การล้างจมูก
การล้างจมูก (Nasal Irrigation)
ในปัจจุบันพบว่าความเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับจมูกนั้นมีมากมายหลายหลาก พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ เช่น เยื่อบุจมูกอักเสบ โพรงอากาศข้างจมูกอักเสบ ริดสีดวงจมูก ฯลฯ นอกจากทาให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยแย่ลงแล้ว ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้อง และเหมาะสมอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ เช่น หูชั้นกลางอักเสบ โพรงอากาศข้างจมูกอักเสบเรื้อรัง ภาวะแทรกซ้อนทางตา และสมอง เป็นต้น เนื่องจากมีช่องทาง เปิดผ่านจากจมูกถึงอวัยวะอื่นๆ ได้
วันนี้พี่เนิร์ส จะนำเอาวิธีการล้างจมูกมาทบทวนความรู้ให้กับเพื่อนๆน้องๆกันนะคะ
ความหมายของการล้างจมูก
การล้างจมูก เป็นการทำความสะอาดโพรงจมูก โดยการใส่น้ำเกลือเข้าไปในโพรงจมูก เพื่อชาระล้างน้ำมูกที่เหนียวข้น หนอง สิ่งสกปรกคั่งค้างในจมูก ซึ่งเกิดจากการอักเสบในโพรงจมูกและไซนัส หรือคราบสะเก็ดแข็งในจมูกหลังการผ่าตัดจมูกและไซนัส หรือการฉายแสงและทำให้โพรงจมูกกับบริเวณรูเปิดของไซนัสโล่ง บรรเทาอาการคัดจมูกลดการบวมภายในโพรงจมูก ช่วยให้ความชุ่มชื้นให้แก่เยื่อบุจมูก และป้องกันการลุกลามของเชื้อโรคจากโพรงจมูกและไซนัสไปสู่ปอด ทำให้โพรงจมูกสะอาดและไม่มีกลิ่นเหม็น โดยสิ่งสกปรกจะไหลออกข้างนอกและไหลลงคอไป นอกจากนั้นการล้างจมูกก่อนพ่นยาในจมูก ยังทำให้ยาสัมผัสกับเยื่อบุจมูกได้มากขึ้นและออกฤทธิ์ได้ดีขึ้นอีกด้วย
ประโยชน์ของการล้างจมูก
การล้างจมูกนั้น เป็นผลดีต่อร่างกายสามารถทำได้ง่าย และมีประโยชน์ดังนี้
- ช่วยชะล้างน้ำมูกหรือหนองบริเวณโพรงจมูก และหลังโพรงจมูกทำให้ปริมาณน้ำมูก หนองหรือเสมหะที่จะไหลลงคอน้อยลง ช่วยป้องกันการลุกลามของ เชื้อโรคจากจมูกและไซนัสไปสู่ปอด
- ลดอาการคัดจมูก แน่นจมูก ทำให้จมูกยุบบวมลงจนทำให้หายใจได้โล่งขึ้น
- ช่วยลดความเหนียวข้นของน้ำมูก และทำให้เชื้อโรคไม่เจริญเติบโต
- ให้ความชุ่มชื้นแก่เยื่อบุจมูก ลดอาการระคายเคืองจมูก จมูกไม่แห้ง
- ช่วยทำให้ขนพัดโบก สิ่งสกปรก สิ่งแปลกปลอมได้ดีขึ้น
- ทำให้ยาพ่นจมูกออกฤทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากยาสัมผัสกับเยื่อจมูกได้มากขึ้น
- ช่วยให้ไม่เป็นหวัด และโพรงไซนัสอักเสบเรื้อรัง
- ช่วยลดจานวนเชื้อโรค ของเสีย สารก่อภูมิแพ้ และสารที่เกิดจากปฏิกิริยาของร่างกายที่มีต่อสารก่อภูมิแพ้
ขอบเขตของการล้างจมูก
การล้างจมูกสามารถทำได้ในคนทุกเพศ ทุกวัย ในทารกเริ่มจากเด็กอายุ 3-4 เดือน เด็กโตและวัยรุ่น รวมถึงผู้ใหญ่ด้วย
