สูตรตื่นนอนสดชื่น อยากตื่นตอนนี้ควรนอนตอนไหน

สูตรตื่นนอนสดชื่น อยากตื่นตอนนี้ควรนอนตอนไหน refreshing wakeup sleep

ปกติแล้วคนเราควรนอนประมาณ 7-9 ชั่วโมงต่อวัน ถึงจะทำให้ร่างกายตื่นมาสดชื่นที่สุด

แต่เคยมั้ยที่นอนครบ 8 ชั่วโมงก็แล้ว หรือ บางวันก็นอนเร็วแล้วนะ ไม่ได้นอนดึกเลย ทั้งๆ ที่เราก็นอนเต็มอิ่มแล้ว แต่ทำไมตื่นแล้วกลับรู้สึกง่วง รู้สึกเหนื่อย ไม่สดชื่น หรือบางทีก็ยังเพลียตลอดทั้งวัน !?

วันนี้เราไปทำความรู้จักกับ กฎการนอน 90 นาที ที่ว่ากันว่าการใช้วิธีนี้ จะช่วยทำให้เพื่อนๆ ตื่นมาแล้วไม่เพลีย แถมรู้ Timeline ได้ว่า ถ้าเรานอนเวลานี้ ควรจะตื่นเวลาไหน ให้ร่างกายสดชื่น ไม่ง่วงกันด้วย

วงจรการหลับของคนเรานั้นจะอยู่ที่ 90 นาที ต่อรอบโดยจะเริ่มจากช่วงหลับลึก (NREM) ซึ่งจะกินเวลาประมาณ 80 นาที
และจะตามมาด้วยช่วงหลับตื้น (REM) โดยช่วงหลับตื้นนั้นจะมีระยะเวลาประมาณ 10 นาที ซึ่งถ้าคุณตื่นมาในช่วงหลับตื้นจะทำให้คุณไม่มีอาการมึนหรือง่วง

ช่วงเวลาการนอน “หลับลึก” และ “หลับตื้น” คืออะไร?
อย่างที่บอกไปก่อนหน้านี้ ถ้าเราตื่นในช่วงหลับลึก จะทำให้รู้สึกเหนื่อย เพลีย ง่วงได้ง่าย แต่ถ้าตื่นขึ้นมาในช่วงหลับตื้น จะทำให้สดชื่น ตื่นตัว แต่เพื่อให้รู้จักทั้งสองช่วงเวลาของการนอนได้ดีขึ้น เรามาทำความรู้จักทั้งสองช่วงเวลาให้ดียิ่งขึ้นกันต่อดีกว่า

1. ช่วงเวลาการนอนหลับลึก (Non Rapid Eye Movement หรือ NON REM) คือ ช่วงเวลาการนอนหลับที่ไม่มีการกลอกตาอย่างรวดเร็ว จะเป็นช่วงการนอนในช่วงเริ่มต้นและสามารถแบ่งออกได้เป็นทั้งหมด 3 ระยะ

ระยะที่ 1 ช่วงเริ่มหลับ ระยะนี้ใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที จะเป็นช่วงที่เกิดขึ้นหลังจากที่เราหลับตา สมองจะเริ่มทำงานช้าลง ถ้าถูกปลุกให้ตื่นจะยังไม่ค่อยงัวเงียมากนัก หรือ บางทีอาจรู้สึกว่ายังไม่ได้นอน

ระยะที่ 2 ช่วงรอยต่อระหว่างเริ่มหลับกับหลับลึก ระยะนี้ใช้เวลาประมาณ 20 นาที จะเป็นช่วงระยะที่หัวใจเริ่มเต้นช้าลง แต่ยังสามารถรับรู้ความเคลื่นอไหวต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบนอกได้อยู่ การนอนหลับระยะนี้จะช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองในส่วนของการเก็บข้อมูลเข้าความทรงจำระยะสั้น เพิ่มสมาธิ ถ้าตื่นในช่วงเวลานี้ก็ยังจะไม่งัวเงียมากนัก

ระยะที่ 3 ช่วงหลับลึก เป็นระยะที่เราจะหลับลึกที่สุด ใช้เวลาประมาณ 20 นาที ในระยะนี้ จะมีการหลั่ง Growth Hormone ในเด็ก และมีความสำคัญคือ ช่วยฟื้นฟูเนื้อเยื่อของร่างกาย ซึ่งจะเป็นระยะที่เรามีการตอบสนองต่อสิ่งรอบข้างได้น้อย ทำให้ปลุกตื่นได้ยาก เวลาถูกปลุกจึงทำให้รู้สึกง่วง งัวเงีย ร่างกายอ่อนเพลียที่สุด

2. ช่วงเวลาการนอนหลับตื้น (Rapid Eye Movement หรือ REM) คือ ช่วงการนอนหลับที่มีการกลอกตาอย่างรวดเร็ว การนอนในช่วงเวลานี้ จะใช้เวลาประมาณ 10 นาที เป็นช่วงที่สมองเราจะทำงานใกล้เคียงกับตอนที่เราตื่นอยู่ ทำให้เวลาที่เราตื่นในช่วงหลับตื้นนี้ จะไม่รู้สึกงัวเงีย ง่วง เพลีย ซึ่งช่วงนี้ ถ้าเราฝัน ความฝันอาจจะพิสดาร เกินจริงได้ เช่น บางทีเราอาจจะฝันว่าตัวเองบินได้ อีกทั้งระยะนี้ ยังมีความสำคัญต่อเรื่องของความจำ การเรียนรู้ การส้รางจินตนาการต่างๆ อีกด้วย

