การฟังเสียงปอด

auscultation of lungs ฟังเสียงปอด

การฟังเป็นการตรวจภายในทรวงอกที่สําคัญและจําเป็น โดยใช้หูฟัง (Stethoscope) ขณะฟังต้องสังเกต

1. เสียงหายใจ (Breath sound) เกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหวของอากาศ ในหลอดลมในขณะที่หายใจเข้าและหายใจออก ให้ผู้รับบริการหายใจเข้าออกแรงๆ จะทําให้ได้ยินเสียงหายใจผ่านหลอดลมและปอดได้ชัดเจน เสียงหายใจที่ได้ยินตามตําแหน่งต่างๆ ได้แก่

1.1 เสียงหลอดลมใหญ่ (Tracheal breath sound)

  • เป็นเสียงที่เกิดจาก ลมผ่านเข้าออกในหลอดลมใหญ่ ฟังได้ยินตรงตําแหน่ง ที่หลอดลมตั้งอยู่
    บริเวณคอด้านหน้าและคอด้านหลัง ลักษณะการหายใจ ขณะหายใจเข้าสั้น และหายใจออกยาว

1.2 เสียงหลอดลม (Bronchial breath sound)

  • ฟังได้ยินบริเวณ ส่วนกลางของทรวงอกด้านบน ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
    มีลักษณะเป็นเสียงผสมระหว่างเสียงถุงลมกับเสียงหลอดลม

1.3 เสียงถุงลม (Vesicular breath sound)

  • ฟังบริเวณทรวงอก ตรงตําแหน่งชายปอดทั้ง 2 ข้าง ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เป็นเสียงที่เกิดจากลม ผ่านเข้าออกในเนื้อเยื่อปอด ลักษณะเสียงหายใจที่ได้ยินขณะหายใจเข้าจะดังและยาวกว่า ขณะหายใจออก

2. ความก้องของเสียง (Voice sound) คือเสียงที่พูดออกมาจากลําคอ เช่นให้ นับเลข 99 – 99 – 99 ใช้หูฟังตามตำแหน่งต่างๆ บนผนังทรวงอก จะได้ยินความก้องของเสียงทางหูฟัง เรียกว่า Vocal fremitus หรือ Auditory fremitus ทั้งนี้เพราะเนื้อเยื่อปอดมีคุณสมบัติในการนําคลื่นเสียง ในคนปกติปอดทั้ง 2 ข้าง มีความก้องของเสียงเท่าๆกัน โดย ความแรงและความก้องของเสียงขึ้นอยู่กับเนื้อเยื่อของปอด การฟังต้องฟังทรวงอกทั้งซ้ายและขวาเพื่อเปรียบเทียบกัน

ถ้าความก้องของเสียง มีลักษณะดังและชัดกว่าปกติ เรียกว่า Bronchophony พบได้ในภาวะ Consolidation ของเนื้อปอด เช่นปอดอักเสบ เป็นต้น แต่ถ้าความก้องของเสียงลดน้อยลงไป เสียงที่ได้ยินเรียก Whispering pectoriloguy แสดงว่ามีของเหลวหรือลมมากั้นระหว่างผนังหน้าอกกับหลอดลม

auscultation of lungs

3. เสียงผิดปกติอื่นๆ (Adventitious sound) แสดงว่ามีพยาธิสภาพ เกิดขึ้นในหลอดลมและปอดเสียงผิดปกติที่พบบ่อยแบ่งออกเป็นกลุ่มได้ 2 กลุ่ม คือ

  • พวกกลุ่มเสียงที่มีความชื้นจากของเหลว(Moist Sounds) เช่น เสียง Rales, Crepitation
  • อีกกลุ่มเป็นเสียงที่ไม่มีของเหลว (Dry Sounds) ได้แก่ เสียงพวก Rhonchi , Stridor , Pleural friction rub

3.1 Crepitation , crackle, rales เป็นความหมายเดียวกันหมดแต่ทาง American Thoracic Society
(ATS) จะใช้ crackle 

  • เป็นเสียงที่เกิดขึ้นในหลอดลมและถุงลม หลอดลมแขนงเล็กๆ ที่มีน้ำเสมหะ ขณะหายใจออกถุงลมจะแฟบ ถ้ามีน้ำเมือกหรือ เสมหะอยู่จะทําให้ถุงลมแฟบติดกัน พอหายใจเข้าลมจะดันถุงลมให้พองออก จึงเกิดเสียงกรอบแกรบ
    ลักษณะของเสียงที่ได้ยินจะคล้ายเสียงแตกของ ฟองอากาศ หรือเสียงเหมือนขยี้ผมใกล้ๆหู