การล้างจมูกนั้นจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ที่ถูกต้อง สะอาด ปลอดภัย และครบถ้วนจึงจะทำการล้างจมูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- การเตรียมอุปกรณ์การล้างจมูกในเด็กเล็ก
การเตรียมอุปกรณ์ในการล้างจมูกในเด็กเล็กนั้น ต้องมีความสะอาด ปลอดภัย จึงจะทำการล้างจมูกได้ ดังนี้
- น้ำเกลือความเข้มข้น 0.9 % Normal Saline สำหรับล้างจมูกโดยเฉพาะ ปัจจุบันจะมีขายเป็นขวดสำเร็จรูป ซึ่งหาซื้อได้จากโรงพยาบาลหรือตามร้านขายยาทั่วไป ซึ่งแนะนำให้ใช้ขวดละ 100 มิลลิลิตร (น้ำเกลือที่ใช้เหลือให้เททิ้งและห้ามนำกลับมาใช้ใหม่หรือเทกลับเข้าขวดน้ำเกลือเดิม) เมื่อเปิดขวดจะมีอายุการใช้งานไม่เกิน 24 ชั่วโมง
- ถ้วยสะอาดสาหรับใส่น้ำเกลือ
- กระบอกฉีดยาพลาสติกขนาด 1 มิลลิลิตร (ไม่ใส่เข็มฉีดยา) สำหรับเด็กเล็กมาก
- กระบอกฉีดยาพลาสติกขนาด 2-5 มิลลิลิตร (ไม่ใส่เข็มฉีดยา)สำหรับเด็กอายุ 1-5 ปี
- ลูกสูบยางแดงสำหรับดูดน้ำมูกและเสมหะสำหรับเด็กที่ยังสั่งน้ำมูกและบ้วนเสมหะเองไม่ได้
- ลูกสูบยางแดงเบอร์ 0-2 สำหรับเด็กขวบปีแรก และเบอร์ 2-4 สำหรับเด็กอายุมากกว่า 1 ปี
- ภาชนะใส่น้ำล้างจมูก
- กระดาษชำระ
- การเตรียมอุปกรณ์การล้างจมูกในเด็กโต
การเตรียมอุปกรณ์การล้างจมูกในเด็กโต ซึ่งจำเป็นต้องมีการเตรียมอุปกรณ์ (ภาพที่1.4) คล้าย ๆ กับในเด็กเล็ก และต้องยังคงความสะอาด ปลอดภัย ด้วยเช่นกัน
- น้ำเกลือความเข้มข้น 0.9 % Normal Saline สำหรับล้างจมูกโดยเฉพาะ แนะนำให้ใช้ขวดละ 100 มิลลิลิตร (น้ำเกลือที่ใช้เหลือให้เททิ้ง ห้ามนำกลับมาใช้ใหม่หรือเทกลับเข้าขวดน้ำเกลือเดิม) เมื่อเปิดขวดจะมีอายุการใช้งาน ไม่เกิน 24 ชั่วโมง
- ถ้วยสะอาดสาหรับใส่น้าเกลือ
- กระบอกฉีดยาพลาสติกขนาด 10-20 มิลลิลิตร (ไม่ใส่เข็มฉีดยา)
- ภาชนะใส่น้ำล้างจมูก
- กระดาษชำระ
- การเตรียมอุปกรณ์การล้างจมูกในผู้ใหญ่
การเตรียมอุปกรณ์การล้างจมูกในผู้ใหญ่ก็เช่นกัน จะต้องเตรียมอุปกรณ์ คล้าย ๆ กับในเด็กเล็ก และในเด็กโตต้องยังคง ความสะอาด ปลอดภัย ซึ่งยังมีความแตกต่างออกไปในเรื่องอุปกรณ์อีกด้วย
- น้ำเกลือความเข้มข้น 0.9 % Normal Saline สำหรับล้างจมูกโดยเฉพาะ แนะนำให้ใช้ขวดละ 100 มิลลิลิตร (น้ำเกลือที่ใช้เหลือให้เททิ้ง ห้ามนำกลับมาใช้ใหม่หรือเทกลับเข้าขวดน้ำเกลือเดิม) เมื่อเปิดขวดจะมีอายุการใช้งานภายใน 24 ชั่วโมง
- ถ้วยสะอาดสาหรับใส่น้ำเกลือ
- กระบอกฉีดยาพลาสติกขนาด 20-50มิลิลิตร (ไม่ใส่เข็มฉีดยา) หรือจะเป็นอุปกรณ์สำเร็จรูป เช่น Hashi (น้ำเกลือสำเร็จรูป) เป็นต้น