ไปดูตารางการนอนกันดีกว่าค่ะ ว่าอยากตื่นเวลานี้ เราควรนอนเวลาไหนกัน ถึงจะเป็นไปตามกฎการนอน 90 นาที

สูตรตื่นนอนสดชื่น อยากตื่นตอนนี้ควรนอนตอนไหน refreshing wakeup sleep

หากเราเข้าใจกฎการนอน 90 นาทีนี้แล้ว จะทำให้เราสามารถกำหนดเวลานอนและเวลาตื่น ที่จะทำให้ตื่นขึ้นมาแล้วสดชื่นสบายใจ

อยากตื่นมาสวยเลย ควรนอนพักผ่อนให้เพียงพอ หากทำตามในตารางไม่ได้ ลองคำนวณจากช่วงเวลาในการนอนดู จริงๆ มีอยู่หลายระดับ หากอยากตื่นในเวลาไหน ต้องนอนเวลาอะไรถึงจะครบวงจรของการนอนที่พอดี ทำให้ตื่นแล้วไม่ง่วงเพลียเหมือนเวลาอื่นๆ ลองคำนวณดูได้ที่นี่ > sleepcalculator

ที่มา : https://www.blockdit.com/roowildchaywa

Related Articles

การประเมินทางระบบประสาท (Neurological signs)

การประเมินทางระบบประสาทมีเครื่องมือหลายอย่าง วันนี้พี่เนิร์สนำความรู้เรื่องแบบประเมินกลาสโกว์โคมาสกอร์(Glasgow Coma Score : GCS) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่นิยมใช้ประเมินความรู้สึกตัวบาดเจ็บศีรษะ แบบประเมินกลาสโกว์โคมาสกอร์(Glasgow Coma Score : GCS) คือ แบบประเมินที่ใช้อธิบายระดับความรู้สึกตัวในผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะโดยประเมินการทางานของสมองส่วนต่างๆ (Henderson, 2016 ) การบันทึก แบ่งออกเป็น 3 ข้อ คือ การลืมตา (eye opening)…

ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ

สวัสดีค่ะ พี่น้อง nurse soulciety ทุกท่าน หลังจากพี่เนิร์สเผยแพร่เนื้อหาภาวะหลอดเลือดดำอักเสบไปแล้วนั้น วันนี้เราจะมาทบทวนความรู้ของภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาทางหลอดเลือดดำส่วนปลายอีกอย่างหนึ่ง ที่สำคัญมากๆ คือ ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ ส่งผลทำให้เกิดการติดเชื้อที่ตำแหน่งการให้ยา และติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ทำให้ต้องรักษาในโรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่ารักษาพยาบาลมากขึ้น ดังนั้นพยาบาลควรมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกัน เฝ้าระวัง ประเมินการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของยาหรือสารน้ำ และจัดการเมื่อเกิดภาวะดังกล่าว ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ภาวะรั่วซึมของยาหรือสารน้ำออกนอกหลอดเลือดดำ…

สังเกตตัวเองก่อนจะสายไป คุณเป็นมนุษย์เป็นพิษ หรือเปล่า?

Are you a toxic people? พี่เนิร์สเชื่อว่า ทุกคนคงตั้งคำถามในใจ Toxic People คืออะไรหรอ? ABIGAIL BRENNER, M.D., จิตแพทย์ชาวอเมริกันบอกว่า คนที่มีพฤติกรรมบ่อนทำลายความรู้สึก สร้างความน่าอึดอัดทุกครั้งที่ต้องปฏิสัมพันธ์ด้วย ทำให้เรารู้สึกแย่ ไม่มีความสุข หรือเลวร้ายที่สุดก็ส่ งผลต่อสุขภาพจิตเราอย่างมาก อาจจะทำให้เรามองเห็นคุณค่าในตัวเองน้อยลงเลยก็ได้คนเหล่านี้เรียกว่า TOXIC PEOPLE บางทีเรามัวแต่ไปมองหาความ TOXIC…

ทะเลไทย เที่ยวหน้าไหนดี?

ใครกำลังอยากรู้ว่าจะเที่ยวทะเลไทย ควรไปช่วงเดือนไหนดีที่จะไม่เจอมรสุม วันนี้น้องอารีย์มีคำตอบมาให้ทุกคนแล้วว ทะเลไทยแบ่งออกเป็น 4 โซนใหญ่ๆ ตามนี้ 1. ฝั่งอันดามัน เช่น ภูเก็ต กระบี่ พังงา ตรัง หลีเป๊ะ 2. ทะเลฝั่งอ่าวไทยตอนบน เช่น ชะอำ เพชรบุรี หัวหิน ประจวยคีรีขันธ์ 3. ทะเลฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง เช่น…

กลุ่มอาการ PMS/PMDD ก่อนมีประจำเดือน

สาวๆ คุณเคยมีอาการดังต่อไปนี้หรือเปล่า? อารมณ์แปรปรวนก่อนมีประจำเดือน เศร้า หดหู่ เซ็ง หงุดหงิด น่าเบื่อไปหมดทุกอย่าง อาการเหวี่ยงวีนของสาวๆ ก่อนมีประจำเดือน บางทีสาวๆ อย่างเราก็ยังไม่เข้าใจตัวเองเลย วันนี้พี่เนิร์สจึงขอพาทุกคนมาเช็คอาการที่เรามักจะเป็นก่อนมีประจำเดือน ว่าเราจัดอยู่ในกลุ่มอาการแบบไหน ต้องรักษาไหม?ไปดูกันเลย 1. เราเป็น PMS, PMDD หรือเปล่า ? PMS (Premenstrual Syndrome) คือ…