HOW TO ลดน้ำหนักสำหรับพยาบาลกะดึก

HOW TO ลดน้ำหนักสำหรับพยาบาลกะดึก

ทำงานกะกลางคืน ทำไมอ้วนขึ้น? วันนี้พี่เนิร์สมีคำตอบและวิธีแนะนำ ให้การควบคุมน้ำหนักเป็นเรื่องง่าย มาแชร์ให้ทุกคนได้ทราบกันค่ะ

HOW TO ลดน้ำหนักสำหรับพยาบาลกะดึก

สาเหตุที่คนทำงานกะดึก มักมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น เกิดจากการใช้ชีวิตและการกินอาหาร ในช่วงเวลากลางคืน ที่ร่างกายต้องการพักผ่อน ส่งผลให้ฮอร์โมนในร่างกายทำงานไม่ปกติ จึงเป็นที่มาของปัญหาสุขภาพและการมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น

HOW TO ลดน้ำหนักสำหรับพยาบาลกะดึก

วิธีที่ 1 : เตรียมอาหารไปทานเอง
ควรทำอาหารไปทานเอง เพราะเราจะสามารถควบคุมปริมาณและแคลอรี่ของอาหารได้ โดยเน้นไปที่โปรตีนที่มีประโยชน์ เช่น เนื้ออกไก่ไม่มีหนัง สันในไก่ ไข่ต้ม ปลานึ่ง เป็นต้น

วิธีที่ 2 : ลดและปรับเปลี่ยนการกิน
ลดปริมาณการรับประทานคาร์โบไฮเดรตและไขมันให้น้อยลง พยายามหลีกเลี่ยงของมัน ขนมกรุบกรอบ เค้ก คุกกี้ น้ำอัดลม แต่หันมาทานผลไม้ ถั่ว อัลมอนด์ โยเกิร์ตแทน เนื่องจากมีพลังงานต่ำและมีคุณค่าทางอาหารสูงกว่า

วิธีที่ 3 : หาเวลาออกกำลังกาย
การออกกำลังกายด้วยการคาร์ดิโอหลังตื่นนอน จะช่วยเผาผลาญไขมันสะสมได้ดี โดยเฉพาะการวิ่งหรือปั่นจักรยาน อย่างน้อยสัก 30 นาทีต่อวัน 3-5 วันต่อสัปดาห์

วิธีที่ 4 : นอนพักผ่อนให้เพียงพอ
การนอนไม่พอจะทำให้อ้วนขึ้นได้ เพราะร่างกายที่อดนอนจะอยากกินของหวาน เพื่อเติมความสดชื่น ดังนั้นเราควรจัดสรรเวลานอนให้เพียงพออย่างน้อย 7-8 ชม. และไม่เล่นมือถือก่อนนอน

พี่น้องพยาบาลลองนำเคล็ดลับเหล่านี้ไปใช้กันดูนะคะ แม้ต้องทำงานกะดึก ก็สามารถมีหุ่นสวยสุขภาพดีได้ค่ะ

HOW TO ลดน้ำหนักสำหรับพยาบาลกะดึก

Related Articles

ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ

สวัสดีค่ะ พี่น้อง nurse soulciety ทุกท่าน หลังจากพี่เนิร์สเผยแพร่เนื้อหาภาวะหลอดเลือดดำอักเสบไปแล้วนั้น วันนี้เราจะมาทบทวนความรู้ของภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาทางหลอดเลือดดำส่วนปลายอีกอย่างหนึ่ง ที่สำคัญมากๆ คือ ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ ส่งผลทำให้เกิดการติดเชื้อที่ตำแหน่งการให้ยา และติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ทำให้ต้องรักษาในโรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่ารักษาพยาบาลมากขึ้น ดังนั้นพยาบาลควรมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกัน เฝ้าระวัง ประเมินการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของยาหรือสารน้ำ และจัดการเมื่อเกิดภาวะดังกล่าว ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ภาวะรั่วซึมของยาหรือสารน้ำออกนอกหลอดเลือดดำ…

