5 ข้อที่ควรปฏิบัติในวันมาฆบูชา

วันมาฆบูชา

วันมาฆบูชา เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของเราชาวพุทธ เป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2565 พี่เนิร์สจะมาบอกเคล็ด(ไม่) ลับ ที่เป็นการเสริมศิริมงคล รับสิ่งดีๆต่อตัวเองในวันมาฆบูชากันค่ะ

5 ข้อที่ควรปฏิบัติในวันมาฆบูชา หรือวันพระใหญ่มาฝากกันในฉบับง่ายๆ เรียกว่าทำแล้วได้บุญ แถมดีต่อตัวเองอีกด้วย

วันมาฆบูชา

1. การทำบุญตักบาตรในช่วงเช้า

เตรียมเครื่องอุปโภค บริโภค อาหาร สดแห้ง ครบหลักอนามัย หรือโภชนาการ ครบ 5 หมู่ จะทำให้เรามีจิตใจที่สดชื่น สบายใจ มีความเมตตา โอบอ้อมอารี ก็จะส่งผลให้ชีวิตเราดีขึ้น

2. การอยู่ในศีล 5 ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ สดชื่น แจ่มใส

ศีล 5 นับว่าเป็นหลักปฏิบัติที่สำคัญสำหรับผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ ไม่ว่าจะในบ้านเรา หรือแม้แต่ประเทศที่มีการนับถือศาสนาพุทธเป็นส่วนใหญ่ โดยที่ศีล 5 นั้นถือเป็นหลักปฏิบัติขั้นพื้นฐานที่สุด 5 ข้อ ประกอบไปด้วย

  • ข้อที่ 1 คือ ห้ามฆ่าสัตว์
  • ข้อที่ 2 คือ ห้ามลักทรัพย์
  • ข้อที่ 3 คือ ห้ามประพฤติผิดในกาม
  • ข้อที่ 4 คือ ห้ามพูดเท็จ
  • ข้อที่ 5 คือ ห้ามดื่มสุรา

3. การฟังเทศน์ฟังธรรม หรือนั่งสมาธิ

ในยุคโควิดนี้ เราสามารถทำได้ง่าย ๆ ได้ที่บ้าน ปลอดภัย ปลอดโรค ด้วยการฟังธรรมออนไลน์หรือจากสื่อโชเชียล สำหรับการฟังธรรมแล้วนั้น ทำให้เรามีสติในการใช้ชีวิตไม่ประมาท มีจิตใจที่จดจ่อกับสิ่งๆ นั้นที่เราทำอยู่ ทำให้เราไม่คาดหวังอะไรหลายๆ อย่าง ทำให้รู้จักการปล่อยวาง สามารถใช้ชีวิตได้ดี การนั่งสมาธิ การนั่งสมาธิเป็นการฝึกปฏิบัติตนให้มีจิตที่ผ่องใส ลดความคิดฟุ้งซ่าน และทำให้จดจ่ออยู่กับปัจจุบัน

4. การปล่อยสัตว์ เพื่อให้อิสระ

เป็นการช่วยให้สัตว์ต่างๆ ที่เราปล่อยหรือช่วยเหลือนั้น ได้มีอิสระ ในการใช้ชีวิต หรือหลุดพ้นบ่วงต่างๆ เพราะขณะเรายังไม่ชอบการโดนกัก หรือห้ามทำอะไรหลายๆ อย่างที่ไม่ใช่ตัวเรา เรายังรู้สึกไม่ดี การที่เราได้มอบอิสระให้เขามันเท่ากับว่าเรามีความเมตตา ได้ทำในสิ่งที่ถูกต้อง ได้ช่วยเหลือ ซึ่งถือว่าเป็นการทำบุญอีก 1 วิธีเช่นเดียวกัน

