คีโต ที่แท้ทรูคืออะไร มีอะไรบ้าง

คีโต ที่แท้ทรูคืออะไร มีอะไรบ้าง

การทานอาหารคีโต หรือ Ketogenic Diet เป็นกระแสที่มาแรงในโลกโซเชียล แต่แท้จริงแล้วคีโตคืออะไร? ทานอะไรได้บ้าง? วันนี้พี่เนิร์สจะมาไขข้อสงสัยเหล่านี้ให้ทุกคนได้ทราบกันค่ะ

การทานอาหารแบบคีโต คือ การเน้นทานโปรตีนและไขมันชนิดดี โดยลดคาร์โบไฮเดรต มีสัดส่วนการทานในแต่ละวัน ดังนี้

  • ไขมัน 70-80%
  • โปรตีน 16-20%
  • คาร์โบไฮเดรต 5-10%

หลักการทำงานของคีโต

เมื่อทานคาร์โบไฮเดรตต่ำ ตับอ่อนก็จะไม่หลั่งอินซูลินออกมาควบคุมน้ำตาล ทำให้ร่างกายอยู่ในสภาวะคีโตน (Ketone) ดึงเอาไขมันที่สะสมไปใช้เป็นพลังงานแทนแป้งและน้ำตาล ส่งผลให้ไขมันส่วนเกินในร่างกายถูกเผาผลาญและน้ำหนักตัวลดลง

อาหารที่แนะนำ

1) โปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ติดมันน้อย เนื้อปลา อาหารทะเล ไข่ไก่ อัลมอนด์ แมคคาเดเมีย
2) ไขมันชนิดดี เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันมะพร้าว อะโวคาโด เนย
3) ผักใบเขียวทุกชนิด เช่น คะน้า ผักกาดหอม ผักโขม

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

1) เนื้อแปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม ลูกชิ้น หมูยอ เป็นต้น เพราะมีแป้งเป็นส่วนผสม
2) ฟาสต์ฟู้ด อาหารทอด เนยเทียม มาร์การีน ชีสแผ่น
3) ผักประเภทหัวใต้ดินต่าง ๆ เช่น มันฝรั่ง เผือก มันเทศ มันหวาน แคร์รอต ฟักทอง
4) เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มไดเอตโซดา

คีโต ที่แท้ทรูคืออะไร มีอะไรบ้าง

เนื่องจากการทานคาร์โบไฮเดรตต่ำ ทำให้ตับต้องทำงานหนักในการเปลี่ยนไขมันเป็นพลังงาน จึงอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวได้ ดังนั้น ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ เช่น ผู้ป่วยโรคตับ ไต ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ควรปรึกษาและได้รับคำแนะนำจากแพทย์ก่อนทำคีโต

พี่เนิร์สแนะนำให้เลือกวิธีลดน้ำหนัก ให้เหมาะสมกับ lifestyle และที่สำคัญเป็นวิธีที่เรามีความสุข ควบคู่กับการมีสุขภาพที่ดีด้วยค่ะ การทำคีโตแม้ว่าทำให้ความอยากอาหารลดลง น้ำหนักลดลงเยอะ แต่ก็โยโย่ได้ง่าย หากกลับมาทานแป้งเหมือนเดิม แต่ละวิธีมีข้อดีข้อเสียต่างกัน ศึกษาอย่างละเอียดและเลือกวิธีที่ใช่สำหรับตัวเองนะคะ

ที่มา : Rama Channel, ชีวจิต, Keto Thailand

Related Articles

8 อาหารตัวการทำหน้าแก่

1. คาร์โบไฮเดรตขัดขาว & น้ำตาลขัดขาว น้ำตาลเมื่อเข้าไปในร่างกายมากเกินไป ก็จะไปจับกับโปรตีนแล้วเกิดปฏิกิริยาไกลเดชั่น (AGEs) ก่อให้เกิดสารเร่งแก่ ส่งผลให้เซลล์เสื่อมสภาพ สูญเสียคอลลาเจน และเกิดริ้วรอยได้ง่าย ทำให้แก่เร็วขึ้น ไม่ควรกินน้ำตาลเกิน 6 ช้อนชา / วัน 2. อาหารที่มีไขมันทรานส์ ไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์ ได้แก่ เนยเทียม ครีมเทียม และไขมันทอดซ้ำ…

ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ

สวัสดีค่ะ พี่น้อง nurse soulciety ทุกท่าน หลังจากพี่เนิร์สเผยแพร่เนื้อหาภาวะหลอดเลือดดำอักเสบไปแล้วนั้น วันนี้เราจะมาทบทวนความรู้ของภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาทางหลอดเลือดดำส่วนปลายอีกอย่างหนึ่ง ที่สำคัญมากๆ คือ ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ ส่งผลทำให้เกิดการติดเชื้อที่ตำแหน่งการให้ยา และติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ทำให้ต้องรักษาในโรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่ารักษาพยาบาลมากขึ้น ดังนั้นพยาบาลควรมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกัน เฝ้าระวัง ประเมินการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของยาหรือสารน้ำ และจัดการเมื่อเกิดภาวะดังกล่าว ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ภาวะรั่วซึมของยาหรือสารน้ำออกนอกหลอดเลือดดำ…

การประเมินทางระบบประสาท (Neurological signs)

การประเมินทางระบบประสาทมีเครื่องมือหลายอย่าง วันนี้พี่เนิร์สนำความรู้เรื่องแบบประเมินกลาสโกว์โคมาสกอร์(Glasgow Coma Score : GCS) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่นิยมใช้ประเมินความรู้สึกตัวบาดเจ็บศีรษะ แบบประเมินกลาสโกว์โคมาสกอร์(Glasgow Coma Score : GCS) คือ แบบประเมินที่ใช้อธิบายระดับความรู้สึกตัวในผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะโดยประเมินการทางานของสมองส่วนต่างๆ (Henderson, 2016 ) การบันทึก แบ่งออกเป็น 3 ข้อ คือ การลืมตา (eye opening)…

สังเกตตัวเองก่อนจะสายไป คุณเป็นมนุษย์เป็นพิษ หรือเปล่า?

Are you a toxic people? พี่เนิร์สเชื่อว่า ทุกคนคงตั้งคำถามในใจ Toxic People คืออะไรหรอ? ABIGAIL BRENNER, M.D., จิตแพทย์ชาวอเมริกันบอกว่า คนที่มีพฤติกรรมบ่อนทำลายความรู้สึก สร้างความน่าอึดอัดทุกครั้งที่ต้องปฏิสัมพันธ์ด้วย ทำให้เรารู้สึกแย่ ไม่มีความสุข หรือเลวร้ายที่สุดก็ส่ งผลต่อสุขภาพจิตเราอย่างมาก อาจจะทำให้เรามองเห็นคุณค่าในตัวเองน้อยลงเลยก็ได้คนเหล่านี้เรียกว่า TOXIC PEOPLE บางทีเรามัวแต่ไปมองหาความ TOXIC…

กินวิตามินหลังติดโควิด ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน

สวัสดีค่าวันนี้พี่เนิร์ส เอาเรื่องวิตามินที่จำเป็นหลังจากหายโควิดมาฝากค่า หลังจากติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ถึงแม้จะหายดี ไม่พบเชื้อไวรัสหลงเหลือในร่างกายแล้ว แต่หลายคนกลับมีสภาพร่างกายเปลี่ยนไป เหนื่อยง่ายขึ้น สมาธิ ไอเรื้อรัง หรืออาการอื่นๆ ที่เข้าข่ายภาวะลองโควิด (Long COVID) อาการเหล่านี้ สามารถรักษาได้ด้วยการกินวิตามินหลังติดโควิดเพื่อฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาแข็งแรงดังเดิม วิตามินหลังติดโควิด จากการวิจัยพบว่า หลังติดเชื้อโควิด-19  ผู้ป่วย 30-50% พบอาการลองโควิด โดยผู้ป่วยส่วนมากที่มีภาวะลองโควิดคือผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ผู้ป่วยที่เชื้อลงปอด หรือมีโรคประจำตัวเรื้อรัง โดยจะมีอาการดังเช่น…

Responses