิจฉัยภาวะหัวใจโต (Hypertrophy) กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือตาย (Ischemia / Infarct)
- ผลของยาและไอออนบางชนิด
- ช่วยให้เข้าใจกลไกและช่วยวินิจฉัย Arrhythmia ชนิดต่าง ๆ เพื่อที่จะสามารถให้การรักษาพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดย พว.วินิตย์ หลงละเลิง พยาบาลชำนาญการพิเศษ
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลผู้ใหญ่) , Master of Nursing Science Program in Nursing (M.N.S.)
วทม. เพศศาสตร์, Master of Science Program in Human Sexuality
อนุมัติวุฒิบัตรผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง (สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ), Advanced Practiced Nurse (APN)
ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