- ภาชนะใส่น้ำล้างจมูก
- กระดาษชำระ
ขั้นตอนการล้างจมูกในเด็กเล็ก
ขั้นตอนการล้างจมูกในเด็กเล็ก จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สำหรับเด็กเล็กที่ยังสั่งน้ามูกเองไม่ได้ และเด็กเล็กที่ให้ความร่วมมือและสั่งน้ำมูกได้ คือ
- สำหรับเด็กเล็กที่ยังสั่งนามูกเองไม่ได้ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
1. ล้างมือผู้ที่จะทำการล้างจมูกให้สะอาด
2. เทน้ำเกลือใส่ขวดยาหยอดตา หรือกระบอกฉีดยาดูดน้าเกลือจนเต็ม
3. ให้ใช้ผ้าห่อตัวเด็กในกรณีที่เด็กไม่ให้ความร่วมมือและดิ้นมาก การห่อตัวเด็กจะช่วยให้ผู้ล้างจมูกสามารถล้างจมูกได้สะดวก นิ่มนวล และไม่เกิดการบาดเจ็บ
4. ให้เด็กนอนในท่าศีรษะสูงพอควร เพื่อป้องกันการสำลัก
5. จับหน้าให้นิ่ง ๆ ค่อยๆหยดน้ำเกลือครั้งละ 2-3 หยด หรือ ค่อยๆ สอดปลายกระบอกฉีดยาเข้าไปในรูจมูกข้างที่จะล้าง โดยให้แนบจุกล้างจมูกปลายกระบอกฉีดยาชิดด้านบนของจมูก ค่อยๆ ฉีดน้ำเกลือครั้งละประมาณ 0.5 มิลลิลิตร
6. ใช้ลูกยางแดงดูดน้ำมูก ในจมูกออก โดยบีบลูกยางแดงจนสุดเพื่อไล่ลมออกแล้วค่อยๆ สอดเข้าไปในจมูกลึกประมาณ 1-1.5 ซ.ม. ค่อยๆปล่อยมือที่บีบออก เพื่อดูดน้ำมูกเข้ามาในลูกยางแดงบีบน้ำมูกในลูกสูบยางแดงทิ้งในกระดาษชำระ
7. ทำซ้ำหลายๆครั้ง ในรูจมูกแต่ละข้าง จนไม่มีน้ำมูก
8. ในกรณีรู้สึกว่ามีเสมหะในคอ ให้สอดลูกสูบยางแดงเข้าทางปากเพื่อดูดเสมหะในคอออก ถ้าต้องการให้เด็กไอเอาเสมหะออกให้สอดลูกสูบยางแดงลึกถึง ประมาณโคนลิ้น เพื่อกระตุ้นให้ไอ และทำการดูดเสมหะ เหมือนที่กล่าวมาข้างต้น (ระหว่างดูดเสมหะให้จับหน้าเด็กหันไปด้านใดด้านหนึ่งเพื่อป้องกันการสำลัก)
9. ทิ้งกระดาษชำระที่ใช้แล้วลงถังขยะแล้วล้างมือให้สะอาด
- สำหรับเด็กที่ให้ความร่วมมือและสั่งน้ำมูกได้ควรปฏิบัติดังต่อไปนี
1. ล้างมือผู้ที่จะทำการล้างจมูกให้สะอาด
2. ให้เด็กนั่งหรือยืน แหงนหน้าเล็กน้อย ค่อยสอดปลายกระบอกฉีดยาแนบจุกล้างจมูกโดยวางให้ชิดจมูกด้านบน เหมือนที่กล่าวมาข้างต้น
3. ค่อย ๆ ฉีดน้ำเกลือครั้งละประมาณ 0.5-1 มิลลิลิตร หรือเท่า ที่เด็กทนได้ พร้อมกับบอกให้เด็กกลืนน้ำเกลือที่ไหล ลงคอเป็นระยะ ๆระหว่างฉีดน้ำเกลือ หรือให้บ้วนทิ้ง
4. ให้สั่งน้ำมูกลงในกระดาษทิชชู พร้อมกันทั้งสองข้าง (ไม่ต้องอุดรูจมูกอีกข้าง)
5. ทำซ้ำหลายๆครั้ง ๆ ในรูจมูกแต่ละข้าง จนไม่มีน้ำมูก
ขั้นตอนการล้างจมูกในเด็กโต
ขั้นตอนการล้างจมูกในเด็กโตนั้นจะง่ายกว่าแต่จะต้องมีความเข้าใจและทำตามขั้นตอน เพื่อป้องกันข้อผิดพลาด เช่น เกิดการสำลักขณะล้างจมูก เป็นต้น จึงพึงระมัดระวังและปฏิบัติ ดังนี้
