สูตรบริหารเงินแบบ 50-30-20
วันเงินเดือนออกหลายๆคนก็คงมีแพลนว่าจะไปช็อปปิ้ง สายกินก็เข้าร้านอาหารสุดหรู สายรักสวยรักงามก็พุ่งตัวเข้าร้านเครื่องสำอางค์ สนุกสนานกับใช้จ่ายตาม Lifestyle ของแต่ละคน กลายเป็นว่ารอเงินเดือนมาทั้งเดือนเพื่อใช้เพียงหนึ่งอาทิตย์ พอกลางเดือนก็เริ่มสงสัยว่าเงินหายไปไหนหมด แล้วสิ้นเดือนจะทำยังไง ?
ความรู้สึกที่เหมือนเงินหาย ไม่พอใช้ ระบบการบริหารเงินรวนไปหมด เป็นสัญญาณว่าคุณกำลังมีปัญหาเรื่องการจัดการเงินที่ไม่เป็นระบบ
เพราะฉะนั้นเรามาเริ่มบริหารเงินให้พอใช้ถึงสิ้นเดือนกันดีกว่า แถมมีเก็บอีกต่างหาก ก่อนอื่น เราต้องมีระบบจัดการเงินที่ดีก่อน ด้วยการตั้งเป้าไว้เลยว่า ต้องออมให้ได้ 20% ของรายได้จะออมให้ได้ตามเป้าหมาย เราต้องใช้หลักการบริหารเงินแบบ 50-30-20
สมมุติว่า เรามีเงินเดือน 15,000 บาท เงินเดือนออกปุ๊บ ให้แบ่งเงินเป็น 3 ส่วน
ส่วนที่ 2 ความอยาก ความสุขส่วนตัว 30%
ค่าใช้จ่ายในการไปเที่ยว ค่าท่องเที่ยว,สังสรรค์,ช้อปปิ้ง หรือใช้ซื้อความชอบ
สร้างความสุขส่วนตัว เราก็จะเรียกเงินก้อนนี้ว่า ‘ก้อนกิเลส’
เงินส่วนนี้ ให้แบ่งส่วนไว้ 30% ของเงินเดือน 0.3 x 15,000 = 4,500 บาท
เงินก้อนนี้ เอาไว้ใช้จ่ายเพื่อความสุขเล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นกำลังใจให้ตัวเอง แต่ถ้าเดือนไหน เรามีค่าใช้จ่ายจำเป็นฉุกเฉินเพิ่มขึ้น ก็อาจลดส่วนของเงินก้อนนี้ได้ หรือถ้าเดือนไหนเงินส่วนนี้เหลือก็สามารถเอาไปสมทบกับก้อนของเงินออมก็ได้
ส่วนที่ 3 เงินออม 20%
เงินก้อนนี้เป็นเงินที่เราจ่ายให้ตัวเองก่อน 20% ของรายได้ เพื่อเป็นทุนที่เราจะใช้ทำตามความฝันตัวเอง เช่นอยากมีร้านหนังสือเล็กๆ, เปิดร้านกาแฟ หรือเอาไว้ลงทุนสร้างผลตอบแทนเพิ่มเติม เช่น การซื้อกองทุน หรือเอาไว้เป็นตัวช่วยยามไม่คาดฝัน เกิดอะไรที่ต้องใช้เงินฉุกเฉิน หรือเป็นเงินเก็บระยะยาวถึงตอนเกษียณ
สูตรนี้ให้กันไว้ที่ 20% ของรายได้ คือ 20/100 x 15,000 จะอยู่ที่ 3,000 บาทต่อเดือน
เงินเดือนออกปุ๊บ โอนเข้าบัญชีสานฝันของตัวเองทันทีเลย 3,000 บาท ออมก่อน รวยก่อน ส่วนที่เหลือค่อยเอาไว้ใช้จ่าย
เห็นไหมว่า แค่บริหารเงินง่าย ๆ ด้วยการการออมเงินให้ได้ 20% ของรายได้ ชีวิตของเราก็จะเป็นระบบมากขึ้น เรามีเงินใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน มีเงินไว้ตอบสนองความสุขส่วนตัวของเรา และมีเงินออมที่จะเก็บไว้ใช้ในอนาคตได้อีก
ใครจะรู้ว่าอนาคตเราจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง เพียงเรารู้จัก ฉลาดคิด ฉลาดใช้ ออมให้ได้ 20% อนาคตที่สดใสก็ไม่ไกลเกินเอื้อมแล้ว
แหล่งที่มา : ธนาคารกรุงศรี , https://www.krungsri.com/bank/th/krungsri-consumer/money-management.html