อากาศร้อนจนต้องร้องขอชีวิต! ระวังเสี่ยงเป็น Heat Stroke

อากาศร้อน Heat Stroke

ฮีทสโตรก วายร้ายหน้าร้อน โรคนี้เกิดขึ้นได้กับทุกคน และอาจอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

พี่เนิร์สเป็นห่วงสุขภาพของทุกคน วันนี้เลยอยากมาบอกวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นจากโรคฮีทสโตรกให้ทุกคนได้ทราบกันค่ะ

ฮีทสโตรก หรือ โรคลมแดด เป็นโรคที่เกิดจากที่ร่างกายได้รับความร้อนมากเกินไป จนไม่สามารถปรับอุณหภูมิได้ทัน ทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส

อาการแบบไหนคือ ฮีทสโตรก ?

  • ตัวร้อนจัด แต่ไม่มีเหงื่อออก
  • กระหายน้ำมาก
  • ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน
  • หายใจเร็ว ชีพจรเต้นเร็ว
  • ชักกระตุก เกร็ง หรืออาจวูบหมดสติ

ผู้ป่วยฮีทสโตรก หากไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที อาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

ใครบ้างเสี่ยงเป็น ฮีทสโตรก ?

  • ผู้ที่มีโรคเรื้อรังหรือโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เบาหวาน เป็นต้น
  • ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ ความร้อนอาจทำให้ความดันเลือดต่ำ เกิดอาการเวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลมได้
  • ผู้ที่อยู่กลางแดดจัดเป็นเวลานาน อาจส่งผลให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นเรื่อย ๆ เช่น เกษตรกร กรรมกรก่อสร้าง นักกีฬา และทหารฝึก
  • ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จัด ในสภาพอากาศที่ร้อนจัด แอลกอฮอล์ออกฤทธิ์กระตุ้นหัวใจให้สูบฉีดเลือดเร็วและแรงขึ้น หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น จนอาจทำให้ช็อกและเสียชีวิตได้
  • เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบและผู้สูงอายุ เนื่องจากร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้ดีเท่าคนหนุ่มสาว

วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น

  1. นำตัวผู้ป่วยนอนราบในที่ร่ม ยกเท้าสูงทั้งสองข้าง เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด
  2. ปลดกระดุมเสื้อออกให้หลวม เพื่อให้ร่างกายระบายความร้อนได้เร็วขึ้น
  3. ใช้ผ้าชุบน้ำเย็น เช็ดตามตัว คอ รักแร้ ศีรษะ โดยเช็ดย้อนรูขุมขนเพื่อระบายความร้อน
  4. ใช้พัดลมเป่า หรือหาอะไรมาพัดแรง ๆ เพื่อลดอุณหภูมิร่างกายให้ลดต่ำลงโดยเร็วที่สุด
  5. หากอาการไม่ดีขึ้น ให้รีบนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด หรือแจ้งสายด่วน 1669

Related Articles

ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ

สวัสดีค่ะ พี่น้อง nurse soulciety ทุกท่าน หลังจากพี่เนิร์สเผยแพร่เนื้อหาภาวะหลอดเลือดดำอักเสบไปแล้วนั้น วันนี้เราจะมาทบทวนความรู้ของภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาทางหลอดเลือดดำส่วนปลายอีกอย่างหนึ่ง ที่สำคัญมากๆ คือ ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ ส่งผลทำให้เกิดการติดเชื้อที่ตำแหน่งการให้ยา และติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ทำให้ต้องรักษาในโรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่ารักษาพยาบาลมากขึ้น ดังนั้นพยาบาลควรมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกัน เฝ้าระวัง ประเมินการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของยาหรือสารน้ำ และจัดการเมื่อเกิดภาวะดังกล่าว ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ภาวะรั่วซึมของยาหรือสารน้ำออกนอกหลอดเลือดดำ…

โรคนอนไม่หลับ (Insomnia)