1. ล้างมือให้สะอาด
2. เทน้ำเกลือในภาชนะที่เตรียมไว้ ใช้กระบอกฉีดยาดูดน้ำเกลือจนเต็ม
3. ฉีดน้ำเกลือเข้าไปในจมูก
4. ก้มหน้าลงเล็กน้อย อยู่ในท่าศีรษะตรง หรือกลั้นหายใจ-ก้มหน้า-อ้าปาก
5. สอดปลายกระบอกฉีดยาแนบจุกล้างจมูกเข้าไปในรูจมูกข้างที่จะล้างโดยวางปลายกระบอกฉีดยาชิดจมูกด้านบนกลั้นหายใจหรือหายใจทางปาก (เพื่อป้องกันการสำลัก) หรือให้เด็กพูดคำว่า “อา” ค้างไว้เสมอ เพื่อไม่ให้สำลักน้ำได้
6. ฉีดน้ำเกลือเข้าไปในจมูกครั้งละ 2-5 มิลลิลิตร หรือปริมาณมากที่สุดเท่าที่เด็กจะทนได้ หลังจากนั้นให้สั่งน้ำมูกออกทันทีโดยสั่งน้ำมูกออกพร้อมๆ กันทั้งสองข้าง (ไม่ต้องอุดรูจมูกอีกข้าง) ไม่ควรกลั้นหายใจเพื่อกักน้ำเกลือให้ค้างในจมูกนาน บ้วนน้ำเกลือและน้ำมูกส่วนที่ไหลลงคอและบ้วนเสมหะในคอออกทิ้ง
7. ทำซ้ำหลาย ๆ ครั้งแต่ละข้างจนไม่มีน้ำมูกออกมา
8. ทิ้งกระดาษชำระที่ใช้แล้วลงถังขยะ แล้วล้างมือให้สะอาด
ขั้นตอนการล้างจมูกในผู้ใหญ่
สำหรับการล้างจมูกในผู้ใหญ่ไม่ค่อยพบปัญหาเพียงทำความเข้าใจและปฏิบัติตามขั้นตอนเพื่อการล้างจมูกที่ถูกต้อง และเมื่อเข้าใจแล้วจะสามารถทำตามได้จนชำนาญ ดังนี้
1. ล้างมือให้สะอาด
2. เทน้ำเกลือในภาชนะที่เตรียมไว้ ใช้กระบอกฉีดยาดูดน้ำเกลือจนเต็ม
3. ฉีดน้ำเกลือเข้าไปในจมูก
4. ก้มหน้าลงเล็กน้อยหรืออยู่ในท่าศีรษะตรง หรือ กลั้นหายใจ-ก้มหน้า-อ้าปาก
5. สอดปลายกระบอกฉีดยาเข้าไปในรูจมูกแนบจุกล้างจมูกข้างที่จะล้างโดยวางปลายกระบอกฉีดยาชิดจมูกด้านบน
6. หายใจทางปากหรือกลั้นหายใจ
7. ฉีดน้ำเกลือเข้าไปในจมูกจนน้ำเกลือและน้ามูกไหลออกทางปาก หรือไหลย้อนออกทางจมูกอีกข้าง
8. สั่งน้ำมูกลงในกระดาษชาระพร้อมๆกันทั้งสองข้าง (ไม่ต้องอุดรูจมูกอีกข้าง)บ้วนน้ำเกลือและน้ำมูกส่วนที่ไหลลงคอและ บ้วนเสมหะในคอออกทิ้ง
9. ทำซ้ำ หลายๆ ครั้งแต่ละข้างจนไม่มีน้ำมูกออกมา
10. ทิ้งกระดาษชำระที่ใช้แล้วลงถังขยะ แล้วล้างมือให้สะอาด
การทำความสะอาดอุปกรณ์การล้างจมูก
การทำความสะอาดให้ล้างอุปกรณ์ล้างจมูกให้สะอาดหลังการใช้ทุกครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเติบโตและเพิ่มปริมาณโดยทำความสะอาด ดังนี้
- กระบอกฉีดยาและภาชนะที่ใส่น้ำเกลือให้ล้างด้วยน้ำสบู่หรือน้ำยาล้างจาน หลังจากนั้นให้ล้างตามด้วยน้ำจนสะอาด ผึ่งให้แห้ง
- ล้างลูกสูบยางแดงด้วยน้ำสบู่หรือน้ำยาล้างจาน ทั้งภายนอกและภายใน ล้างตามด้วยน้ำประปาจนสะอาดโดยคว่ำปลายลูกสูบยางแดงลง ควรนำไปต้มในน้ำเดือด วันละ 1 ครั้ง โดยดูดน้ำเดือดเข้ามาในลูกสูบยางแดงต้มประมาณ 5 นาที เสร็จแล้วบีบน้ำที่ค้างในลูกสูบยางแดงออกให้หมดวางคว่ำในภาชนะที่สะอาดโดยคว่ำปลายลูกสูบยางแดงลง
