วัณโรค รู้เร็วรักษาหายขาดได้

วัณโรค
  1. วัณโรค คืออะไร?
    วัณโรคเป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง มีชื่อเป็นทางการว่า Mycobacterium tuberculosis วัณโรคเกิดได้ในทุกอวัยวะของร่างกาย นอกจากจะติดเชื้อที่ปอดแล้ว ยังลุกลามไปยังอวัยวะอื่นได้ เช่น เยื่อหุ้มปอด ต่อมน้ำเหลือง กระดูกสันหลัง ข้อต่อ ช่องท้อง ระบบทางเดินปัสสาวะ ระบบสืบพันธุ์ ระบบประสาท เป็นต้น

วัณโรคปอดมักพบในผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอจากการเป็นโรคอื่น ๆ มาก่อน เช่น หวัด หัด ไอกรน เอดส์ รวมถึงผู้ที่ทำงานหนัก พักผ่อนไม่เพียงพอ ดื่มเหล้าจัด และผู้ที่ใกล้ชิดกับคนที่เป็นวัณโรค

  1. การแพร่กระจายวัณโรคปอด
    เชื้อวัณโรคติดต่อจากคนสู่คนผ่านการหายใจรับเชื้อโรคที่ปะปนอยู่ในอากาศ ขณะที่ผู้ป่วยไอ จาม บ้วนน้ำลาย หรือขากเสมหะ
  2. สัญญาณเตือนเป็น วัณโรค
  • ไอเรื้อรังเกิน 2 สัปดาห์
  • ไอเป็นเลือด
  • ไข้เรื้อรังต่ำ ๆ มักเป็นช่วงบ่ายหรือค่ำ
  • เหงื่อออกมากผิดปกติตอนกลางคืน
  • เจ็บหน้าอก หอบเหนื่อย
  • เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลง
  • อ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง
  1. กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อวัณโรค
  • ผู้อาศัยร่วมบ้านผู้ป่วยวัณโรค
  • ผู้ป่วยเบาหวาน
  • ผู้ติดเชื้อ HIV
  • ผู้สูงอายุ
  1. ภาวะแทรกซ้อนของวัณโรค
    ภาวะแทรกซ้อนที่มักพบได้ในผู้ป่วยวัณโรค ได้แก่ ไอเป็นเลือด ฝีในปอด ภาวะน้ำในช่องหุ้มปอด อาการปวดบริเวณหลัง ข้อต่อกระดูกอักเสบ หรืออาจรุนแรงถึงขั้นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ปัญหาเกี่ยวกับตับและไต และโรคหัวใจ จากการที่เชื้อวัณโรคกระจายไปที่อวัยวะอื่น ๆ
  2. การรักษาวัณโรค
    วัณโรครักษาให้หายขาดได้ ถ้าผู้ป่วยมีวินัยในการรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด

การรักษาผู้ป่วยวัณโรคระยะ 2 เดือนแรก แพทย์จะให้รับประทานยา 4 ชนิด ได้แก่

  1. ไอโซไนอะซิด (Isoniazid : H) : ยับยั้งการสร้างผนังเซลล์ของเชื้อ
  2. ไรแฟมพิซิน (Rifampicin : R) : ยับยั้งการสร้าง ดีเอ็นเอ (DNA) ของเชื้อ
  3. พัยราซินาไมด์ (Pyrazinamide : Z) : ยับยั้งการสร้างกรดไขมันและโปรตีนที่จำเป็นต่อเชื้อ
  4. อีแธมบูทอล (Ethambutol : E) : ยับยั้งการสร้างผนังเซลล์ของเชื้อ
    หากผู้ป่วยดื้อยาอาจจำเป็นต้องใช้ยาอื่นร่วมด้วยเพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
    เมื่อรักษาครบ 2 เดือน แพทย์จะตรวจเสมหะหรือเอกซเรย์ปอดซ้ำ หากมีการตอบสนองที่ดีแพทย์จะลดยาให้เหลือเพียง 2 ชนิด และยังต้องให้การรักษาต่อไปอีก 4 เดือน
  5. การปฏิบัติตัวเมื่อป่วยเป็นวัณโรค
  • กินยาตามชนิดและขนาดที่แพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอจนครบกำหนด และไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง
  • ผู้ป่วยควรแยกห้องนอนและหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้อื่นในช่วงแรกของการรักษา
  • สวมหน้ากาก ปิดปากและจมูกเวลาไอหรือจาม เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่น
  • งดดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำลายสุขภาพให้เสื่อมโทรม
  1. วิธีป้องกันตัวเองจากวัณโรค
  • หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรค
  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • สวมหน้ากากอนามัย เมื่อมีความเสี่ยงต่อการอยู่ใกล้ผู้ป่วยวัณโรค
  • ตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  • ฉีดวัคซีนบีซีจี ช่วยป้องกันการเกิดโรควัณโรค