โรคนอนไม่หลับเป็นปัญหาที่พบได้ทุกวัย ทุกอายุ เกิดขึ้นได้บ่อยตามข้อมูลการศึกษาพบได้ถึง ร้อยละ30-35 ของผู้ใหญ่ พบภาวะดังกล่าวได้บ่อยในวัยผู้สูงอายุ, ผู้ป่วยที่มีปัญหาเจ็บป่วยทางร่างกายหรือจิตใจ  ผู้ป่วยจะมีปัญหานอนไม่หลับทั้งๆที่มีโอกาสเพียงพอสำหรับการนอน  ผลของการนอนไม่หลับทำให้ร่างกายเกิดความอ่อนเพลีย, ปวดศีรษะ, จิตใจเกิดความกังวลหรือมีผลต่อการคิดการตัดสินใจและการทำงานในช่วงกลางวัน โรคนอนไม่หลับสามารถแบ่งได้หลายประเภทตามลักษณะช่วงเวลาของการนอนไม่หลับ 1.Initial insomnia คือภาวะที่ผู้ป่วยมีปัญหานอนหลับยากใช้เวลานอนนานกว่าจะหลับภาวะดังกล่าวอาจสัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวล2.Maintinance insomnia คือภาวะที่ผู้ป่วยไม่สามารถนอนหลับได้ยาวมีการตื่นกลางดึกบ่อยภาวะดังกล่าวอาจเกี่ยวข้องกับปัญหาทางกาย เช่นภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น3.Terminal insomnia คือภาวะที่ผู้ป่วยตื่นเร็วกว่าเวลาที่ควรจะตื่นอาจพบได้ในผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้า นอกจากนี้ถ้าแบ่งตามระยะเวลาที่เกิดโรคจะแบ่งได้สองกลุ่มคือ  1.Adjustment insomnia (โรคการนอนไม่หลับจากการปรับตัว) ซึ่งผู้ป่วยมักเป็นฉับพลันตามหลังสถานการณ์…

โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder)

โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder)  ถือเป็นโรคทางจิตเวชที่พบได้บ่อยมากขึ้นในปัจจุบัน มีความแตกต่างไปจากความวิตกกังวลทั่วไปซึ่งเป็นความรู้สึกที่สามารถพบได้ในชีวิตประจำวัน จากข้อมูลของกรมสุขภาพจิตพบคนไทยมากกว่าหนึ่งแสนคนป่วยด้วยโรควิตกกังวล ซึ่งโรควิตกกังวลนี้จะเป็นความกังวลที่มากกว่าปกติ ไม่ใช่เพียงแค่การคิดมากเกินไปจนส่งผลต่อการดำเนินชีวิต       ถ้าเราสังเกตเห็นถึงความวิตกกังวลมากจนเกินไปก็อาจสันนิษฐานได้ว่ามีแนวโน้มที่จะเป็นโรควิตกกังวล ซึ่งสาเหตุของโรคนี้เกิดจากความผิดปกติทางจิตใจ หรือความไม่สมดุลของสารสื่อประสาทในสมอง ซึ่งอาจเกิดจากพันธุกรรมก็ได้ รวมถึงอาจเกิดจากสภาพแวดล้อม การเลี้ยงดู หรือการเลียนแบบพฤติกรรมจากพ่อแม่ หรือคนใกล้ชิด การประสบกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่ก่อให้เกิดโรควิตกกังวลซึ่งมีหลายประเภท และนี่คือ 5 โรควิตกกังวลที่มักพบได้บ่อยในวัยทำงาน 1.โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder)…

โรคที่มากับหน้าฝน

ในฤดูฝน มีใครชอบบรรยากาศฝนตกในวันหยุดเหมือนพี่เนิร์สบ้างมั้ยคะ แต่ในฤดูฝน อากาศเริ่มเย็นลงและมีความชื้นสูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศนี้ อาจส่งผลต่อสุขภาพของทุกคนได้ค่ะ ฤดูฝนเป็นสาเหตุทำให้โรคหลายชนิดสามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว พี่เนิร์สขอนำข้อมูลเกี่ยวกับโรคที่สำคัญที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษในฤดูนี้ มาฝากค่ะ ข้อมูลจาก กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค ได้ออกประกาศเตือนประชาชนในการป้องกันโรคติดต่อ ที่มักเกิดขึ้นในฤดูฝน โดยมี 5 กลุ่ม ได้แก่  1.กลุ่มโรคติดต่อของระบบทางเดินอาหารที่พบบ่อย  โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน บิด ไทฟอยด์ อาหารเป็นพิษ  โรคเหล่านี้เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนของเชื้อจุลชีพ ที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหาร…

การประเมินแผลกดทับ

แผลกดทับ คือ การบาดเจ็บเฉพาะที่ของผิวหนังหรือเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังโดยเฉพาะบริเวณปุ่มกระดูกหรือบริเวณที่มีอุปกรณ์ทางการแพทย์กดทับการเกิดแผลกดทับมักพบในผู้ป่วยที่มีการนอนอยู่บนเตียงเป็นเวลานาน นอนติดเตียง ไม่ค่อยพลิกตะแคงตัว หรือเป็นผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้หรือช่วยเหลือตัวเองได้น้อย มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวจนเกิดแผลกดทับที่ผิวหนังตามตำแหน่งต่างๆ โดยเฉพาะบริเวณปุ่มกระดูก เช่น กระดูกก้นกบ กระดูกเชิงกราน กระดูกสันหลัง ข้อศอกและส้นเท้า เป็นต้น ระดับของแผลกดทับตาม National Pressure Ulcer Advisory Panel (NPUAP), April 13, 2016 1.ระดับ1…