ทริคในการทำข้อสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ

ทริคในการทำข้อสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ ของ สภาการพยาบาล แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้

  1. เทคนิคตอนเข้าห้องสอบ
  2. แนวข้อสอบฉบับย่อ

1. เทคนิคตอนเข้าห้องสอบ

1.1. ฝึกทำข้อสอบบ่อย ๆ โดยจับเวลาอย่างเคร่งครัด เพื่อฝึกตัวเองให้คุ้นชิน ไม่ตื่นเต้นและเครียดจนควบคุมตัวเองไม่ได้เมื่อถึงวันสอบจริง ต้องมีวิธีควบคุมความเครียด ก่อนทำข้อสอบ ขณะทำข้อสอบและหลังทำข้อสอบแต่ละวิชา เพื่อไม่ให้มีผลกระทบกับการทำข้อสอบในวิชาต่อมา ไม่ต้องกังวลกับวิชาที่ทำไปแล้ว ต้องมีสมาธิขณะทำข้อสอบ เนื่องจากเวลาในการสอบมีน้อย ถ้ากังวลจะทำข้อสอบได้ช้า และต้องอ่านซ้ำหลายครั้ง

1.2. เครื่องเขียน (ดินสอ 2B, ยางลบ) บัตรประจำตัวสอบ ทุกอย่างเตรียมให้พร้อม

1.3. จิบน้ำหวาน (จิบนะ ไม่ใช่ดื่มเป็นแก้ว) ก่อนลงมือทำข้อสอบ 15 นาที ห้ามกินอาหารจนอิ่มก่อนสอบ ให้เลือกกินอาหารอ่อน ย่อยง่าย โดยเฉพาะมื้อเที่ยง ระวังจะหลับในห้องสอบ

1.4. เมื่อเข้าไปในห้องสอบก่อนทำข้อสอบ ให้ตั้งสติดี ๆ มีสมาธิ พยายามหายใจเข้าออกลึก ๆ กรรมการจะให้สัญญาณให้ตรวจสอบข้อสอบและกระดาษคำตอบ ช่วงนี้จะมีเวลา 5-10 นาที ในเวลาช่วงนี้ให้น้อง ๆ นั่งเขียนสูตรทุกอย่างที่จำได้ทดลงในข้อสอบ

1.5. จำ Test Blueprint ของสภาการพยาบาล เนื่องจากข้อสอบจะออกเรียงตาม Blueprint ของสภา ถ้าสามารถจำได้ว่า Blueprint แต่ละหัวข้อจะออกข้อสอบและถามถึงเรื่องอะไร โรคอะไร ก็จะช่วยให้สามารถทำข้อสอบได้ดีขึ้น

1.6. ข้อไหนที่ทำไม่ได้ให้ข้ามไปก่อน อย่าเสียเวลากับการนั่งทบทวนนาน เวลาจะไม่พอสำหรับข้ออื่นๆบางทีข้อหลัง ๆ จะง่ายกว่า แต่ต้องจำได้ว่าข้ามข้อไหนไปและค่อยกลับมาทำข้อนั้น ข้อไหนที่ทำไม่ได้ให้เดาคำตอบและทำข้อสอบให้ครบทุกข้ออย่าปล่อยว่างไป

1.7. เหลือเวลาทบทวน 5-10 นาทีก่อนหมดเวลาสอบ การกลับไปนั่งทบทวนข้อสอบบางข้อที่ไม่มั่นใจแล้วไปแก้คำตอบ ไม่แนะนำให้แก้คำตอบ แนะนำให้เราเชื่อการตัดสินใจครั้งแรกที่เลือกตอบไป เพราะพบว่าการกลับไปแก้คำตอบในข้อที่ไม่มั่นใจ มีโอกาสตอบผิดสูง

2. แนวข้อสอบ (ฉบับย่อ)
แยกตามเนื้อหาทั้งหมด 8 วิชา

รายวิชาที่ 1 : การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น

รายวิชาที่ 2 : การพยาบาลผู้ใหญ่

รายวิชาที่ 3 : การพยาบาลผู้สูงอายุ

รายวิชาที่ 4 : การพยาบาลผดุงครรภ์

รายวิชาที่ 5 : การพยาบาลมารดาและทารก

รายวิชาที่ 6 : การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชศาสตร์

รายวิชาที่ 7 : การพยาบาลอนามัยชุมชนและการรักษาพยาบาลขั้นต้น

7.1 การพยาบาลอนามัยชุมชน

  • การตีความ โดยเฉพาะการหา Keywords (คำสำคัญ) ในคำถาม เช่น
    • การพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องนึกถึงการมีส่วนร่วมของ บ้าน วัด โรงเรียน
    • ชุมชนเข้มแข็ง หมายถึงอะไร

7.2 การรักษาโรคเบื้องต้น อ่านและทำข้อสอบเก่ามาก ๆ โดยจุดเน้น คือ

  • การวิเคราะห์ผล Lab ในโรคต่างๆ
  • การ Assessment และ Investigation แน่นอน แม่นเรื่องอาการ อาการแสดง การตรวจร่างกาย การส่งตรวจ Lab
  • ที่สำคัญมากคือ การวินิจฉัยแยกโรคได้ คือเมื่ออ่านโจทย์เสร็จ คิดถึงโรคอะไรได้บ้างก็เขียนไว้ แล้วค่อย ๆ ตัดออกทีละโรคจนเหลือโรคสุดท้ายที่เป็นคำตอบ
  • แยกการรักษาเบื้องต้น ยา คำแนะนำ โดยใช้ D-METHOD ของแต่ละโรค
  • ความรู้เรื่อง BURN หลักการคำนวณในเด็กและผู้ใหญ่, การพยาบาล ณ phase ต่างๆ,
    สาเหตุของ BURN ที่ต่างกัน และการพยาบาลที่ต่างกันไปด้วย

