สวัสดีปีใหม่ เปลี่ยนตัวเองเป็นคนใหม่ ที่ดีกว่าเดิม

สวัสดีปีใหม่ เปลี่ยนตัวเองเป็น คนใหม่ ที่ดีกว่าเดิม

ปีใหม่นี้ มาเริ่มต้นสิ่งดี ๆ สิ่งใหม่ ๆ ให้กับตัวเองกัน

วันนี้พี่เนิร์สมี 6 คำแนะนำดี ๆ เพื่อปรับเปลี่ยนตัวเองให้มีชีวิตที่ดีขึ้นรับปีใหม่มาฝาก ลองนำไปปรับใช้ในปี 2021 กันดูนะคะ

1. กำหนดเป้าหมายที่ตั้งใจจะทำ
การตั้งเป้าหมายจะช่วยทำให้มีแรงจูงใจในการใช้ชีวิต เช่น อยากมีบ้าน มีรถ มีเงินเดือนเพิ่มขึ้น ผู้ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่ เริ่มต้นจากการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน

2. วางแผนดูแลสุขภาพ
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหาร โดยลดอาหารที่มีไขมันสูง และเลือกกินผัก ผลไม้ให้มากขึ้น พยายามไม่นอนดึก ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และหมั่นตรวจสุขภาพประจำปี

3. ใช้เวลากับครอบครัวให้มากขึ้น
อย่าทำงานจนลืมให้เวลากับครอบครัว ลองแบ่งเวลามาทำกิจกรรมร่วมกัน โดยพาคนในครอบครัวไปทำบุญ กินอาหารมื้อพิเศษ หรือออกทริปไปเที่ยวต่างจังหวัด

4. อาสาสมัครช่วยเหลือสังคม
ปีใหม่นี้ลองทำงานจิตอาสาในองค์กรการกุศลต่าง ๆ ด้วย การทำบุญเลี้ยงอาหารเด็กกำพร้า การเยี่ยมผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้งที่บ้านพักคนชรา กิจกรรมเหล่านี้นอกจากดีต่อใจแล้ว ยังสร้างประโยชน์ให้กับสังคมอีกด้วย

5. ปรับ Mindset ใหม่
เปิดใจรับสิ่งใหม่ ๆ ที่ท้าทาย พยายามคิดบวกให้มากขึ้น อย่านำเรื่องที่ไม่สบายใจเก็บมาคิด รู้จักให้อภัยและเห็นอกเห็นใจคนอื่น เชื่อมั่นในตัวเองและกล้าตัดสินใจมากขึ้น

6. ใช้ชีวิตอย่างมีสติ
วางแผนการใช้ชีวิตให้รอบคอบมากขึ้น ควรคิดทบทวนดูผลดีผลเสียก่อนที่จะตัดสินใจทำอะไรลงไป สามารถฝึกสติได้ง่าย ๆ ด้วยการนั่งสมาธิ 5-10 ก่อนนอน ช่วยทำให้จิตใจสงบ มีสมาธิ และผ่อนคลายความเครียดได้อีกด้วย

Related Articles

ทะเลไทย เที่ยวหน้าไหนดี?

ใครกำลังอยากรู้ว่าจะเที่ยวทะเลไทย ควรไปช่วงเดือนไหนดีที่จะไม่เจอมรสุม วันนี้น้องอารีย์มีคำตอบมาให้ทุกคนแล้วว ทะเลไทยแบ่งออกเป็น 4 โซนใหญ่ๆ ตามนี้ 1. ฝั่งอันดามัน เช่น ภูเก็ต กระบี่ พังงา ตรัง หลีเป๊ะ 2. ทะเลฝั่งอ่าวไทยตอนบน เช่น ชะอำ เพชรบุรี หัวหิน ประจวยคีรีขันธ์ 3. ทะเลฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง เช่น…

ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ

สวัสดีค่ะ พี่น้อง nurse soulciety ทุกท่าน หลังจากพี่เนิร์สเผยแพร่เนื้อหาภาวะหลอดเลือดดำอักเสบไปแล้วนั้น วันนี้เราจะมาทบทวนความรู้ของภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาทางหลอดเลือดดำส่วนปลายอีกอย่างหนึ่ง ที่สำคัญมากๆ คือ ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ ส่งผลทำให้เกิดการติดเชื้อที่ตำแหน่งการให้ยา และติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ทำให้ต้องรักษาในโรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่ารักษาพยาบาลมากขึ้น ดังนั้นพยาบาลควรมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกัน เฝ้าระวัง ประเมินการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของยาหรือสารน้ำ และจัดการเมื่อเกิดภาวะดังกล่าว ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ภาวะรั่วซึมของยาหรือสารน้ำออกนอกหลอดเลือดดำ…

กลุ่มอาการ PMS/PMDD ก่อนมีประจำเดือน

สาวๆ คุณเคยมีอาการดังต่อไปนี้หรือเปล่า? อารมณ์แปรปรวนก่อนมีประจำเดือน เศร้า หดหู่ เซ็ง หงุดหงิด น่าเบื่อไปหมดทุกอย่าง อาการเหวี่ยงวีนของสาวๆ ก่อนมีประจำเดือน บางทีสาวๆ อย่างเราก็ยังไม่เข้าใจตัวเองเลย วันนี้พี่เนิร์สจึงขอพาทุกคนมาเช็คอาการที่เรามักจะเป็นก่อนมีประจำเดือน ว่าเราจัดอยู่ในกลุ่มอาการแบบไหน ต้องรักษาไหม?ไปดูกันเลย 1. เราเป็น PMS, PMDD หรือเปล่า ? PMS (Premenstrual Syndrome) คือ…

โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder)

โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder)  ถือเป็นโรคทางจิตเวชที่พบได้บ่อยมากขึ้นในปัจจุบัน มีความแตกต่างไปจากความวิตกกังวลทั่วไปซึ่งเป็นความรู้สึกที่สามารถพบได้ในชีวิตประจำวัน จากข้อมูลของกรมสุขภาพจิตพบคนไทยมากกว่าหนึ่งแสนคนป่วยด้วยโรควิตกกังวล ซึ่งโรควิตกกังวลนี้จะเป็นความกังวลที่มากกว่าปกติ ไม่ใช่เพียงแค่การคิดมากเกินไปจนส่งผลต่อการดำเนินชีวิต       ถ้าเราสังเกตเห็นถึงความวิตกกังวลมากจนเกินไปก็อาจสันนิษฐานได้ว่ามีแนวโน้มที่จะเป็นโรควิตกกังวล ซึ่งสาเหตุของโรคนี้เกิดจากความผิดปกติทางจิตใจ หรือความไม่สมดุลของสารสื่อประสาทในสมอง ซึ่งอาจเกิดจากพันธุกรรมก็ได้ รวมถึงอาจเกิดจากสภาพแวดล้อม การเลี้ยงดู หรือการเลียนแบบพฤติกรรมจากพ่อแม่ หรือคนใกล้ชิด การประสบกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่ก่อให้เกิดโรควิตกกังวลซึ่งมีหลายประเภท และนี่คือ 5 โรควิตกกังวลที่มักพบได้บ่อยในวัยทำงาน 1.โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder)…

การประเมินแผลกดทับ

แผลกดทับ คือ การบาดเจ็บเฉพาะที่ของผิวหนังหรือเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังโดยเฉพาะบริเวณปุ่มกระดูกหรือบริเวณที่มีอุปกรณ์ทางการแพทย์กดทับการเกิดแผลกดทับมักพบในผู้ป่วยที่มีการนอนอยู่บนเตียงเป็นเวลานาน นอนติดเตียง ไม่ค่อยพลิกตะแคงตัว หรือเป็นผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้หรือช่วยเหลือตัวเองได้น้อย มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวจนเกิดแผลกดทับที่ผิวหนังตามตำแหน่งต่างๆ โดยเฉพาะบริเวณปุ่มกระดูก เช่น กระดูกก้นกบ กระดูกเชิงกราน กระดูกสันหลัง ข้อศอกและส้นเท้า เป็นต้น ระดับของแผลกดทับตาม National Pressure Ulcer Advisory Panel (NPUAP), April 13, 2016 1.ระดับ1…

Responses