การ Swab อย่างถูกวิธีด้วยตนเอง โดยใช้ ATK

สวัสดีค่ะพี่น้อง nurse soulciety ทุกท่าน เชื่อว่าในตอนนี้ทุกท่านมีประสบการณ์การถูก Swab เพื่อตรวจหาเชื้อโควิด-19 โดยใช้ ATK กันแล้วแน่ๆ พี่เนิร์สจะมาให้ความรู้การ Swab อย่างถูกวิธีด้วยตนเอง เพื่อให้การตรวจมีความแม่นยำและถูกต้องกันนะคะ มาดูกันเลยค่ะ

การ Swab อย่างถูกวิธีด้วยตนเอง โดยใช้ ATK

ชุดตรวจ ATK คืออะไร?

ATK Home use : เป็นชุดตรวจที่สามารถใช้ได้เองตามขั้นตอนจากคู่มือการใช้ซึ่งมีความแตกต่างกันในแต่ละยี่ห้อ การใช้งานต้องเน้นย้ำเรื่องความสะอาดเพื่อให้ได้ผลตรวจที่ถูกต้อง

ATK Professional use : เป็นชุดตรวจที่ไม่สามารถตรวจได้ด้วยตนเอง ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญหรือเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ใช้ตรวจให้เท่านั้น เนื่องจากไม้ swab จะยาวกว่า และมีปริมาณการบรรจุน้ำยาที่มากกว่า

ชุดตรวจ ATK มีความแม่นยำแค่ไหน?

การใช้ชุดตรวจ ATK สำหรับใช้เอง (Home use) มีความแม่นยำในระดับเบื้องต้น ซึ่งหากติดเชื้อมาไม่นาน ทำให้ปริมาณเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังมีไม่มาก อาจตรวจไม่พบทำให้ผลออกมาเป็นลบได้เช่นกัน ดังนั้นหากมีความเสี่ยงสูงควรทำการตรวจซ้ำหลังจากตรวจครั้งแรกไปแล้ว 3-5 วัน อย่างไรก็ตามการตรวจที่แม่นยำที่สุดคือการตรวจแบบ RT-PCR ที่สามารถหาเชื้อได้แม้ยังมีเชื้อน้อย จึงควรตรวจด้วย RT-PCR เพื่อยืนยันผลอีกครั้ง

เราจะตรวจ ATK เมื่อใด?

สำหรับคนที่มีอาการเข้าข่ายหรือสงสัยว่าจะติดเชื้อ ให้ตรวจด้วย ATK โดยพิจารณาความเสี่ยง เช่น

  • มีไข้ต่ำ ๆ ตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป
  • ไอ, มีน้ำมูก, เจ็บคอ, จมูกไม่ได้กลิ่น, ลิ้นไม่รับรส, หายใจเร็ว, หายใจเหนื่อย หายใจลำบาก
  • หรือมีตาแดง, ผื่นขึ้น, ถ่ายเหลว
  • หรือสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิด ทั้งที่มีอาการและไม่มีอาการ

Swab ตรวจโควิด-19 ด้วยตัวเองอย่างไรให้ถูกวิธี (หาภาพประกอบ)

1. นั่งศีรษะตรง ไม่ต้องเงยหรือก้ม
2. เริ่มใส่ไม้ Swab ที่ขอบล่างของฐานจมูกด้านที่ติดกับผนังกั้นช่องจมูก
3. สอดไม้ Swab ในแนวตรง ลึกไปเรื่อย ๆ ในทิศทางที่ขนานกับฐานจมูกหรือเพดานปาก
4. ทิศทางต้องไม่ทำมุมเงยไปยังดั้งจมูก ซึ่งเป็นทิศทางที่จะไปยังฐานกะโหลก
5. ถ้าตรวจแบบ Nasopharyngeal Swab ใส่จนรู้สึกว่าชนกับส่วนหลังของโพรงจมูก ความลึกประมาณได้จากระยะปลายจมูกถึงหน้าใบหู ถ้าตรวจแบบ Nasal Swab ให้ใส่ลึกประมาณ 2 เซนติเมตร
6. ไม่ดันเมื่อรู้สึกว่าชนกับสิ่งกีดขวาง
7. ค้างไม้ Swab ไว้ และหมุนตามคำแนะนำที่เขียนในคู่มือ (โดยทั่วไปอย่างน้อย 5 วินาที และ 5 รอบ)

คำแนะนำ

ไม่แนะนำให้ตรวจโดยวิธี Nasopharyngeal Swab ด้วยตนเองในผู้ที่เคยผ่าตัดไซนัสหรือฐานกะโหลกผู้ที่มีเคยมีกระดูกแตกหักที่ใบหน้าหรือฐานกะโหลก และผู้ที่มีภาวะสมองยื่นออกมาเนื่องจากกะโหลกศีรษะไม่ปิดในกลุ่มดังกล่าวนี้ถ้าจำเป็นต้องตรวจสวอบด้วยตัวเอง แนะนำให้เลือก Antigen Test Kit IIUU Nasal Swab ซึ่งปลอดภัยกว่า

