วิธีการรับมือเข้ากะดึก สำหรับพยาบาลจบใหม่

วิธีการรับมือเข้ากะดึก สำหรับพยาบาลจบใหม่

สำหรับพยาบาลจบใหม่ ที่ต้องมาอยู่เวรดึกเป็นครั้งแรก การที่จะต้องนอนกลางวันและตื่นกลางคืนเพื่อมาทำงาน อาจจะเป็นเรื่องท้าทายสำหรับคุณ!

ปัญหาสุขภาพส่วนใหญ่ที่พยาบาลน้องใหม่ต้องพบคือ ความเหนื่อยล้า ซึ่งเกิดจากที่เราต้องอดนอนในช่วงเวลาที่คนทั่วไปพักผ่อน ทำให้กลไกการทำงานในร่างกายแปรปรวนไปจากปกติ

รวมถึงมีผลกระทบต่อ ฮอร์โมนเมลาโทนิน ที่หลั่งออกมาตอนกลางคืนเพื่อให้หลับสนิท จะทำงานได้น้อยลง ทำให้เรานอนหลับไม่สนิท ตื่นมาไม่สดชื่น ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง และอาจส่งผลต่อสุขภาพได้ในอนาคต

พี่เนิร์สเลยจะมาแชร์ 4 เคล็ดลับการนอนพักผ่อนอย่างไร? ร่างกายถึงจะหลับสนิทและพักผ่อนได้อย่างเต็มที่ เพื่อให้น้อง ๆ ผ่านพ้นงานกะดึกคืนแรกไปได้อย่างฉลุย

ปิดม่านทึบแสง
พยายามสร้างบรรยากาศและปัจจัยแวดล้อมให้เอื้อต่อการนอนหลับให้มากที่สุด ซึ่งเราสามารถป้องกันแสงแดดรบกวนระหว่างนอนหลับได้ด้วยการติดตั้งผ้าม่านทึบกันแสง

การทำเช่นนี้ก็จะเป็นการหลอกร่างกายว่าตอนนี้เป็นเวลากลางคืน เพื่อให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนิน ทำให้เราหลับสนิทมากขึ้น

นอนบนที่นุ่มสบาย
การนอนบนเตียง ที่ให้ความรู้สึกนุ่มสบาย จะช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายและนอนหลับได้เร็วขึ้น

อุปกรณ์ที่ช่วยให้นอนหลับสบาย เช่น หมอนนุ่มๆ หมอนรองคอ แผ่นรองนอนความเย็น เป็นต้น

หาตัวช่วยให้นอนหลับสนิท
หากรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนหลับยาก แนะนำให้ใช้น้ำมันหอมระเหยกลิ่นลาเวนเดอร์ ซึ่งเป็นอโรมาเธอราพีสกัดจากธรรมชาติ ที่จะช่วยบำบัดร่างกายและจิตใจ รวมถึงคลายความเครียดได้

พร้อมกับใช้อุปกรณ์ตัวช่วยเสริมให้หลับได้ดีขึ้น เช่น ผ้าปิดตา ที่อุดหู ก็จะช่วยให้เรานอนหลับได้ง่ายขึ้น

หากิจกรรมผ่อนคลายทำก่อนเข้านอน
ก่อนเข้านอนอาจจะลองทำกิจกรรมเบา ๆ เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง หรือนั่งสมาธิ เพื่อสร้างความผ่อนคลายและเตรียมพร้อมเข้าสู่โหมดพักผ่อนได้อย่างเต็มที่

วิธีการรับมือเข้ากะดึก สำหรับพยาบาลจบใหม่

แต่ไม่ควรดูทีวี ไม่เล่นมือถือในช่วงเวลาก่อนเข้านอน เนื่องจากกิจกรรมเหล่านี้มีผลกับสมอง ทำให้นอนหลับไม่สนิท ส่งผลให้เราอ่อนเพลียและพักผ่อนไม่เพียงพอ

เพียงเท่านี้ การเข้าเวรดึกเป็นครั้งแรกก็จะผ่านไปได้แบบสวยๆค่ะ สู้ๆนะคะ ^^

Related Articles

โรคนอนไม่หลับ (Insomnia)

