วัคซีนหญิงตั้งครรภ์

วัคซีนหญิงตั้งครรภ์

รู้หรือไม่? หญิงตั้งครรภ์ก็จำเป็นต้องได้รับวัคซีนป้องกันด้วยเช่นกัน เหตุใดวัคซีนถึงสำคัญและมีวัคซีนอะไรบ้างที่เหมาะสมต่อหญิงตั้งครรภ์ พี่เนิร์สมีคำตอบมาให้ค่ะ

การฉีดวัคซีน เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับหญิงตั้งครรภ์ ช่วยให้คุณแม่และทารกปลอดภัยจากการติดเชื้อตั้งแต่ในครรภ์จนถึงกำหนดคลอด ซึ่งวัคซีนที่แนะนำให้ฉีดมี 2 ชนิด

วัคซีนที่แนะนำให้ฉีด

1) วัคซีนไข้หวัดใหญ่ (Influenza) แนะนำให้ฉีด 1 เข็มในอายุครรภ์ไตรมาสที่ 1 หรือ 2
2) วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน (Tdap) หลัง 27 สัปดาห์

วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก (Td)

  • กรณีที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน แนะนำให้ฉีด 3 เข็ม ห่างกัน 0, 1, 6 เดือน
  • กรณีที่เคยได้รับวัคซีนครบ 3 เข็มมาก่อน และเข็มสุดท้ายเกิน 10 ปี ให้ฉีดกระตุ้น 1 เข็ม

วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน (Tdap)

  • ให้วัคซีน Tdap แทน Td 1 เข็ม ในอายุตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 3 และให้ฉีดวัคซีนซ้ำในการตั้งครรภ์ครั้งถัดไป โดยไม่ต้องคำนึงว่าเคยได้รับ Td หรือ Tdap ครั้งสุดท้ายเมื่อใด
  • กรณีที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนขณะตั้งครรภ์ ให้ฉีด Tdap ทันทีหลังคลอด

วัคซีนที่ห้ามฉีดระหว่างตั้งครรภ์

1) วัคซีนโรคอีสุกอีใส (Varicella)
2) วัคซีนคางทูม-หัด-หัดเยอรมัน (MMR)
3) วัคซีนมะเร็งปากมดลูก (HPV)
4) วัคซีนไข้เลือดออก (Dengue)

วัคซีนที่ไม่ควรให้ฉีดสำหรับหญิงตั้งครรภ์ คือ วัคซีนชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ เนื่องจากส่วนประกอบของวัคซีนเป็นชนิดเชื้อมีชีวิต จึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของทารกในครรภ์ อาจทำให้ทารกในครรภ์ติดเชื้อและเกิดความพิการได้

ดังนั้น คุณแม่อย่าลืมได้รับวัคซีนให้ครบด้วยนะคะ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและมีสุขภาพที่แข็งแรงทั้งคุณแม่และลูกในครรภ์ค่ะ

ที่มา : แผนกสูติ-นรีเวช โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท

Related Articles

วัคซีน สำหรับผู้ที่อายุ 15 ปีขึ้นไป

หลายคนคงเคยได้รับวัคซีนในวัยเด็ก และคิดว่าผู้ใหญ่คงไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนก็ได้ เพราะเชื่อว่าเคยได้รับวัคซีนครบตั้งแต่เล็กแล้ว ร่างกายย่อมมีภูมิคุ้มกันโรคที่แข็งแรงแน่นอน แท้จริงแล้ว!! วัคซีนหลายชนิดที่เคยฉีดนั้นไม่สามารถป้องกันโรคได้ตลอดชีวิต หรือบางรายอาจจะฉีดวัคซีนไม่ครบในช่วงวัยเด็ก รวมทั้งเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบันก้าวหน้าขึ้น ทำให้มีวัคซีนชนิดใหม่เกิดขึ้นมากมาย วัคซีนสำหรับป้องกันโรคในช่วงอายุ 15 ปี – วัยสูงอายุ จะมีอะไรบ้างนั้น พี่เนิร์สจะมาอธิบายต่อจากวัคซีนทุกช่วงวัย ภาคที่ 1 ให้ทุกคนได้ทราบกันค่ะ วัคซีนที่ให้วัยรุ่น อายุ 15-19 ปี1) วัคซีน HPV…