3.2 Rhonchi และ Wheeze

  • เกิดจากทางเดินหายใจแคบหรือตีบลง เนื่องจากการเกร็งของกล้ามเนื้อหลอดลม การบวมของเยื่อบุทางเดินหายใจ มีเสมหะหรือเนื้องอก ทําให้มีการอุดตันเป็นบางส่วน ลักษณะของเสียงที่ได้ยินคล้ายเสียงกรนของแมวดังต่อเนื่องกัน เสียงที่ได้ยินจะแตกต่างกันเป็นเสียงสูงเสียงต่ำขึ้นอยู่กับขนาดการตีบของรูหลอดลม Sonorous rhonchi เป็นเสียงที่ลมหายใจวิ่งผ่านหลอดลมที่ขรุขระจากการอักเสบหรือมีเสมหะเหนียวติดอยู่เป็นหย่อมๆ ถูกขับออกมาไม่ได้เสียงที่ได้ยินจะเป็นเสียงต่ำ ดังกรอบแกรบ ได้ยินทั้งช่วงหายใจเข้าและหายใจออก แต่จะได้ยินชัดเจนขณะหายใจออกมากกว่าขณะหายใจเข้า เกิดขึ้นในหลอดลมขนาดใหญ่ Sibilant rhonchi หรือ Wheeze เกิดขึ้นในหลอดลมเล็กๆ มีการบีบรัดตัวของกล้ามเนื้อหลอดลม ทําให้ลมหายใจผ่านหลอดลมแคบๆ ที่มีความต้านทานสูงด้วยความลําบาก จึงทําให้เกิดเสียงสูงลักษณะเสียงที่ได้ยินดังวี้ดๆ หรือฮื้อๆอาจได้ยินโดยไม่ต้องใช้หูฟังได้ยินในขณะหายใจออกมากกว่าหายใจเข้า พบในผู้ที่มีอาการหอบหืด หลอดลมอักเสบ

3.3 Stridor

เสียงดังอื้ดๆ บางทีไม่ต้องใช้หูฟังก็ได้ยิน จริงๆ เด่นช่วงหายใจเข้าแต่ถ้ารุนแรงมากอาจมีทั้งช่วงหายใจเข้าและออกเป็นเสียงหายใจที่เกิดจากการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้เกิดเสียง stridor และจะมีอาการหายใจลำบาก โดยเฉพาะช่วงหายใจเข้า (force inspiration)

3.4 Friction rub or Plural rub

  • เป็นเสียงที่เกิดขึ้นเนื่องจากเยื่อหุ้มปอด เกิดการอักเสบ เวลาหายใจทําให้เกิดเสียงเสียดสีกันขึ้น ลักษณะเสียงคล้ายเสียงที่ใช้ฝ่ามือปิดหูข้างหนึ่งไว้แล้วใช้มืออีกข้างหนึ่งถูไปมาบนหลังมือของฝ่ามือข้างที่ปิดหูไว้จะได้ยินเสียงเสียดสีคล้ายเสียงของเยื่อหุ้มปอดเสียดสีกัน โดยทั่วไปจะได้ยินเสียงทั้งช่วงหายใจเข้าและหายใจออก แต่จะได้ยินชัดเจนในช่วงท้ายของการหายใจเข้าในคนปกติเยื่อหุ้มปอดเสียดสีกันไม่มีเสียง เพราะเยื่อหุ้มปอดเรียบและมีน้ำหล่อลื่นอยู่ เสียง Plural rub จะได้ยินชัดบริเวณทรวงอกด้านข้างใต้รักแร้

มาฝึกฟังปอดกันค่ะ

แหล่งที่มาของข้อมูล :

  • ดร.ฐิติอาภา ตั้งค้าวานิช การประเมินระบบทางเดินหายใจ โครงการตำราคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • รังสิมา ภูมิสวัสดิ์ การประเมินสุขภาพระบบหายใจทรวงอกและปอด คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • วิบูลย์ บุญสร้างสุข พ.บ.,หน่วยโรคระบบทางเดินหายใจและเวชบำบัดวิกฤต, ภาควิชาอายุรศาสตร์,คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุรางค์ เจียมจรรยา พ.บ. ,ศาสตราจารย์, ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี,มหาวิทยาลัยมหิดล
  • FB : เมื่อไหร่ จะจำได้
  • https://www.anatomynote.com/disease-anatomy/
  • Youtube: NCLEX Study Guide Channel