โรคนอนไม่หลับเป็นปัญหาที่พบได้ทุกวัย ทุกอายุ เกิดขึ้นได้บ่อยตามข้อมูลการศึกษาพบได้ถึง ร้อยละ30-35 ของผู้ใหญ่ พบภาวะดังกล่าวได้บ่อยในวัยผู้สูงอายุ, ผู้ป่วยที่มีปัญหาเจ็บป่วยทางร่างกายหรือจิตใจ  ผู้ป่วยจะมีปัญหานอนไม่หลับทั้งๆที่มีโอกาสเพียงพอสำหรับการนอน  ผลของการนอนไม่หลับทำให้ร่างกายเกิดความอ่อนเพลีย, ปวดศีรษะ, จิตใจเกิดความกังวลหรือมีผลต่อการคิดการตัดสินใจและการทำงานในช่วงกลางวัน โรคนอนไม่หลับสามารถแบ่งได้หลายประเภทตามลักษณะช่วงเวลาของการนอนไม่หลับ 1.Initial insomnia คือภาวะที่ผู้ป่วยมีปัญหานอนหลับยากใช้เวลานอนนานกว่าจะหลับภาวะดังกล่าวอาจสัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวล2.Maintinance insomnia คือภาวะที่ผู้ป่วยไม่สามารถนอนหลับได้ยาวมีการตื่นกลางดึกบ่อยภาวะดังกล่าวอาจเกี่ยวข้องกับปัญหาทางกาย เช่นภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น3.Terminal insomnia คือภาวะที่ผู้ป่วยตื่นเร็วกว่าเวลาที่ควรจะตื่นอาจพบได้ในผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้า นอกจากนี้ถ้าแบ่งตามระยะเวลาที่เกิดโรคจะแบ่งได้สองกลุ่มคือ  1.Adjustment insomnia (โรคการนอนไม่หลับจากการปรับตัว) ซึ่งผู้ป่วยมักเป็นฉับพลันตามหลังสถานการณ์…

โอบอ้อมชวนรู้จักเพื่อนพยาบาลผู้ชาย #พยาบาลหล่อบอกต่อด้วย

หลายคนมักเข้าใจผิดคิดว่าพยาบาลมีแต่ผู้หญิงเท่านั้น แต่ที่จริงแล้วผู้ชายก็สามารถเรียนเป็นพยาบาลได้นะครับ แถมยังได้เป็นหนุ่มฮอต ป๊อปปูล่าที่สุดในคณะอีกด้วยนะ

ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ

สวัสดีค่ะ พี่น้อง nurse soulciety ทุกท่าน หลังจากพี่เนิร์สเผยแพร่เนื้อหาภาวะหลอดเลือดดำอักเสบไปแล้วนั้น วันนี้เราจะมาทบทวนความรู้ของภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาทางหลอดเลือดดำส่วนปลายอีกอย่างหนึ่ง ที่สำคัญมากๆ คือ ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ ส่งผลทำให้เกิดการติดเชื้อที่ตำแหน่งการให้ยา และติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ทำให้ต้องรักษาในโรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่ารักษาพยาบาลมากขึ้น ดังนั้นพยาบาลควรมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกัน เฝ้าระวัง ประเมินการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของยาหรือสารน้ำ และจัดการเมื่อเกิดภาวะดังกล่าว ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ภาวะรั่วซึมของยาหรือสารน้ำออกนอกหลอดเลือดดำ…

การประเมินแผลกดทับ

แผลกดทับ คือ การบาดเจ็บเฉพาะที่ของผิวหนังหรือเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังโดยเฉพาะบริเวณปุ่มกระดูกหรือบริเวณที่มีอุปกรณ์ทางการแพทย์กดทับการเกิดแผลกดทับมักพบในผู้ป่วยที่มีการนอนอยู่บนเตียงเป็นเวลานาน นอนติดเตียง ไม่ค่อยพลิกตะแคงตัว หรือเป็นผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้หรือช่วยเหลือตัวเองได้น้อย มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวจนเกิดแผลกดทับที่ผิวหนังตามตำแหน่งต่างๆ โดยเฉพาะบริเวณปุ่มกระดูก เช่น กระดูกก้นกบ กระดูกเชิงกราน กระดูกสันหลัง ข้อศอกและส้นเท้า เป็นต้น ระดับของแผลกดทับตาม National Pressure Ulcer Advisory Panel (NPUAP), April 13, 2016 1.ระดับ1…

โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder)

โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder)  ถือเป็นโรคทางจิตเวชที่พบได้บ่อยมากขึ้นในปัจจุบัน มีความแตกต่างไปจากความวิตกกังวลทั่วไปซึ่งเป็นความรู้สึกที่สามารถพบได้ในชีวิตประจำวัน จากข้อมูลของกรมสุขภาพจิตพบคนไทยมากกว่าหนึ่งแสนคนป่วยด้วยโรควิตกกังวล ซึ่งโรควิตกกังวลนี้จะเป็นความกังวลที่มากกว่าปกติ ไม่ใช่เพียงแค่การคิดมากเกินไปจนส่งผลต่อการดำเนินชีวิต       ถ้าเราสังเกตเห็นถึงความวิตกกังวลมากจนเกินไปก็อาจสันนิษฐานได้ว่ามีแนวโน้มที่จะเป็นโรควิตกกังวล ซึ่งสาเหตุของโรคนี้เกิดจากความผิดปกติทางจิตใจ หรือความไม่สมดุลของสารสื่อประสาทในสมอง ซึ่งอาจเกิดจากพันธุกรรมก็ได้ รวมถึงอาจเกิดจากสภาพแวดล้อม การเลี้ยงดู หรือการเลียนแบบพฤติกรรมจากพ่อแม่ หรือคนใกล้ชิด การประสบกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่ก่อให้เกิดโรควิตกกังวลซึ่งมีหลายประเภท และนี่คือ 5 โรควิตกกังวลที่มักพบได้บ่อยในวัยทำงาน 1.โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder)…

Responses