ปวดคอแบบไหน? เสี่ยงเป็นกระดูกคอทับเส้นประสาท

ปวดคอแบบไหน? เสี่ยงเป็นกระดูกคอทับเส้นประสาท

หมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท คืออะไร?
หมอนรองกระดูกคอ เป็นส่วนที่คั่นอยู่ระหว่างปล้องกระดูกคอ มีทั้งหมด 7 ชิ้นส่วน มีหน้าที่รับน้ำหนักและให้ความยืดหยุ่น ช่วยในเรื่องของการเคลื่อนไหวกระดูกคอ ทำให้มนุษย์สามารถก้มหรือเงยคอได้ เมื่อใช้ไปนาน ๆ หรือใช้ไม่ถูกต้อง ก็จะทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อมได้

โรคหมอนรองกระดูกเสื่อม ส่วนมากมักพบในคนที่อายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป และมักจะเป็นบริเวณกระดูกข้อที่ 5-6 และกระดูกข้อที่ 6-7 เมื่อมีการเสื่อมหรือแตกของหมอนรองกระดูก ก็จะมีโอกาสเกิดการกดทับที่ประสาทไขสันหลังและรากประสาทได้

ปวดคอแบบไหน? เสี่ยงเป็นกระดูกคอทับเส้นประสาท

สัญญาณเตือน

  • คอเกร็งจนหันไม่ได้ ไม่สามารถเคลื่อนไหวคอได้อย่างอิสระ
  • ปวดคอร้าวลงไปถึงไหล่หรือแขน
  • แขนอ่อนแรง เหน็บชาบริเวณปลายนิ้ว
  • ยกไหล่ไม่ขึ้น กระดกข้อมือไม่ขึ้น ขยับบังคับนิ้วมือไม่ได้

พฤติกรรมเสี่ยง

  • นั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ก้มหน้าเล่นโทรศัพท์ โดยไม่ยืดเส้นยืดสาย
  • การขับรถระยะทางไกลเป็นประจำ มือวางพวงมาลัยสูงหรือต่ำเกินไป
  • การเล่นกีฬาหักโหม การเคลื่อนไหวที่ผิดลักษณะ เล่นกีฬาบิดแรงจนหมอนรองกระดูกฉีก
  • การนอนหมอนที่ผิดสุขลักษณะ หมอนอยู่สูงหรือต่ำเกินไป
  • การสูบบุหรี่จัด เพราะสารนิโคตินมีส่วนทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงหมอนรองกระดูกน้อยลง ส่งผลกระทบให้กระดูกเสื่อมก่อนเวลาอันควร

วิธีการป้องกัน

  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการนั่งทำงาน ไม่ควรอยู่ท่าเดิมนาน ๆ ควรลุกขึ้นเปลี่ยนอิริยาบถทุก ๆ 1 ชั่วโมง และตั้งหน้าจอคอมพิวเตอร์อยู่ในระดับสายตา เพื่อหลีกเลี่ยงก้มหน้า
  • หยุดพักรถเพื่อลงมายืดเส้นยืดสาย และปรับพนักพิงให้อยู่ในท่าที่เหมาะสม
  • หมั่นทำกายบริหารคอด้วยการหมุนคอไปมา เพื่อลดความตึงตัวของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อบริเวณคอ
  • ควรหลีกเลี่ยงการแบกของหนักไว้บนหลังและไหล่ เพราะทำให้กระดูกสันหลังเสื่อม และส่งผลให้เกิดอาการปวดคอได้

ร่วมส่งกำลังใจให้พี่ตูน-บอดี้สแลม ที่ป่วยเป็นกระดูกคอกดทับเส้นประสาท พี่เนิร์สขอให้พี่ตูนหายป่วยในเร็ววันนะคะ

ที่มา : โรงพยาบาลพญาไท, โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชันแนล, โรงพยาบาลรามาธิบดี

Related Articles

Q&A ใบประกอบวิชาชีพพยาบาลสำคัญอย่างไร

วันนี้พี่เนิร์สจะมาบอกความสำคัญของใบอนุญาตประกอบวิชาชีพพยาบาลและการสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพพยาบาลให้ทุกคนได้ทราบกัน น้อง ๆ สามารถติดตามอ่านบทสนทนา Q&A ของน้องอารีใฝ่รู้…พี่เนิร์สไขข้อสงสัย ได้เลยค่ะ

Q&A น้องขวัญใจใฝ่รู้…พี่เนิร์สไขข้อสงสัย ตอน หน่วยคะแนนการศึกษาต่อเนื่อง (CNEU) คืออะไร

สวัสดีแฟนเพจ Nurse Soulciety ทุกคนค่า
หลายคนที่กำลังศึกษาพยาบาลอยู่ หรือใกล้จบ อาจจะเคยได้ยินชื่อย่อ CCNE และ CNEU แต่เอ๊ะ! มันคืออะไรกันนะ

RSV เชื้อไวรัสร้ายอาการคล้ายไข้หวัด

เชื้อไวรัส RSV เป็นโรคที่มักพบได้บ่อยในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว ซึ่งในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี อาจมีอาการรุนแรงได้มากกว่ากลุ่มอายุอื่น ๆ ดังนั้นผู้ปกครองจึงควรหมั่นสังเกตอาการผิดปกติของลูกไว้ให้ดี เพราะถ้าลูกน้อยติดเชื้อ RSV อาจนำไปสู่โรคปอดอักเสบได้

Responses