ข้อพึงระวังในการล้างจมูก
การล้างจมูกนั้นทำได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ต้องฝึกทำจนเกิดความชำนาญ และมี ข้อพึงระวังดังต่อไปนี้
- ควรล้างจมูก อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ช่วงตื่นนอนตอนเช้าและก่อนเข้านอน หรือเมื่อรู้สึกว่ามีน้ำมูกมากแน่นจมูก หรือก่อนใช้ยาพ่นจมูก
- ควรล้างจมูกก่อนเวลารับประทานอาหาร หรือรับประทานอาหารแล้วอย่างน้อย 2 ชั่วโมงขึ้นไป ทำในช่วงท้องว่างเพื่อป้องกันการอาเจียน และป้องกันการสำลักเอาเชื้อโรคหรือเศษอาหารเข้าไปในโพรงจมูก
- ข้อควรระวังน้ำเกลือและอุปกรณ์ที่ใช้ล้างจมูกต้องสะอาด โดยเฉพาะน้ำเกลือ ไม่ควรใช้ขวดใหญ่เพราะการเปิดทิ้งไว้และใช้ต่อเนื่องนานกว่าจะหมด จะทำให้เชื้อโรคสะสมอยู่ได้ โดยทั่วไปใช้ขวดละ 100 มิลลิลิตร เพื่อให้หมดเร็วจะได้ ไม่เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
- นอกจากนี้ควรล้างจมูก เมื่อมีน้ามูกเหนียวข้นจำนวนมาก (ถ้าน้ามูกใสและ มีจำนวนน้อยอาจใช้การเช็ดจมูกด้วยน้ำเกลือก็พอ) หลังใส่น้ำเกลือเข้าไปในโพรงจมูก ให้สั่งน้ำมูกออกทันที ไม่ควรกลั้นหายใจเพื่อกักน้ำเกลือให้ค้างในจมูกนาน เพราะน้ำเกลืออาจจะย้อนไปในโพรงอากาศ และการสั่งน้ำมูกให้สั่งเบา ๆ และไม่ต้องอุดรูจมูกอีกข้าง เพราะอาจทำให้แก้วหูทะลุได้
- ห้ามใช้น้ำเปล่าล้างจมูก เนื่องไม่สมดุลกับน้ำในเซลล์ร่างกาย จะทำให้สำลักและโพรงจมูกรู้สึกแสบ
- หากต้องพ่นยาหลังล้างจมูก ควรรอให้โพรงจมูกแห้งก่อน อย่างน้อย 3-5 นาที จึงพ่นยา
- ผู้ที่มีรูจมูกด้านใดด้านหนึ่งอุดตันอยู่ตลอดเวลา ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการล้างจมูก
- ไม่ควรใช้น้ำเกลือที่เย็นเกินไปในการล้างจมูก เพราะอาจทำให้เกิดอาการ คัดจมูกภายหลังการล้างจมูกได้ ดังนั้นถ้าเก็บน้ำเกลือในห้องที่เย็นหรืออากาศหนาว ควรอุ่นน้ำเกลือก่อนการล้างจมูกเสมอ โดยการนำแก้วที่ใส่น้ำเกลือ แช่ลงในภาชนะที่มีน้ำต้มเดือดหรือนำไปอุ่นในไมโครเวฟ 10 – 15 วินาที ก่อนจะนำน้ำเกลือที่อุ่นแล้วมาล้างจมูกระวังต้องไม่ให้น้ำเกลือร้อนจนเกินไปเพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายกับเนื้อเยื่อบุโพรงจมูกได้
เอกสารอ้างอิง :
1. เวคิน นพนิตย์ : ปฏิบัติการเขียนคู่มือ. คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก. 29 หน้า, 2558.
2. ศรีสุนทรา เจิมวรพิพัฒน์ : การพยาบาล หู คอ จมูก.โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบัน บรมราชชน,นนทบุรี. หน้า64-67, 2552.