การรับประทานอาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง

การรับประทานอาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง

คำแนะนำการรับประทานอาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง เมื่อรักษาด้วยการฉายแสงหรือเคมีบำบัด (คีโม)

ระยะนี้ระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยจะต่ำลงกว่าปกติ ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อติดเชื้อได้ง่าย ดังนั้นในช่วงนี้ผู้ป่วยควรได้รับอาหารที่สะอาด ถูกหลักโภชนาการเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อและเพื่อให้ได้รับพลังงานที่เพียงพอต่อการรักษาและฟื้นตัวของร่างกาย ทั้งนี้ ผู้ดูแลและญาติก็ควรทราบถึงอาหารที่สามารถรับประทานได้และอาหารที่ไม่ควรรับประทานด้วยดังนี้

อาหารที่ผู้ป่วยควรได้รับในช่วงพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลเป็นอาหารปราศจากแบคทีเรีย (Low Bacteria Diet) ซึ่งแผนกครัวของโรงพยาบาลจะเป็นผู้จัดให้ภายใต้การควบคุมคุณภาพและสารอาหารจากนักโภชนาการ อาหารจะถูกปรุงให้สุกด้วยอุณหภูมิสูงเพื่อให้อาหารสุกทั่วชิ้น สะอาดและปราศจากเชื้อโรค

อาหารที่รับประทานได้

  • ข้าว หรือ เส้นก๋วยเตี๋ยวที่ผ่านการปรุงด้วยความร้อนและสุกสะอาด
  • ผักที่ผ่านการปรุงด้วยความร้อนและสุกสะอาด
  • ผลไม้กระป๋องหรือน้ำผลไม้ที่ผ่านการฆ่าเชื้อและบรรจุในภาชนะที่ปิดสนิท (งดผลไม้สดทุกชนิด งดน้ำผลไม้คั้นสดทุกชนิด)
  • เนื้อสัตว์ที่ผ่านการปรุงด้วยความร้อนและสุกสะอาด ไม่ติดมัน
  • ไข่สุก (สุกทั้งไข่แดงและไข่ขาว)
  • นม UHT (งดนมพาสเจอร์ไรซ์)

อาหารที่ไม่ควรรับประทาน

  • ผักสด
  • ผลไม้สด น้ำผลไม้คั้นสด
  • อาหารหมักดอง เช่น กิมจิ เต้าเจี้ยว มิโซะ เทมเป้
  • อาหารรสเปรี้ยว เผ็ด มัน เค็มจัด
  • นม ชีส โยเกิร์ตหรือผลิตภัณฑ์นมอื่นๆที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อ เช่น ไอศกรีมหรือโยเกิร์ตที่ทำเอง
  • ชีสชนิดที่มีรา เช่น บลูชีส, Stilton, Roquefort, Gorgonzola
  • ชีสประเภท Brie, Camembert, Feta Cheese, Farmer’s Cheese
  • อาหารประเภทเนื้อสัตว์ดิบๆ หรือที่ไม่ได้ผ่านความร้อนเพียงพอ หรืออาหารที่เสิร์ฟแบบเย็นๆ เช่น ซูชิปลาดิบ หรือสเต๊กที่ไม่สุก
  • ไข่ดิบ หรือไข่สุกๆดิบๆ
  • เมล็ดธัญพืชดิบ เช่น ข้าวโอ๊ตดิบ
  • น้ำดื่มที่ไม่สะอาด น้ำแข็ง
  • ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ที่วางขายโดยไม่มีภาชนะปิดหุ้ม
  • ขนมปังและเบเกอรี่ ที่มีการใช้ไส้คัสตาร์ด หรือมายองเนส
  • น้ำสลัดที่ไม่ได้ผ่านการกระบวนการฆ่าเชื้อ
  • น้ำผึ้ง
  • สมุนไพร
  • บริวยีสต์
  • ถั่วเปลือกแข็งดิบและไม่ได้ผ่านความร้อน
  • ขนมปัง ผลิตภัณฑ์ขนมปังที่มียีสต์
การรับประทานอาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง

คำแนะนำเพิ่มเติม

  • อาหารที่ผ่านการปรุงสุกแล้วควรรับประทานทันที (ไม่เกิน 2 ชั่วโมงหลังเสิร์ฟ) เพราะถ้าทานอาหารที่เก็บนานเกิน 2 ชั่วโมง อาจทำให้จุลินทรีย์เจริญเติบโตในอาหารและ
  • เสี่ยงต่อการเกิดท้องเสียหลังจากรับประทานอาหารนั้นได้
  • ไม่ควรรับประทานอาหารที่ซื้อเอง
  • ไม่ควรรับประทานอาหารอื่นๆที่ญาตินำมาเยี่ยม
  • หากคนไข้ต้องการรับประทานอาหารอื่นๆ นอกเหนือจากที่โรงพยาบาลจัดให้ ควรสอบถามพยาบาลและนักกำหนดอาหารก่อนเสมอ