5. การเวียนเทียน

เชื่อว่าข้อนี้ ถือเป็นข้อปฏิบัติยอดฮิตที่หลายคนคงปฏิบัติมา โดยการเวียนเทียน จะเกิดขึ้นในช่วงของวันมาฆบูชา ในเวลา 2 ทุ่ม จะต้องเตรียมดอกไม้และธูปเทียน จะเวียนรอบพระอุโบสถจำนวน 3 รอบ ทางขวา ตามเข็มนาฬิกา บางวัดจะมีการเทศนาก่อนถึงจะเวียนเทียน หลังจากครบ 3 รอบแล้ว ก็จะเข้ามากราบพระในอุโบสถ เป็นอันเสร็จพิธี และปัจจุบันก็ยังมีกิจกรรมการจัดเวียนเทียนออนไลน์อีกด้วย

แหล่งข้อมูล : ไทยรัฐออนไลน์

Related Articles

วันออกพรรษา 2565

      วันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ปีนี้ตรงกับ วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เป็นสำคัญวันหนึ่งของพระภิกษุสงฆ์ คือ เป็นวันสิ้นสุดการจำพรรษา หรือออกจากพรรษาที่ได้อธิษฐานเข้าจำพรรษาตลอดระยะเวลา 3 เดือน ในวันออกพรรษาในพระไตรปิฎกกล่าวไว้ว่า เป็นวันที่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มายังโลกมนุษย์ หลังจากที่พระองค์ได้เสด็จไปจำพรรษา…

เตรียมของไหว้ตรุษจีนอย่างไรให้บรรพบุรุษถูกใจ

โดยทั่วไป ของไหว้ หลักๆ ในวันตรุษจีนมักจะประกอบไปด้วยผลไม้มงคล ขนมมงคล อาหารเจ อาหารมงคล ขนมจันอับ ธูป เทียน ข้าวสวย น้ำชา กระดาษเงิน กระดาษทอง พี่เนิร์สจะขออธิบายส่วนหลักๆ ที่ควรรู้ว่าต้องซื้ออะไรบ้าง ที่เป็นสิ่งมงคล ลูกหลานพึงใจและบรรพบุรูษถูกใจ มาดูกันเลย ผลไม้มงคล ตรุษจีน 5 หรือ 7 อย่าง…

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

NCDs ย่อมาจาก Non-Communicable Diseases หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หมายถึง โรคที่ไม่ติดต่อ หรือไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อโรค แต่เกิดจากการสะสมอาการอย่างต่อเนื่อง จากนิสัยหรือพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม

การประเมินทางระบบประสาท (Neurological signs)

การประเมินทางระบบประสาทมีเครื่องมือหลายอย่าง วันนี้พี่เนิร์สนำความรู้เรื่องแบบประเมินกลาสโกว์โคมาสกอร์(Glasgow Coma Score : GCS) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่นิยมใช้ประเมินความรู้สึกตัวบาดเจ็บศีรษะ แบบประเมินกลาสโกว์โคมาสกอร์(Glasgow Coma Score : GCS) คือ แบบประเมินที่ใช้อธิบายระดับความรู้สึกตัวในผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะโดยประเมินการทางานของสมองส่วนต่างๆ (Henderson, 2016 ) การบันทึก แบ่งออกเป็น 3 ข้อ คือ การลืมตา (eye opening)…

CPR การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (ผู้ใหญ่/เด็ก/ทารก)

การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน CPR คืออะไร? CPR ย่อมาจากคำว่า Cardiopulmonary resuscitation หมายถึง ปฏิบัติการช่วยชีวิตยามฉุกเฉินเพื่อให้ปอดและหัวใจฟื้นคืนชีพขึ้นมา ก่อนถึงมือแพทย์เพื่อให้การรักษาเฉพาะต่อไป การทำ CPR เป็นวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อช่วยคืนชีวิตให้กับผู้ป่วย โดยผสมผสานระหว่าง การผายปอด เพื่อช่วยเพิ่มอากาศเข้าไปในปอด การกดหน้าอกบนตำแหน่งหัวใจ เพื่อช่วยให้หัวใจปั๊มเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนส่งต่อออกซิเจนไปยังอวัยวะต่าง ๆ เมื่อไหร่ถึงจะทำ CPR?การทำ CPR มักจะใช้สำหรับช่วยเหลือผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉินที่หมดสติ…