เทคนิคการกินง่าย ๆ สไตล์พยาบาล

เทคนิคการกินง่าย ๆ สไตล์พยาบาล

พยาบาลเวลาเข้ากะต้องกินอาหารอย่างไรไม่ให้มีผลกระทบต่อสุขภาพ พี่เนิร์สมีคำตอบมาให้ค่ะ

โดยปกติแล้ว เวรงานพยาบาลแบ่งออกเป็น 3 กะ (เช้า, บ่าย, ดึก) ทำให้ชีวิตประจำวันในการกินอาหารแต่ละมื้อแตกต่างกัน ดังนี้

เข้างานกะเช้า (8:00-16:00 น.)
เริ่มทำงานตามนาฬิกาชีวิตแบบทั่วไป สามารถกินอาหารได้ตามปกติให้ครบ 3 มื้อ ในปริมาณใกล้เคียงกัน

เข้างานกะบ่าย (16:00-24:00 น.)
เริ่มทำงานตั้งแต่ช่วงบ่ายและเลิกงานกลางดึก ให้กินมื้อหนักก่อนเข้างาน ถ้าหิวระหว่างกะให้กินผลไม้ ถั่ว อัลมอนด์ โยเกิร์ตแทนของหวาน และกินอีกเล็กน้อยหลังเลิกงาน

เข้างานกะดึก (24:00-8:00 น.)
มื้อก่อนเข้ากะและมื้อกลางกะให้กินในปริมาณน้อยหรือพออิ่ม แล้วค่อยกินมื้อใหญ่หลังออกกะในช่วงเช้า ช่วยให้นอนหลับตอนกลางวันง่ายขึ้น

Tips : การกินอาหารเพื่อสุขภาพ

  • กินอาหารให้ครบ 3 มื้อ แต่ละมื้อควรห่างกัน 4-5 ชั่วโมง
  • เน้นกินโปรตีนจากเนื้อสัตว์ เนื้อปลา ไข่ ถั่วที่ไม่อบเกลือ รวมถึงกินผักผลไม้เป็นของว่างแทนช็อกโกแลต เค้ก ลูกอม เพราะของหวานพวกนี้ทำให้อ้วนง่าย
  • หลีกเลี่ยงอาหารมัน เพราะย่อยยาก ทำให้ท้องอืดง่าย
  • ดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว เพื่อรักษาความชุ่มชื้นให้แก่ร่างกาย

บริโภค “คาเฟอีน” อย่างไร ไม่ให้เสียสุขภาพ

ปริมาณคาเฟอีนโดยเฉลี่ยของเครื่องดื่มแต่ละชนิด

ปริมาณที่เหมาะสมต่อวัน ไม่ควรเกิน 400 มิลลิกรัมต่อวัน เทียบเท่ากาแฟ 4 แก้ว หรือ น้ำอัดลม 10 กระป๋อง

  • ชา 75 mg.
  • กาแฟ 100 mg.
  • น้ำอัดลม 40 mg.
  • เครื่องดื่มชูกำลัง 50 mg.

ข้อควรระวัง

  • หลีกเลี่ยงดื่มมากกว่า 200 มิลลิกรัมต่อแก้ว
  • สตรีมีครรภ์ไม่ควรบริโภคคาเฟอีนเกินวันละ 200 มิลลิกรัม
  • พยายามไม่ดื่มคาเฟอีน ภายใน 4-6 ชั่วโมงก่อนเข้านอน เพราะสารคาเฟอีนออกฤทธิ์กระตุ้นสมองนานถึง 6 -7 ชั่วโมง ทำให้ร่างกายตื่นตัวและนอนไม่หลับได้

Related Articles

8 ดอกไม้ความหมายดี บอกรักวันวาเลนไทน์

วันนี้พี่เนิร์สจะมาบอกความหมายของดอกไม้แต่ละชนิดให้ทุกคนได้ทราบกัน เผื่อสาว ๆ ที่ได้ดอกไม้ในวันวาเลนไทน์นี้ จะสามารถอ่านใจเขาคนนั้นได้ถูกว่าคิดกับเราอย่างไรบ้าง?

7 แอปควรมี ช่วยให้เรียนพยาบาลง่ายขึ้น

น้อง ๆ ที่กำลังเรียนพยาบาล อาจจะเคยประสบปัญหากับการท่องจำเนื้อหา แต่ไม่ต้องกังวลไปค่ะ เพราะทุกวันนี้มีแอปพลิเคชันมากมายที่ช่วยให้การเรียนง่ายขึ้น วันนี้พี่เนิร์สจึงได้รวบรวม 7 แอปพลิเคชัน ที่จะทำให้ชีวิตนักศึกษาพยาบาลง่ายขึ้น จะมีอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลย!!! 1) Visual Anatomyเป็นแอปพลิเคชันที่ใช้ในการศึกษาภาพกายวิภาคศาสตร์ มีทั้งกล้ามเนื้อ กระดูก และอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายในรูปแบบภาพ 3 มิติ มีคำอธิบายพร้อมเสียงประกอบ เหมาะสำหรับท่องจำคำศัพท์ต่าง ๆ…

ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ

สวัสดีค่ะ พี่น้อง nurse soulciety ทุกท่าน หลังจากพี่เนิร์สเผยแพร่เนื้อหาภาวะหลอดเลือดดำอักเสบไปแล้วนั้น วันนี้เราจะมาทบทวนความรู้ของภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาทางหลอดเลือดดำส่วนปลายอีกอย่างหนึ่ง ที่สำคัญมากๆ คือ ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ ส่งผลทำให้เกิดการติดเชื้อที่ตำแหน่งการให้ยา และติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ทำให้ต้องรักษาในโรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่ารักษาพยาบาลมากขึ้น ดังนั้นพยาบาลควรมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกัน เฝ้าระวัง ประเมินการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของยาหรือสารน้ำ และจัดการเมื่อเกิดภาวะดังกล่าว ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ภาวะรั่วซึมของยาหรือสารน้ำออกนอกหลอดเลือดดำ…

29 กันยายน วันหัวใจโลก

29 กันยายนของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็น วันหัวใจโลก (World Heart Day) จัดขึ้นเพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของโรคหัวใจ ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของประชากรโลก

การฉีดยาเข้าสู่ร่างกาย ต้องรู้อะไรบ้าง?

การฉีดยา ยาที่ให้โดยการฉีดจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดเร็วกว่าการให้ยาโดยวิธีอื่น การให้ยาโดยการฉีด สามารถแบ่งออกได้ 4 วิธี ดังนี้ 1. การฉีดยาเข้าชั้นผิวหนัง (ID : Intradermal injection) วัตถุประสงค์ : เพื่อทดสอบปฏิกิริยาของร่างกายต่อยาปฏิชีวนะ และทดสอบภูมิแพ้ ตำแหน่งฉีดยา : บริเวณหน้าแขนหรือต้นแขน ในบางครั้งอาจฉีดบริเวณหลังหรือต้นขาก็ได้ องศาในการแทงเข็ม : ทำมุม 5-15…

Responses