เปิดใจพยาบาลห้องไตเทียม

พยาบาลห้องไตเทียม

สำหรับน้อง ๆ ที่ฝันอยากเป็นพยาบาลห้องไตเทียม วันนี้พี่เนิร์สมีแขกรับเชิญคนพิเศษ พยาบาลพี่แป้งฝุ่น ที่จะมาเล่าประสบการณ์ดี ๆ และส่งต่อแรงบันดาลใจให้กับนักศึกษาพยาบาลและพยาบาลกันค่ะ

แป้งฝุ่น-ศิลป์สุภา เสมจิตร อายุ 30 ปี ปฏิบัติงานอยู่ที่ศูนย์ไตเทียม โรงพยาบาลค่ายธนะรัชต์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประสบการณ์การทำงานเกือบ 9 ปี

พยาบาลห้องไตเทียม มีทำหน้าที่ทำอะไรบ้าง?
พยาบาลห้องไตเทียมมีหน้าที่ตั้งแต่ประเมินอาการคนไข้ที่ยังไม่ได้รับการฟอกเลือด ดูแลคนไข้ไตวายระยะสุดท้าย (End-Stage Renal Disease : ESRD) โดยแพทย์จะส่งคนไข้มาให้พยาบาลห้องไตเทียม พยาบาลห้องไตเทียมมีหน้าที่ให้คำปรึกษา (Counseling) การเตรียมพร้อม ให้ความรู้การทำหัตถการ การเข้าเครื่องฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และการช่วยเหลือเบื้องต้น

คุณสมบัติและทักษะในการทำงานพยาบาลห้องไตเทียม ควรมีอะไรบ้าง?
1. มีประสบการณ์ทำงานพยาบาลอย่างน้อย 2 ปี
2. สอบเฉพาะทาง เนื่องจากเป็นการพยาบาลเวชปฏิบัติทางไต
3. เรียนหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาเวชปฏิบัติการบำบัดทดแทนไต (การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม) ระยะเวลา 6 เดือน

การเรียนเฉพาะทางด้านไตเทียม เรียนอะไรบ้าง?
เรียนเกี่ยวกับเฉพาะทางไตทุกอย่าง ได้แก่ การใช้เครื่องตัวกรองเลือดและเครื่องมือต่าง ๆ การเรียนเฉพาะทางด้านไตเทียมแตกต่างจากวิชาพยาบาลทั่วไป ดังนั้นพยาบาลทุกคนต้องเริ่มต้นเรียนใหม่หมดทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เป็นระยะเวลา 6 เดือน เรียนทฤษฎี 2 เดือนครึ่ง และฝึกปฏิบัติ 3 เดือนครึ่ง

การเตรียมตัวสอบพยาบาลห้องไตเทียม
ควรเตรียมอ่านกายวิภาคศาสตร์ (Anatomy) สิทธิของผู้ป่วย กฎหมายที่เกี่ยวกับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม รวมทั้งเส้นของคนไข้ที่ใช้ในการฟอกเลือด สิ่งที่ยากก็คือ การหาความรู้เกี่ยวกับสิทธิของคนไข้ เพราะต้องหาอ่านเองจากข้างนอก นอกจากนี้เนื้อหายังค่อนข้างยากและละเอียด

ฝากถึงน้อง ๆ ที่ฝันอยากเป็นพยาบาลห้องไตเทียม
ทุกคนมีความฝันได้ แต่ความฝันจะเป็นความจริงได้ก็ต่อเมื่อลงมือทำ ไม่มีใครทำสำเร็จได้ในครั้งแรก เราจะต้องพยายามต่อไป วันที่เป็นของเราจะต้องมาถึงอย่างแน่นอนค่ะ

Related Articles

นางฟ้าวีลแชร์ หัวใจแกร่ง

สำหรับน้อง ๆ ที่ฝันอยากเป็นพยาบาลและพี่น้องพยาบาลทุกคน วันนี้พี่เนิร์สมีแขกรับเชิญคนพิเศษ พยาบาลพี่ยิว ที่จะมาเล่าประสบการณ์ดี ๆ และส่งต่อแรงบันดาลใจให้กับนักศึกษาพยาบาลและพยาบาลกันค่ะ

ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ

สวัสดีค่ะ พี่น้อง nurse soulciety ทุกท่าน หลังจากพี่เนิร์สเผยแพร่เนื้อหาภาวะหลอดเลือดดำอักเสบไปแล้วนั้น วันนี้เราจะมาทบทวนความรู้ของภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาทางหลอดเลือดดำส่วนปลายอีกอย่างหนึ่ง ที่สำคัญมากๆ คือ ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ ส่งผลทำให้เกิดการติดเชื้อที่ตำแหน่งการให้ยา และติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ทำให้ต้องรักษาในโรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่ารักษาพยาบาลมากขึ้น ดังนั้นพยาบาลควรมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกัน เฝ้าระวัง ประเมินการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของยาหรือสารน้ำ และจัดการเมื่อเกิดภาวะดังกล่าว ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ภาวะรั่วซึมของยาหรือสารน้ำออกนอกหลอดเลือดดำ…

เปิดใจอาชีพ Flight Nurse งานพยาบาลที่ไม่ได้อยู่ในโรงพยาบาล แต่อยู่กลางอากาศ!!

สำหรับน้อง ๆ ที่ฝันอยากเป็น Flight Nurse วันนี้พี่เนิร์สมีแขกรับเชิญคนพิเศษ พยาบาลพี่โปเต้ ที่จะมาเล่าประสบการณ์ดี ๆ และส่งต่อแรงบันดาลใจให้กับนักศึกษาพยาบาลและพยาบาลกันค่ะ

การประเมินแผลกดทับ

แผลกดทับ คือ การบาดเจ็บเฉพาะที่ของผิวหนังหรือเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังโดยเฉพาะบริเวณปุ่มกระดูกหรือบริเวณที่มีอุปกรณ์ทางการแพทย์กดทับการเกิดแผลกดทับมักพบในผู้ป่วยที่มีการนอนอยู่บนเตียงเป็นเวลานาน นอนติดเตียง ไม่ค่อยพลิกตะแคงตัว หรือเป็นผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้หรือช่วยเหลือตัวเองได้น้อย มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวจนเกิดแผลกดทับที่ผิวหนังตามตำแหน่งต่างๆ โดยเฉพาะบริเวณปุ่มกระดูก เช่น กระดูกก้นกบ กระดูกเชิงกราน กระดูกสันหลัง ข้อศอกและส้นเท้า เป็นต้น ระดับของแผลกดทับตาม National Pressure Ulcer Advisory Panel (NPUAP), April 13, 2016 1.ระดับ1…

ทำความรู้จัก Burn Injury แผลไหม้

แผลไหม้ หมายถึง บาดแผลที่ผิวหนังถูกทำลายด้วยความร้อน สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากถูกเปลวไฟลวก ถูกของเหลวร้อนลวก กระแสไฟฟ้าแรงสูง หรือสารเคมี ส่งผลทำให้เนื้อเยื่อถูกทำลาย ตั้งแต่ชั้นหนังกำพร้า หนังแท้ หรืออาจลึกลงไปถึงกระดูกได้

Responses