การใส่สายให้อาหารทางปากในทารกแรกเกิด

ให้อาหารทางปาก

วัตถุประสงค์

  1. Decompression โดยระบายลม หรือของเหลวในกระเพาะอาหาร
  2. Gastric lavage
  3. ให้อาหารและยาในผู้ป่วยที่รับประทานอาหารไม่ได้ หรือมีปัญหาการดูดกลืน
  4. เพื่อนำของเหลวหรือสิ่งตกค้างในกระเพาะอาหารไปตรวจวิเคราะห์

อุปกรณ์

  1. สายให้อาหารพลาสติก (NG tube) ขนาด 5Fr , 6Fr, 8Fr ขึ้นกับขนาดของเด็ก
  2. หลอดฉีดยาปลอดเชื้อ (sterile syringe) ขนาด 3 ml หรือ 5 ml หนึ่งอัน
  3. Fixomull ( พลาสเตอร์ผ้าเนื้อนุ่ม )
  4. หูฟัง (stethoscope)
  5. ถุงมือสะอาด
ให้อาหารทางปาก

ขั้นตอนการปฏิบัติ

  1. ตรวจสอบแผนการรักษา แจ้งวัตถุประสงค์และข้อบ่งชี้ในการใส่สาย OG Tube ให้แก่ บิดา มารดา
  2. เตรียมอุปกรณ์ให้ครบพร้อมใช้
  3. ล้างมือให้สะอาดตามหลัก Aseptic technique
  4. สวมถุงมือสะอาด
  5. จัดท่าทารกนอนหงาย ศีรษะสูงประมาณ 15-30 องศา
  6. หยิบสายยางให้นมด้วยวิธี sterile technique เริ่มวัดความยาวของสายเพื่อให้ปลายสายให้อาหารอยู่ในกระเพาะอาหาร โดยใช้ปลายสายยางวัดจากสันจมูกของทารกถึงติ่งหู และจากติ่งหูถึงกึ่งกลาง ระหว่างลิ้นปี่ (xyphoid process) กับสะดือ
  7. ทำเครื่องหมายในตำแหน่งที่วัดได้
  8. ใส่สายเข้าไปทางปากอย่างนุ่มนวล จนถึงตำแหน่งที่วัดไว้ ติด Fixomull เพื่อยึดสายให้อาหารให้เรียบร้อย
  9. ตรวจสอบตำแหน่งของสาย OG Tube ว่าอยู่ในกระเพาะอาหารหรือไม่ โดยนำ Syringe 3 หรือ 5 ml ดันลมประมาณ 1-2 ml ผ่านทาง OG Tube จากนั้นใช้ stethoscope ฟังเสียงลมบริเวณ Left upper quadrant ของทารก หากได้ยินเสียงลมเข้าไปแสดงว่าปลายสายอยู่ในตำแหน่งกระเพาะอาหาร หรือใช้วิธีดูดสิ่งคัดหลั่งในกระเพาะอาหารออกมาว่ามีหรือไม่ ถ้ามีแสดงว่าปลายสายอยู่ในกระเพาะอาหาร
  10. เก็บอุปกรณ์ ล้างมือให้สะอาด
  11. บันทึกกิจกรรมการพยาบาล

แหล่งที่มาของข้อมูล : หัตถการพื้นฐานสำหรับเด็ก ผศ.พญ.กนกพรรณ เรืองนภา และ ผศ.พญ.มาลัย ว่องชาญชัยเลิศภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ , การใส่สายให้อาหารทางปากในทารกแรกเกิด โรงพยาบาลสมิติเวชศรีนครินทร์ , การใส่สายยางทางปาก คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Related Articles

การฉีดยาเข้าสู่ร่างกาย ต้องรู้อะไรบ้าง?

การฉีดยา ยาที่ให้โดยการฉีดจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดเร็วกว่าการให้ยาโดยวิธีอื่น การให้ยาโดยการฉีด สามารถแบ่งออกได้ 4 วิธี ดังนี้ 1. การฉีดยาเข้าชั้นผิวหนัง (ID : Intradermal injection) วัตถุประสงค์ : เพื่อทดสอบปฏิกิริยาของร่างกายต่อยาปฏิชีวนะ และทดสอบภูมิแพ้ ตำแหน่งฉีดยา : บริเวณหน้าแขนหรือต้นแขน ในบางครั้งอาจฉีดบริเวณหลังหรือต้นขาก็ได้ องศาในการแทงเข็ม : ทำมุม 5-15…

การเลือกใช้และลำดับการบรรจุเลือดลงหลอดเก็บเลือด

หลอดเก็บเลือดเป็นหลอดแก้วที่ผ่านขบวนการปลอดเชื้อด้วยการอาบรังสี และถูกผนึกด้วยจุกพลาสติกเพื่อรักษาสภาพสุญญากาศ นอกจากนี้จุกยังมีสีต่าง ๆ ตามสารกันเลือดแข็งที่บรรจุอยู่ เพื่อความสะดวกต่อผู้ใช้ในการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ

ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ

สวัสดีค่ะ พี่น้อง nurse soulciety ทุกท่าน หลังจากพี่เนิร์สเผยแพร่เนื้อหาภาวะหลอดเลือดดำอักเสบไปแล้วนั้น วันนี้เราจะมาทบทวนความรู้ของภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาทางหลอดเลือดดำส่วนปลายอีกอย่างหนึ่ง ที่สำคัญมากๆ คือ ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ ส่งผลทำให้เกิดการติดเชื้อที่ตำแหน่งการให้ยา และติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ทำให้ต้องรักษาในโรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่ารักษาพยาบาลมากขึ้น ดังนั้นพยาบาลควรมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกัน เฝ้าระวัง ประเมินการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของยาหรือสารน้ำ และจัดการเมื่อเกิดภาวะดังกล่าว ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ภาวะรั่วซึมของยาหรือสารน้ำออกนอกหลอดเลือดดำ…

การประเมินทางระบบประสาท (Neurological signs)

การประเมินทางระบบประสาทมีเครื่องมือหลายอย่าง วันนี้พี่เนิร์สนำความรู้เรื่องแบบประเมินกลาสโกว์โคมาสกอร์(Glasgow Coma Score : GCS) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่นิยมใช้ประเมินความรู้สึกตัวบาดเจ็บศีรษะ แบบประเมินกลาสโกว์โคมาสกอร์(Glasgow Coma Score : GCS) คือ แบบประเมินที่ใช้อธิบายระดับความรู้สึกตัวในผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะโดยประเมินการทางานของสมองส่วนต่างๆ (Henderson, 2016 ) การบันทึก แบ่งออกเป็น 3 ข้อ คือ การลืมตา (eye opening)…