Related Articles

ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ

สวัสดีค่ะ พี่น้อง nurse soulciety ทุกท่าน หลังจากพี่เนิร์สเผยแพร่เนื้อหาภาวะหลอดเลือดดำอักเสบไปแล้วนั้น วันนี้เราจะมาทบทวนความรู้ของภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาทางหลอดเลือดดำส่วนปลายอีกอย่างหนึ่ง ที่สำคัญมากๆ คือ ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ ส่งผลทำให้เกิดการติดเชื้อที่ตำแหน่งการให้ยา และติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ทำให้ต้องรักษาในโรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่ารักษาพยาบาลมากขึ้น ดังนั้นพยาบาลควรมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกัน เฝ้าระวัง ประเมินการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของยาหรือสารน้ำ และจัดการเมื่อเกิดภาวะดังกล่าว ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ภาวะรั่วซึมของยาหรือสารน้ำออกนอกหลอดเลือดดำ…

การประเมินทางระบบประสาท (Neurological signs)

การประเมินทางระบบประสาทมีเครื่องมือหลายอย่าง วันนี้พี่เนิร์สนำความรู้เรื่องแบบประเมินกลาสโกว์โคมาสกอร์(Glasgow Coma Score : GCS) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่นิยมใช้ประเมินความรู้สึกตัวบาดเจ็บศีรษะ แบบประเมินกลาสโกว์โคมาสกอร์(Glasgow Coma Score : GCS) คือ แบบประเมินที่ใช้อธิบายระดับความรู้สึกตัวในผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะโดยประเมินการทางานของสมองส่วนต่างๆ (Henderson, 2016 ) การบันทึก แบ่งออกเป็น 3 ข้อ คือ การลืมตา (eye opening)…

การประเมินแผลกดทับ

แผลกดทับ คือ การบาดเจ็บเฉพาะที่ของผิวหนังหรือเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังโดยเฉพาะบริเวณปุ่มกระดูกหรือบริเวณที่มีอุปกรณ์ทางการแพทย์กดทับการเกิดแผลกดทับมักพบในผู้ป่วยที่มีการนอนอยู่บนเตียงเป็นเวลานาน นอนติดเตียง ไม่ค่อยพลิกตะแคงตัว หรือเป็นผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้หรือช่วยเหลือตัวเองได้น้อย มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวจนเกิดแผลกดทับที่ผิวหนังตามตำแหน่งต่างๆ โดยเฉพาะบริเวณปุ่มกระดูก เช่น กระดูกก้นกบ กระดูกเชิงกราน กระดูกสันหลัง ข้อศอกและส้นเท้า เป็นต้น ระดับของแผลกดทับตาม National Pressure Ulcer Advisory Panel (NPUAP), April 13, 2016 1.ระดับ1…

ทำความรู้จัก Burn Injury แผลไหม้

แผลไหม้ หมายถึง บาดแผลที่ผิวหนังถูกทำลายด้วยความร้อน สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากถูกเปลวไฟลวก ถูกของเหลวร้อนลวก กระแสไฟฟ้าแรงสูง หรือสารเคมี ส่งผลทำให้เนื้อเยื่อถูกทำลาย ตั้งแต่ชั้นหนังกำพร้า หนังแท้ หรืออาจลึกลงไปถึงกระดูกได้

ทะเลไทย เที่ยวหน้าไหนดี?

ใครกำลังอยากรู้ว่าจะเที่ยวทะเลไทย ควรไปช่วงเดือนไหนดีที่จะไม่เจอมรสุม วันนี้น้องอารีย์มีคำตอบมาให้ทุกคนแล้วว ทะเลไทยแบ่งออกเป็น 4 โซนใหญ่ๆ ตามนี้ 1. ฝั่งอันดามัน เช่น ภูเก็ต กระบี่ พังงา ตรัง หลีเป๊ะ 2. ทะเลฝั่งอ่าวไทยตอนบน เช่น ชะอำ เพชรบุรี หัวหิน ประจวยคีรีขันธ์ 3. ทะเลฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง เช่น…