ห่างกันสักพัก แต่รักเหมือนเดิม

Social Distancing

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ยังคงมีการติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง แถมไม่นานมานี้ยังมีไวรัสโควิดสายพันธ์ใหม่อย่างโอไมครอนเข้ามาอีก ยังคงทำให้มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของทุกคน พี่เนิร์สเชื่อว่าหลายคนคงอยากกลับไปสู่สภาวะปกติได้พบปะสังสรรค์ได้อยู่ใกล้คนที่เรารักเหมือนเดิม แต่ตอนนี้สิ่งที่พวกเราทุกคนต้องช่วยกันคือ เว้นระยะห่างกันสักพัก (Social Distancing) เพื่อลดการแพร่เชื้อ คิดเสียว่าเป็นการทำเพื่อตัวเองและคนที่เรารัก รวมทั้งคนอื่นอีกมากมายรอบๆตัว ถึงแม้สถานการณ์เริ่มดีขึ้นแต่ขอให้ทุกท่านการ์ดไม่ตกนะคะ

Social Distancing หรือ การเว้นระยะห่างทางสังคม คือ การสร้างระยะห่างระหว่างตัวเราเองกับคนอื่นๆ ในสังคม ลดการทำกิจกรรมนอกบ้าน หลีกเลี่ยงการใช้ขนส่งสาธารณะ การไม่รวมกลุ่ม ทำกิจกรรมใดๆร่วมกับผู้อื่น รวมทั้งการทำงานที่บ้านด้วย ทั้งนี้การทำ Social Distancing จะช่วยลดอัตราการแพร่ระบาดของไวรัสได้

ข้อแนะนำในการทำ Social Distancing

  • เว้นระยะห่าง 1 – 2 เมตร

ควรเว้นระยะ 1 – 2 เมตร ทั้งการเดินสวนทางกัน การใช้ลิฟต์ การใช้บริการขนส่งสาธารณะ การนั่งรับประทานอาหารในร้านอาหาร และการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นทั่วไป รวมถึงในสถานที่ทำงานควรจัดโต๊ะและเก้าอี้ให้เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล 1- 2 เมตร เพราะเป็นระยะปลอดภัยที่ฝอยละอองน้ำลายไม่กระเด็นถึงกัน และถ้ามือเราสัมผัสละออง เชื้อโรคที่อยู่ตามโต๊ะ สิ่งของแล้วเผลอมาจับหน้าก็เป็นสาเหตุทำให้ติดเชื้อโควิด-19 ได้

  • หลีกเลี่ยงการอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม

ควรหลีกเลี่ยงการอยู่รวมกันในแหล่งชุมชน โดยเฉพาะห้องแอร์ที่อากาศไม่ค่อยระบาย หรือการเข้าร้านค้าที่แออัด เพื่อลดความเสี่ยงที่จะรับเชื้อ

ในช่วงเวลาที่ผู้ติดเชื้อมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นและวัคซีนยังไม่ได้ป้องกันไวรัส COVID-19 ได้ 100% การปฏิบัติตัวตามมาตรการ Social Distancing เป็นแนวทางป้องกันตัวเองให้ปลอดภัยจากไวรัส และแสดงถึงความรับผิดชอบทางสังคม นอกจากการเว้นระยะห่างทางสังคมแลัว อย่าลืมล้างมือเป็นประจำ สวมหน้ากากอนามัย และหลีกเลี่ยงไปพื้นที่เสี่ยง​​สถานที่แออัด ช่วยกันคนละไม้ละมือเพื่อฝ่าวิกฤตินี้ไปพร้อมๆ กัน

ที่มา : www.thaihealth.or.th/ไทยรู้สู้โควิด

Related Articles

Long Covid เจ็บ…แต่ไม่จบของคนเคยติดเชื้อ covid-19

Long Covid คืออะไร ? อ้างอิงจากนิยามองค์การอนามัยโลก ประกาศ ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2564 ระบุว่า เป็นอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นใหม่หรือต่อเนื่องภายหลังการติดเชื้อโควิด-19 หลังจากรักษาหายแล้ว แต่หลายคนยังรู้สึกเหมือนยังไม่หายดี ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นมีความหลากหลายและอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยอาจเป็นอาการที่เกิดขึ้นใหม่ หรือเป็นอาการที่หลงเหลืออยู่หลังรักษาหาย ส่วนมากตั้งแต่ 3 เดือน นับจากวันตรวจพบเชื้อ และมีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 2 เดือน…

การประเมินทางระบบประสาท (Neurological signs)

การประเมินทางระบบประสาทมีเครื่องมือหลายอย่าง วันนี้พี่เนิร์สนำความรู้เรื่องแบบประเมินกลาสโกว์โคมาสกอร์(Glasgow Coma Score : GCS) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่นิยมใช้ประเมินความรู้สึกตัวบาดเจ็บศีรษะ แบบประเมินกลาสโกว์โคมาสกอร์(Glasgow Coma Score : GCS) คือ แบบประเมินที่ใช้อธิบายระดับความรู้สึกตัวในผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะโดยประเมินการทางานของสมองส่วนต่างๆ (Henderson, 2016 ) การบันทึก แบ่งออกเป็น 3 ข้อ คือ การลืมตา (eye opening)…

ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ

สวัสดีค่ะ พี่น้อง nurse soulciety ทุกท่าน หลังจากพี่เนิร์สเผยแพร่เนื้อหาภาวะหลอดเลือดดำอักเสบไปแล้วนั้น วันนี้เราจะมาทบทวนความรู้ของภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาทางหลอดเลือดดำส่วนปลายอีกอย่างหนึ่ง ที่สำคัญมากๆ คือ ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ ส่งผลทำให้เกิดการติดเชื้อที่ตำแหน่งการให้ยา และติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ทำให้ต้องรักษาในโรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่ารักษาพยาบาลมากขึ้น ดังนั้นพยาบาลควรมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกัน เฝ้าระวัง ประเมินการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของยาหรือสารน้ำ และจัดการเมื่อเกิดภาวะดังกล่าว ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ภาวะรั่วซึมของยาหรือสารน้ำออกนอกหลอดเลือดดำ…

หลีกเลี่ยง 3C ปกติวิถีใหม่ ห่างไกล Covid-19

โควิดยังไม่จบ เราควรมีจิตสำนึกสาธารณะ ตระหนักถึงความเสี่ยงไปยังสถานที่ต่าง ๆ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสร้าย พี่เนิร์สมี หลีกเลี่ยง 3C มาฝากให้ทุกคนปฏิบัติร่วมกันค่ะ