แหล่งข้อมูล : กรมควบคุมโรค, โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์, โรงพยาบาลพญาไท, โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา, โรงพยาบาลกระบี่นครินทร์ อินเตอร์เนชั่นแนล, ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ, โรงพยาบาลศิริราช, pobpad

Related Articles

ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ

สวัสดีค่ะ พี่น้อง nurse soulciety ทุกท่าน หลังจากพี่เนิร์สเผยแพร่เนื้อหาภาวะหลอดเลือดดำอักเสบไปแล้วนั้น วันนี้เราจะมาทบทวนความรู้ของภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาทางหลอดเลือดดำส่วนปลายอีกอย่างหนึ่ง ที่สำคัญมากๆ คือ ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ ส่งผลทำให้เกิดการติดเชื้อที่ตำแหน่งการให้ยา และติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ทำให้ต้องรักษาในโรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่ารักษาพยาบาลมากขึ้น ดังนั้นพยาบาลควรมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกัน เฝ้าระวัง ประเมินการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของยาหรือสารน้ำ และจัดการเมื่อเกิดภาวะดังกล่าว ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ภาวะรั่วซึมของยาหรือสารน้ำออกนอกหลอดเลือดดำ…

Long Covid เจ็บ…แต่ไม่จบของคนเคยติดเชื้อ covid-19

Long Covid คืออะไร ? อ้างอิงจากนิยามองค์การอนามัยโลก ประกาศ ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2564 ระบุว่า เป็นอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นใหม่หรือต่อเนื่องภายหลังการติดเชื้อโควิด-19 หลังจากรักษาหายแล้ว แต่หลายคนยังรู้สึกเหมือนยังไม่หายดี ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นมีความหลากหลายและอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยอาจเป็นอาการที่เกิดขึ้นใหม่ หรือเป็นอาการที่หลงเหลืออยู่หลังรักษาหาย ส่วนมากตั้งแต่ 3 เดือน นับจากวันตรวจพบเชื้อ และมีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 2 เดือน…

การประเมินแผลกดทับ

แผลกดทับ คือ การบาดเจ็บเฉพาะที่ของผิวหนังหรือเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังโดยเฉพาะบริเวณปุ่มกระดูกหรือบริเวณที่มีอุปกรณ์ทางการแพทย์กดทับการเกิดแผลกดทับมักพบในผู้ป่วยที่มีการนอนอยู่บนเตียงเป็นเวลานาน นอนติดเตียง ไม่ค่อยพลิกตะแคงตัว หรือเป็นผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้หรือช่วยเหลือตัวเองได้น้อย มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวจนเกิดแผลกดทับที่ผิวหนังตามตำแหน่งต่างๆ โดยเฉพาะบริเวณปุ่มกระดูก เช่น กระดูกก้นกบ กระดูกเชิงกราน กระดูกสันหลัง ข้อศอกและส้นเท้า เป็นต้น ระดับของแผลกดทับตาม National Pressure Ulcer Advisory Panel (NPUAP), April 13, 2016 1.ระดับ1…

โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder)

โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder)  ถือเป็นโรคทางจิตเวชที่พบได้บ่อยมากขึ้นในปัจจุบัน มีความแตกต่างไปจากความวิตกกังวลทั่วไปซึ่งเป็นความรู้สึกที่สามารถพบได้ในชีวิตประจำวัน จากข้อมูลของกรมสุขภาพจิตพบคนไทยมากกว่าหนึ่งแสนคนป่วยด้วยโรควิตกกังวล ซึ่งโรควิตกกังวลนี้จะเป็นความกังวลที่มากกว่าปกติ ไม่ใช่เพียงแค่การคิดมากเกินไปจนส่งผลต่อการดำเนินชีวิต       ถ้าเราสังเกตเห็นถึงความวิตกกังวลมากจนเกินไปก็อาจสันนิษฐานได้ว่ามีแนวโน้มที่จะเป็นโรควิตกกังวล ซึ่งสาเหตุของโรคนี้เกิดจากความผิดปกติทางจิตใจ หรือความไม่สมดุลของสารสื่อประสาทในสมอง ซึ่งอาจเกิดจากพันธุกรรมก็ได้ รวมถึงอาจเกิดจากสภาพแวดล้อม การเลี้ยงดู หรือการเลียนแบบพฤติกรรมจากพ่อแม่ หรือคนใกล้ชิด การประสบกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่ก่อให้เกิดโรควิตกกังวลซึ่งมีหลายประเภท และนี่คือ 5 โรควิตกกังวลที่มักพบได้บ่อยในวัยทำงาน 1.โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder)…

ทำความรู้จัก Burn Injury แผลไหม้

แผลไหม้ หมายถึง บาดแผลที่ผิวหนังถูกทำลายด้วยความร้อน สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากถูกเปลวไฟลวก ถูกของเหลวร้อนลวก กระแสไฟฟ้าแรงสูง หรือสารเคมี ส่งผลทำให้เนื้อเยื่อถูกทำลาย ตั้งแต่ชั้นหนังกำพร้า หนังแท้ หรืออาจลึกลงไปถึงกระดูกได้

Responses