รายวิชาที่ 8 : กฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ จรรยาบรรณวิชาชีพและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพการพยาบาล และการผดุงครรภ์

  • เป็นการวัดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย ต้องใช้หลักกฎหมายในการตอบ โดยใช้ความจำและจับประเด็นโจทย์ให้ได้ว่าต้องการวัดข้อกฎหมายใด
  • อ่านและทบทวนข้อกฎหมายที่เรียนก่อนที่จะติว โดยอ่านจากเอกสารที่เรียนในชั้นเรียน เช่น พรบ.วิชาชีพ และข้อกฎหมายทั่วไป
  • เป็นการวัดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเหตุผลทางจริยธรรม ควรจำเนื้อหาให้ได้ ใช้เหตุผลทางจริยธรรมในการตอบ โดยพิจารณาตัวเลือกให้รอบคอบ ต้องพิจารณาคำที่เป็นแนวทางในการตอบ และต้องใช้การตีความ
  • หลัก ๆ ให้ดูเรื่องว่าเป็นความผิดทางกฎหมายอาญา, กฎหมายแพ่ง หรือผิดกฎสภาการพยาบาลหรือไม่ (เลือกคำตอบอธิบายยาว ๆ )
  • ดูขอบเขตการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
  • ไม่ต้องไปดูเรื่องบทลงโทษและตำแหน่งในสภาเยอะ เพราะค่อนข้างออกสอบน้อย
  • อ่านความรู้ด้านจริยธรรม เพราะข้อสอบจะถามว่าการกระทำอันไหนควร/ไม่ควรทำ เป็นการกระทำด้านไหนของจริยธรรม
  • มีบางข้อถามว่าถ้าใครในสภาลาออก ต้องแต่งตั้งใหม่ทันทีหรือไม่ และแต่งตั้งโดยใคร
  • กฎหมายการทำแท้ง (กรณีมีผลต่อสุขภาพต่อหญิงตั้งครรภ์, ทารกในครรภ์มีภาวะผิดปกติที่ส่งผลต่อภาวะจิตใจของหญิงตั้งครรภ์, การถูกข่มขืนกระทำชำเรา → สามารถทำแท้งได้ตามกฎหมาย)
  • สิทธิผู้ป่วย เช่น สิทธิ์ข้อมูลส่วนบุคคลในเวชระเบียนของผู้ป่วย

Related Articles

ทำความรู้จัก Burn Injury แผลไหม้

แผลไหม้ หมายถึง บาดแผลที่ผิวหนังถูกทำลายด้วยความร้อน สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากถูกเปลวไฟลวก ถูกของเหลวร้อนลวก กระแสไฟฟ้าแรงสูง หรือสารเคมี ส่งผลทำให้เนื้อเยื่อถูกทำลาย ตั้งแต่ชั้นหนังกำพร้า หนังแท้ หรืออาจลึกลงไปถึงกระดูกได้

ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ

สวัสดีค่ะ พี่น้อง nurse soulciety ทุกท่าน หลังจากพี่เนิร์สเผยแพร่เนื้อหาภาวะหลอดเลือดดำอักเสบไปแล้วนั้น วันนี้เราจะมาทบทวนความรู้ของภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาทางหลอดเลือดดำส่วนปลายอีกอย่างหนึ่ง ที่สำคัญมากๆ คือ ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ ส่งผลทำให้เกิดการติดเชื้อที่ตำแหน่งการให้ยา และติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ทำให้ต้องรักษาในโรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่ารักษาพยาบาลมากขึ้น ดังนั้นพยาบาลควรมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกัน เฝ้าระวัง ประเมินการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของยาหรือสารน้ำ และจัดการเมื่อเกิดภาวะดังกล่าว ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ภาวะรั่วซึมของยาหรือสารน้ำออกนอกหลอดเลือดดำ…

Test Blueprint สอบสภาการพยาบาลคืออะไร

สวัสดีแฟนเพจ Nurse Soulciety ทุกคนค่า น้อง ๆ ที่กำลังศึกษาพยาบาลอยู่ หรือใกล้จบรู้จัก Test Blueprint กันมั้ยเอ่ย? วันนี้พี่เนิร์สจะมาอธิบายเรื่องนี้ให้ทุกคนได้ทราบกัน น้อง ๆ สามารถติดตามอ่านบทสนทนา Q&A ของน้องอารีใฝ่รู้…พี่เนิร์สไขข้อสงสัย ได้เลยค่ะ น้องอารี : ตอนที่พี่เนิร์สสอบความรู้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯผ่าน ใช้เวลาเตรียมตัวอ่านหนังสือสอบนานมั้ยคะ?พี่เนิร์ส : พี่เริ่มเตรียมตัวสอบตั้งแต่เรียนปี 4…

การประเมินทางระบบประสาท (Neurological signs)

การประเมินทางระบบประสาทมีเครื่องมือหลายอย่าง วันนี้พี่เนิร์สนำความรู้เรื่องแบบประเมินกลาสโกว์โคมาสกอร์(Glasgow Coma Score : GCS) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่นิยมใช้ประเมินความรู้สึกตัวบาดเจ็บศีรษะ แบบประเมินกลาสโกว์โคมาสกอร์(Glasgow Coma Score : GCS) คือ แบบประเมินที่ใช้อธิบายระดับความรู้สึกตัวในผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะโดยประเมินการทางานของสมองส่วนต่างๆ (Henderson, 2016 ) การบันทึก แบ่งออกเป็น 3 ข้อ คือ การลืมตา (eye opening)…

Responses