Bishop Score คะแนนประเมินความพร้อมของปากมดลูก

Bishop score

ก่อนจะทำคลอด มีสัญญาณอะไรบ้างว่าคุณแม่พร้อมคลอดแล้วนะ?

พี่เนิร์สมีคำตอบมาให้ สามารถตรวจสอบได้ด้วยคะแนนประเมินความพร้อมของปากมดลูกนั่นก็คือ Bishop Score ค่ะ

การชักนําคลอด หรือ การเร่งคลอด (Induction of labor) คือ การกระตุ้นให้เจ็บครรภ์ คลอดโดยทำให้มดลูกเกิดการหดรัดตัว ร่วมกับการทำให้ปากมดลูกนุ่ม เพื่อเข้าสู่กระบวนการคลอด

การประเมิน Bishop Score เป็นการทำนายความสำเร็จของการชักนำคลอด ได้นำเอาผลการตรวจสภาพของส่วนนำและปากมดลูกมาประเมินเป็นคะแนน ซึ่งมีทั้งหมด 13 คะแนนเต็ม

Bishop score

คะแนนยิ่งมากเท่าใด บ่งบอกถึงความเหมาะสมของสภาพปากมดลูกที่พร้อมจะเข้าสู่การคลอด และการกระตุ้นจะสำเร็จได้ง่าย แบ่งออกเป็น 5 ส่วน

1) การเปิดขยายของปากมดลูก Dilation (เซนติเมตร)

  • ปากมดลูกปิด ให้ 0 คะแนน
  • ปากมดลูกเปิด 1-2 เซนติเมตร ให้ 1 คะแนน
  • ปากมดลูกเปิด 3-4 เซนติเมตร ให้ 2 คะแนน
  • ปากมดลูกเปิด 5-6 เซนติเมตร ให้ 3 คะแนน

2) ความบางของปากมดลูก Effacement (%)

  • ร้อยละ 0-30 ให้ 0 คะแนน
  • ร้อยละ 40-50 ให้ 1 คะแนน
  • ร้อยละ 60-70 ให้ 2 คะแนน
  • ร้อยละ 80 ขึ้นไป ให้ 3 คะแนน

3) ความนุ่มของปากมดลูก Cervical consistency

  • ปากมดลูกแข็ง ให้ 0 คะแนน
  • ปากมดลูกนุ่มปานกลาง ให้ 1 คะแนน
  • ปากมดลูกนุ่ม ให้ 2 คะแนน

4) ตำแหน่งของปากมดลูก Position of the cervix

  • ด้านหลัง ให้ 0 คะแนน
  • ตรงกลาง ให้ 1 คะแนน
  • ด้านหน้า ให้ 2 คะแนน

5) ระดับส่วนนำของทารก Station

  • Station -3 (ส่วนนำอยู่สูงกว่าระดับ ischial spine 3 เซนติเมตร) ให้ 0 คะแนน
  • Station -2 (ส่วนนำอยู่สูงกว่าระดับ ischial spine 2 เซนติเมตร) ให้ 1 คะแนน
  • Station -1 หรือ 0 (ส่วนนำอยู่ระดับเดียวกัน หรือสูงกว่าระดับ ischial spine 1 เซนติเมตร) ให้ 2 คะแนน
  • Station +1 หรือ +2 (ส่วนนำอยู่ต่ำกว่าระดับ ischial spine 1-2 เซนติเมตร) ให้ 3 คะแนน

เกณฑ์การให้คะแนน Bishop Score

  • 9 คะแนนขึ้นไป ถือว่าปากมดลูกพร้อมสำหรับชักนำคลอด (favorable cervix) มีโอกาสสำเร็จในการชักนำคลอดสูง
  • ต่ำกว่า 4 คะแนน ถือว่าปากมดลูกไม่พร้อมสำหรับชักนำคลอด (unfavorable cervix) ไม่มีโอกาสสําเร็จในการชักนำการคลอด

ที่มา : ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, medthai

Related Articles

คำย่อภาษาอังกฤษ ที่ใช้ในการวินิจฉัยโรค

พยาบาลนอกจากดูแลสุขภาพของผู้ป่วยแล้ว อีกหนึ่งหน้าที่ที่สำคัญคือ การอ่านข้อมูลที่บันทึกอยู่ในเวชระเบียน ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยที่มารับบริการตรวจและรักษาโรคในโรงพยาบาล

Responses