วัคซีน สำหรับเด็กแรกเกิด ถึงอายุ 15 ปี

การสร้างเกราะป้องกันโรคต่าง ๆ ให้ลูกด้วยการฉีดวัคซีนเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะกับเด็กแรกเกิดไปจนถึงเด็กอายุ 15 ปี เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันการเจ็บป่วยต่าง ๆ ได้ วัคซีนทุกช่วงอายุ ภาค 1 ตั้งแต่เด็กแรกเกิด – 15 ปี จะมีอะไรบ้างนั้น พี่เนิร์สจะมาบอกให้คุณพ่อคุณแม่ได้ทราบกันค่ะ วัคซีนสำหรับป้องกันโรค สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท วัคซีนพื้นฐาน (จำเป็น) เด็กทุกคนต้องได้รับวัคซีนตามโปรแกรมที่กำหนด…

เรื่องที่ผู้หญิงต้องรู้เกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูกจะพบมากเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านมแต่กลับเป็นสาเหตุการเสียชีวิตจากมะเร็งอันดับหนึ่งของหญิงไทย เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกหรือระยะก่อนเป็นมะเร็งนั้นผู้ป่วยจะไม่มีอาการใดๆ รวมทั้งหญิงไทยมีความอาย กว่าจะมารับการตรวจโรคก็อาจเข้าสู่ระยะที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้จนต้องเสียชีวิตในที่สุด หากเราเรียนรู้และทำความเข้าใจ ก็จะช่วยป้องกันสาวๆ ให้ห่างไกลจากมะเร็งปากมดลูกได้ วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุตั้งแต่ 9 ปี ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ถึง 70 % มะเร็งปากมดลูกเกิดได้กับผู้หญิงทุกคนทั้งที่เคยมีเพศสัมพันธ์และไม่เคย สาเหตุของมะเร็งปากมดลูกกว่า 90% เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papillomavirus) ส่วนใหญ่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ส่วนน้อยติดต่อทางการสัมผัส…

การฉีดยาเข้าสู่ร่างกาย ต้องรู้อะไรบ้าง?

การฉีดยา ยาที่ให้โดยการฉีดจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดเร็วกว่าการให้ยาโดยวิธีอื่น การให้ยาโดยการฉีด สามารถแบ่งออกได้ 4 วิธี ดังนี้ 1. การฉีดยาเข้าชั้นผิวหนัง (ID : Intradermal injection) วัตถุประสงค์ : เพื่อทดสอบปฏิกิริยาของร่างกายต่อยาปฏิชีวนะ และทดสอบภูมิแพ้ ตำแหน่งฉีดยา : บริเวณหน้าแขนหรือต้นแขน ในบางครั้งอาจฉีดบริเวณหลังหรือต้นขาก็ได้ องศาในการแทงเข็ม : ทำมุม 5-15…

การประเมินทางระบบประสาท (Neurological signs)

การประเมินทางระบบประสาทมีเครื่องมือหลายอย่าง วันนี้พี่เนิร์สนำความรู้เรื่องแบบประเมินกลาสโกว์โคมาสกอร์(Glasgow Coma Score : GCS) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่นิยมใช้ประเมินความรู้สึกตัวบาดเจ็บศีรษะ แบบประเมินกลาสโกว์โคมาสกอร์(Glasgow Coma Score : GCS) คือ แบบประเมินที่ใช้อธิบายระดับความรู้สึกตัวในผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะโดยประเมินการทางานของสมองส่วนต่างๆ (Henderson, 2016 ) การบันทึก แบ่งออกเป็น 3 ข้อ คือ การลืมตา (eye opening)…

Responses