การใส่สายให้อาหารทางปากในทารกแรกเกิด
วัตถุประสงค์
- Decompression โดยระบายลม หรือของเหลวในกระเพาะอาหาร
- Gastric lavage
- ให้อาหารและยาในผู้ป่วยที่รับประทานอาหารไม่ได้ หรือมีปัญหาการดูดกลืน
- เพื่อนำของเหลวหรือสิ่งตกค้างในกระเพาะอาหารไปตรวจวิเคราะห์
อุปกรณ์
- สายให้อาหารพลาสติก (NG tube) ขนาด 5Fr , 6Fr, 8Fr ขึ้นกับขนาดของเด็ก
- หลอดฉีดยาปลอดเชื้อ (sterile syringe) ขนาด 3 ml หรือ 5 ml หนึ่งอัน
- Fixomull ( พลาสเตอร์ผ้าเนื้อนุ่ม )
- หูฟัง (stethoscope)
- ถุงมือสะอาด
ขั้นตอนการปฏิบัติ
- ตรวจสอบแผนการรักษา แจ้งวัตถุประสงค์และข้อบ่งชี้ในการใส่สาย OG Tube ให้แก่ บิดา มารดา
- เตรียมอุปกรณ์ให้ครบพร้อมใช้
- ล้างมือให้สะอาดตามหลัก Aseptic technique
- สวมถุงมือสะอาด
- จัดท่าทารกนอนหงาย ศีรษะสูงประมาณ 15-30 องศา
- หยิบสายยางให้นมด้วยวิธี sterile technique เริ่มวัดความยาวของสายเพื่อให้ปลายสายให้อาหารอยู่ในกระเพาะอาหาร โดยใช้ปลายสายยางวัดจากสันจมูกของทารกถึงติ่งหู และจากติ่งหูถึงกึ่งกลาง ระหว่างลิ้นปี่ (xyphoid process) กับสะดือ
- ทำเครื่องหมายในตำแหน่งที่วัดได้
- ใส่สายเข้าไปทางปากอย่างนุ่มนวล จนถึงตำแหน่งที่วัดไว้ ติด Fixomull เพื่อยึดสายให้อาหารให้เรียบร้อย
- ตรวจสอบตำแหน่งของสาย OG Tube ว่าอยู่ในกระเพาะอาหารหรือไม่ โดยนำ Syringe 3 หรือ 5 ml ดันลมประมาณ 1-2 ml ผ่านทาง OG Tube จากนั้นใช้ stethoscope ฟังเสียงลมบริเวณ Left upper quadrant ของทารก หากได้ยินเสียงลมเข้าไปแสดงว่าปลายสายอยู่ในตำแหน่งกระเพาะอาหาร หรือใช้วิธีดูดสิ่งคัดหลั่งในกระเพาะอาหารออกมาว่ามีหรือไม่ ถ้ามีแสดงว่าปลายสายอยู่ในกระเพาะอาหาร
- เก็บอุปกรณ์ ล้างมือให้สะอาด
- บันทึกกิจกรรมการพยาบาล
แหล่งที่มาของข้อมูล : หัตถการพื้นฐานสำหรับเด็ก ผศ.พญ.กนกพรรณ เรืองนภา และ ผศ.พญ.มาลัย ว่องชาญชัยเลิศภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ , การใส่สายให้อาหารทางปากในทารกแรกเกิด โรงพยาบาลสมิติเวชศรีนครินทร์ , การใส่สายยางทางปาก คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น