ถ้าทำผิดวิธี : อาจรู้สึกว่าใส่ไม้ swab ได้ไม่ลึก มักมีอาการเจ็บ และอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บในโพรงจมูกหรือเลือดกำเดาไหลได้ ผลที่ได้จากการตรวจอาจคลาดเคลื่อนหรือไม่ถูกต้อง

แหล่งข้อมูล : ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, รศ. นพ.ทรงกลด เอี่ยมจตุรภัทร รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Related Articles

12 ท่าแพลงก์ยอดฮิต ลดพุงวันละนิด 4 สัปดาห์เห็นผล

ท่าแพลงก์ เป็นหนึ่งในท่าการออกกำลังกายที่คนนิยมมากที่สุด เนื่องจากไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ใด ๆ และเป็นท่าที่เห็นผลอย่างมีประสิทธิภาพ หากทำบ่อยๆอย่างมีวินัย ก็สามารถฟิต แอนด์ เฟิร์มร่างกายได้ วันนี้พี่เนิร์สจะมาแนะนำ 12 ท่าแพลงก์ทำตามไม่ยากค่ะ 1. ท่าแพลงก์ปกติ (Basic Plank) วิธีฝึก 1. เริ่มต้นด้วยท่านอนคว่ำ เหยียดตัวตรง เกร็งคอ และศีรษะลอยจากพื้น 2. ตั้งศอกทั้ง 2…

ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ

สวัสดีค่ะ พี่น้อง nurse soulciety ทุกท่าน หลังจากพี่เนิร์สเผยแพร่เนื้อหาภาวะหลอดเลือดดำอักเสบไปแล้วนั้น วันนี้เราจะมาทบทวนความรู้ของภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาทางหลอดเลือดดำส่วนปลายอีกอย่างหนึ่ง ที่สำคัญมากๆ คือ ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ ส่งผลทำให้เกิดการติดเชื้อที่ตำแหน่งการให้ยา และติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ทำให้ต้องรักษาในโรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่ารักษาพยาบาลมากขึ้น ดังนั้นพยาบาลควรมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกัน เฝ้าระวัง ประเมินการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของยาหรือสารน้ำ และจัดการเมื่อเกิดภาวะดังกล่าว ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ภาวะรั่วซึมของยาหรือสารน้ำออกนอกหลอดเลือดดำ…

CPR การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (ผู้ใหญ่/เด็ก/ทารก)

การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน CPR คืออะไร? CPR ย่อมาจากคำว่า Cardiopulmonary resuscitation หมายถึง ปฏิบัติการช่วยชีวิตยามฉุกเฉินเพื่อให้ปอดและหัวใจฟื้นคืนชีพขึ้นมา ก่อนถึงมือแพทย์เพื่อให้การรักษาเฉพาะต่อไป การทำ CPR เป็นวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อช่วยคืนชีวิตให้กับผู้ป่วย โดยผสมผสานระหว่าง การผายปอด เพื่อช่วยเพิ่มอากาศเข้าไปในปอด การกดหน้าอกบนตำแหน่งหัวใจ เพื่อช่วยให้หัวใจปั๊มเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนส่งต่อออกซิเจนไปยังอวัยวะต่าง ๆ เมื่อไหร่ถึงจะทำ CPR?การทำ CPR มักจะใช้สำหรับช่วยเหลือผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉินที่หมดสติ…

กลุ่มอาการ PMS/PMDD ก่อนมีประจำเดือน

สาวๆ คุณเคยมีอาการดังต่อไปนี้หรือเปล่า? อารมณ์แปรปรวนก่อนมีประจำเดือน เศร้า หดหู่ เซ็ง หงุดหงิด น่าเบื่อไปหมดทุกอย่าง อาการเหวี่ยงวีนของสาวๆ ก่อนมีประจำเดือน บางทีสาวๆ อย่างเราก็ยังไม่เข้าใจตัวเองเลย วันนี้พี่เนิร์สจึงขอพาทุกคนมาเช็คอาการที่เรามักจะเป็นก่อนมีประจำเดือน ว่าเราจัดอยู่ในกลุ่มอาการแบบไหน ต้องรักษาไหม?ไปดูกันเลย 1. เราเป็น PMS, PMDD หรือเปล่า ? PMS (Premenstrual Syndrome) คือ…

Long Covid เจ็บ…แต่ไม่จบของคนเคยติดเชื้อ covid-19

Long Covid คืออะไร ? อ้างอิงจากนิยามองค์การอนามัยโลก ประกาศ ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2564 ระบุว่า เป็นอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นใหม่หรือต่อเนื่องภายหลังการติดเชื้อโควิด-19 หลังจากรักษาหายแล้ว แต่หลายคนยังรู้สึกเหมือนยังไม่หายดี ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นมีความหลากหลายและอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยอาจเป็นอาการที่เกิดขึ้นใหม่ หรือเป็นอาการที่หลงเหลืออยู่หลังรักษาหาย ส่วนมากตั้งแต่ 3 เดือน นับจากวันตรวจพบเชื้อ และมีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 2 เดือน…