แหล่งที่มา : แผนกโภชนาการ โรงพยาบาลสมิติเวชศรีนครินทร์

Related Articles

Dopamine injection

รูปแบบยาและความแรง : Dopamine injection 200 mg/5ml (40mg/ml) ,50mg/5ml (10mg/ml) Inopin (Dopamine) 250 mg/10 ml (25mg/ml), 500mg/10 ml (50 mg/ml) *** ควรมีการตรวจสอบรูปแบบที่มีอยู่ในแต่ละโรงพยาบาล กลุ่มยาทางเภสัชวิทยา : Cardiogenic drug…

ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ

สวัสดีค่ะ พี่น้อง nurse soulciety ทุกท่าน หลังจากพี่เนิร์สเผยแพร่เนื้อหาภาวะหลอดเลือดดำอักเสบไปแล้วนั้น วันนี้เราจะมาทบทวนความรู้ของภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาทางหลอดเลือดดำส่วนปลายอีกอย่างหนึ่ง ที่สำคัญมากๆ คือ ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ ส่งผลทำให้เกิดการติดเชื้อที่ตำแหน่งการให้ยา และติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ทำให้ต้องรักษาในโรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่ารักษาพยาบาลมากขึ้น ดังนั้นพยาบาลควรมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกัน เฝ้าระวัง ประเมินการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของยาหรือสารน้ำ และจัดการเมื่อเกิดภาวะดังกล่าว ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ภาวะรั่วซึมของยาหรือสารน้ำออกนอกหลอดเลือดดำ…

เบอร์โทรฉุกเฉิน ทุกคนอย่าเมิน เมมไว้อุ่นใจดี

ใกล้วันหยุดยาวแล้ว เมื่อต้องออกเดินทาง การเตรียมความพร้อมไว้เสมอถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก เพราะไม่อาจรู้ได้เลยว่าจะมีเหตุการณ์ฉุกเฉินอะไรเกิดขึ้นบ้าง

กินวิตามินหลังติดโควิด ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน

สวัสดีค่าวันนี้พี่เนิร์ส เอาเรื่องวิตามินที่จำเป็นหลังจากหายโควิดมาฝากค่า หลังจากติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ถึงแม้จะหายดี ไม่พบเชื้อไวรัสหลงเหลือในร่างกายแล้ว แต่หลายคนกลับมีสภาพร่างกายเปลี่ยนไป เหนื่อยง่ายขึ้น สมาธิ ไอเรื้อรัง หรืออาการอื่นๆ ที่เข้าข่ายภาวะลองโควิด (Long COVID) อาการเหล่านี้ สามารถรักษาได้ด้วยการกินวิตามินหลังติดโควิดเพื่อฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาแข็งแรงดังเดิม วิตามินหลังติดโควิด จากการวิจัยพบว่า หลังติดเชื้อโควิด-19  ผู้ป่วย 30-50% พบอาการลองโควิด โดยผู้ป่วยส่วนมากที่มีภาวะลองโควิดคือผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ผู้ป่วยที่เชื้อลงปอด หรือมีโรคประจำตัวเรื้อรัง โดยจะมีอาการดังเช่น…

กลุ่มอาการ PMS/PMDD ก่อนมีประจำเดือน

สาวๆ คุณเคยมีอาการดังต่อไปนี้หรือเปล่า? อารมณ์แปรปรวนก่อนมีประจำเดือน เศร้า หดหู่ เซ็ง หงุดหงิด น่าเบื่อไปหมดทุกอย่าง อาการเหวี่ยงวีนของสาวๆ ก่อนมีประจำเดือน บางทีสาวๆ อย่างเราก็ยังไม่เข้าใจตัวเองเลย วันนี้พี่เนิร์สจึงขอพาทุกคนมาเช็คอาการที่เรามักจะเป็นก่อนมีประจำเดือน ว่าเราจัดอยู่ในกลุ่มอาการแบบไหน ต้องรักษาไหม?ไปดูกันเลย 1. เราเป็น PMS, PMDD หรือเปล่า ? PMS (Premenstrual Syndrome) คือ…