อาการรู้คำแต่นึกไม่ออก

Tip of the Tongue

ทำไมเราถึงหลงลืม เคยเป็นกันมั้ย รู้จัก!! แต่จำชื่อไม่ได้ คิดอย่างไรก็คิดไม่ออก ​​พูดไม่ออก มันติดอยู่ที่ปาก ทำไงดี?

อาการนี้เรียกว่า Tip of the Tongue เป็นอาการที่เวลาเราจะพูดคำๆ นึงออกมาแต่นึกไม่ออกทำให้ไม่สามารถพูดออกมาได้ เป็นปรากฏการณ์ที่สัมพันธ์กับกลไกการทำงานของระบบความจำ และการดึงข้อมูล (Information) ออกมาจากสมอง โดยสมองไม่สามารถเชื่อมโยงความหมายและเสียงของคำที่ต้องการได้ ซึ่งอาจเกิดจากการที่เราไม่ได้ยินหรือพูดคำนั้นเป็นเวลานาน แม้ว่าชื่อนั้นจะฝังอยู่ในความจำระยะยาว (Long-Term Memory) ก็ไม่สามารถดึงความจำออกมาได้ทั้งหมด

อาการรู้คำแต่นึกไม่ออก

สาเหตุ

  • คำที่ไม่ได้ใช้บ่อย การที่ไม่ได้พูดถึงคำนั้นบ่อยๆ จึงทำให้เราหลงลืมได้ แต่ถ้าหากลืมบ่อยๆ ถึงขั้นส่งผลต่อการใช้ชีวิต อาจต้องไปปรึกษาแพทย์กันแล้วนะคะ
  • อารมณ์ ความเครียดในสมอง ทำให้ต้องใช้เวลาคิดคำนวณ เมื่อเราอยู๋ในภาวะเครียด ในระยะสั้นอาจเป็นแค่การหลงลืม แต่หากเครียดสะสม อาจกระทบต่อสมองและทำให้มีอาการหลงลืมนั้นแย่ลงมากขึ้น
  • ความเหนื่อยล้า เมื่อเราเหนื่อยล้า ความล้าจะส่งผลต่อสมอง ทำให้นึกคำได้ยากขึ้น พี่น้อง nurse Soulciety นอนพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 8 ชั่วโมงต่อวัน ใครทำงานจ้องจอนานๆ พักยืดเส้นยืดสาย พักสายตากันบ้างนะคะ พี่เนิร์สเป็นห่วงค่ะ ให้สมองได้รีเฟรชตัวเองบ้างนะคะ
  • อายุที่มากขึ้น คนหนุ่มสาวมักเป็นสัปดาห์ละครั้ง แต่ผู้สูงอายุเป็นได้ถึงวันละครั้ง ซึ่งอายุที่มากขึ้นถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะเป็นโรคสมองเสื่อมได้ ผู้มีภาวะสมองเสื่อมอาจจะไม่ได้มีเพียงแค่การหลงลืมเท่านั้น จะต้องอาศัยอาการอื่นๆ เช่น ลืมเรื่องง่ายๆ เช่น วัน เดือน ปี สถานที่ที่เพิ่งไปมา บุคลิกภาพเปลี่ยน เช่น พูดไม่ได้ใจความ บางครั้งพูดติดๆ ขัดๆ หรือพูดซ้ำๆ การตัดสินใจแย่ลง การตัดสินใจไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ ประสิทธิภาพการทำงานลดลง ไม่มีสมาธิ กระวนกระวาย ย้ำคิดย้ำทำ ตามที่กล่าวไปข้างต้นประกอบการวินิจฉัย ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักไม่รู้ตัว ต้องใช้การสังเกตโดยคนรอบข้าง ดังนั้น หากพบว่าใครมีภาวะหลงลืม เพราะปัจจัยดังที่กล่าวมาด้านบน หรือไม่แน่ใจว่ากำลังเผชิญภาวะสมองเสื่อมอยู่หรือไม่ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อทำการทดสอบและวินิจฉัย

โดยเราได้แนะนำเทคนิคเพื่อช่วยในการนึกคำ ลดอาการ Tip of the Tongue ดังต่อไปนี้

  • ขยับท่าทางหรือกำมือ ช่วยกระตุ้นส่วนต่างๆของสมอง วิธีที่ดีที่สุด คือ การออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายและสมองได้รับออกซิเจน หรือการทำกิจกรรมผ่อนคลายเพื่อลดความเครียด เช่น ร้องเพลง เต้นรำ
  • ค้นหาหรือถามใครสักคน ซึ่งน่าจะรู้คำที่คุณต้องการจะพูด ในระหว่างนั้น คุณไม่ควรทำกิจกรรมอะไรหลายๆอย่างพร้อมๆกัน จนสมองรับไม่ไหว
  • การใช้คำพูดที่ใกล้เคียง จะช่วยให้นึกคำที่ต้องการได้ เมื่อคุณกังวลว่าจะลืมอีก การจดบันทึกจะทำให้สมองจดจำได้มากขึ้น
  • พยายามอธิบายออกมาดังๆ กระตุ้นเครือข่ายสมอง ช่วยในการฝึกคำ พยายามที่จะฝึกพูดและนำเสนอบ่อยๆ เมื่อคุณมีเวลาว่าง ลองหากิจกรรมเล่นเพื่อฝึกสมองไปด้วย เช่น หมากรุก คอร์สเวิร์ด เพื่อฝึกให้ได้ใช้ความคิด

ใครที่มีอาการดังกล่าว ก็ลองทำตามได้นะคะ หากพบว่าอาการหลงลืมแย่ลง พี่เนิร์สก็แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาต่อไปค่ะ

ที่มา : Facebook fanpage Infographic Thailand, โพสต์ทูเดย์, Mango Zero

Related Articles

เทคนิคทำงานกะดึกยังไงให้หน้าใสไร้สิว

พยาบาลกะดึกก็ผิวสวยใสไม่มีสิวได้ แค่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และหมั่นดูแลสุขภาพของตัวเองให้ดีอยู่เสมอ ต้องทำอย่างไรบ้าง? พี่เนิร์สจะมาบอกเทคนิคค่ะ