เทคนิคการกินง่าย ๆ สไตล์พยาบาล

พยาบาลเวลาเข้ากะต้องกินอาหารอย่างไรไม่ให้มีผลกระทบต่อสุขภาพ พี่เนิร์สมีคำตอบมาให้ค่ะ โดยปกติแล้ว เวรงานพยาบาลแบ่งออกเป็น 3 กะ (เช้า, บ่าย, ดึก) ทำให้ชีวิตประจำวันในการกินอาหารแต่ละมื้อแตกต่างกัน ดังนี้ เข้างานกะเช้า (8:00-16:00 น.)เริ่มทำงานตามนาฬิกาชีวิตแบบทั่วไป สามารถกินอาหารได้ตามปกติให้ครบ 3 มื้อ ในปริมาณใกล้เคียงกัน เข้างานกะบ่าย (16:00-24:00 น.)เริ่มทำงานตั้งแต่ช่วงบ่ายและเลิกงานกลางดึก ให้กินมื้อหนักก่อนเข้างาน ถ้าหิวระหว่างกะให้กินผลไม้ ถั่ว อัลมอนด์…

การประเมินแผลกดทับ

แผลกดทับ คือ การบาดเจ็บเฉพาะที่ของผิวหนังหรือเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังโดยเฉพาะบริเวณปุ่มกระดูกหรือบริเวณที่มีอุปกรณ์ทางการแพทย์กดทับการเกิดแผลกดทับมักพบในผู้ป่วยที่มีการนอนอยู่บนเตียงเป็นเวลานาน นอนติดเตียง ไม่ค่อยพลิกตะแคงตัว หรือเป็นผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้หรือช่วยเหลือตัวเองได้น้อย มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวจนเกิดแผลกดทับที่ผิวหนังตามตำแหน่งต่างๆ โดยเฉพาะบริเวณปุ่มกระดูก เช่น กระดูกก้นกบ กระดูกเชิงกราน กระดูกสันหลัง ข้อศอกและส้นเท้า เป็นต้น ระดับของแผลกดทับตาม National Pressure Ulcer Advisory Panel (NPUAP), April 13, 2016 1.ระดับ1…

ทะเลไทย เที่ยวหน้าไหนดี?

ใครกำลังอยากรู้ว่าจะเที่ยวทะเลไทย ควรไปช่วงเดือนไหนดีที่จะไม่เจอมรสุม วันนี้น้องอารีย์มีคำตอบมาให้ทุกคนแล้วว ทะเลไทยแบ่งออกเป็น 4 โซนใหญ่ๆ ตามนี้ 1. ฝั่งอันดามัน เช่น ภูเก็ต กระบี่ พังงา ตรัง หลีเป๊ะ 2. ทะเลฝั่งอ่าวไทยตอนบน เช่น ชะอำ เพชรบุรี หัวหิน ประจวยคีรีขันธ์ 3. ทะเลฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง เช่น…

โรคนอนไม่หลับ (Insomnia)

โรคนอนไม่หลับเป็นปัญหาที่พบได้ทุกวัย ทุกอายุ เกิดขึ้นได้บ่อยตามข้อมูลการศึกษาพบได้ถึง ร้อยละ30-35 ของผู้ใหญ่ พบภาวะดังกล่าวได้บ่อยในวัยผู้สูงอายุ, ผู้ป่วยที่มีปัญหาเจ็บป่วยทางร่างกายหรือจิตใจ  ผู้ป่วยจะมีปัญหานอนไม่หลับทั้งๆที่มีโอกาสเพียงพอสำหรับการนอน  ผลของการนอนไม่หลับทำให้ร่างกายเกิดความอ่อนเพลีย, ปวดศีรษะ, จิตใจเกิดความกังวลหรือมีผลต่อการคิดการตัดสินใจและการทำงานในช่วงกลางวัน โรคนอนไม่หลับสามารถแบ่งได้หลายประเภทตามลักษณะช่วงเวลาของการนอนไม่หลับ 1.Initial insomnia คือภาวะที่ผู้ป่วยมีปัญหานอนหลับยากใช้เวลานอนนานกว่าจะหลับภาวะดังกล่าวอาจสัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวล2.Maintinance insomnia คือภาวะที่ผู้ป่วยไม่สามารถนอนหลับได้ยาวมีการตื่นกลางดึกบ่อยภาวะดังกล่าวอาจเกี่ยวข้องกับปัญหาทางกาย เช่นภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น3.Terminal insomnia คือภาวะที่ผู้ป่วยตื่นเร็วกว่าเวลาที่ควรจะตื่นอาจพบได้ในผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้า นอกจากนี้ถ้าแบ่งตามระยะเวลาที่เกิดโรคจะแบ่งได้สองกลุ่มคือ  1.Adjustment insomnia (โรคการนอนไม่หลับจากการปรับตัว) ซึ่งผู้ป่วยมักเป็นฉับพลันตามหลังสถานการณ์…

Responses