การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiography: EKG)

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นการตรวจที่ง่ายและมีประโยชน์ในการช่วยการวินิจฉัยหลายอย่าง วันนี้พี่เนิร์สนำวิธีการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ( EKG) มาทบทวนให้นะคะ

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นการตรวจเพื่อดูปฏิกิริยาทางไฟฟ้าของหัวใจที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลาด้วยการรับสัญญาณไฟฟ้าผ่านอิเล็กโทรดที่ผิวหนังบริเวณหน้าอก การตรวจนี้เป็นการตรวจแบบ non-invasive โดยต้องใช้อุปกรณ์ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจโดยเฉพาะ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นการตรวจกระแสไฟฟ้าที่กล้ามเนื้อหัวใจผลิตออกมาขณะที่หัวใจบีบตัว เป็นวิธีการตรวจหาโรคหัวใจที่ง่าย ได้ผลดี ไม่เจ็บ ใช้เวลาไม่ถึง 5 นาที

EKG สามารถสื่อถึงการนำไฟฟ้าภายในกล้ามเนื้อหัวใจของเรา, อัตราการเต้นของหัวใจ, จังหวะการเต้นของหัวใจเป็นไปอย่างสม่ำเสมอหรือไม่ โดยที่ในแต่ละส่วนของกราฟไฟฟ้าหัวใจจะช่วยบอกถึงความสัมพันธ์ในการทำงานของหัวใจห้องบนและห้องล่าง อีกทั้งยังสามารถช่วยในการวินิจฉัยโรคต่าง ๆ ได้อีกมากมาย อาทิเช่น

  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute Myocardial Infarction)
  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายหนาตัวผิดปกติจากสาเหตุต่าง ๆ  (Left Ventricular Hypertrophy)
  • โรคของกล้ามเนื้อหัวใจชนิดต่าง ๆ  (Cardiomyopathy)
  • โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (Pericarditis)
  • โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะทั้งแบบเต้นช้าผิดจังหวะ (Bradyarrhythmias) หรือแบบเต้นเร็วผิดจังหวะ (Tachyarrhythmias)
  • โรคของเกลือแร่ที่ผิดปกติบางชนิด เช่น ภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูงหรือต่ำ ภาวะแคลเซียมในเลือดสูงหรือต่ำ

การตรวจ EKG เป็นการตรวจที่ทำได้ง่ายและสะดวก ไม่เจ็บและแทบจะไม่มีความเสี่ยงหรืออันตรายจากการทำเลย นอกจากนี้ผู้ป่วยไม่ต้องมีการเตรียมตัวใด ๆ เป็นพิเศษ ไม่ต้องงดน้ำหรืออาหาร สามารถเข้ารับการตรวจได้ตลอดเวลา

ใครบ้างที่แนะนำให้ตรวจ EKG

  • ผู้มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เช่น ไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่ เบาหวาน
  • ผู้ที่มีอาการผิดปกติ เช่น ใจสั่น เจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย
  • ผู้ที่ตรวจพบความดันโลหิตสูง หรือมีอาการลิ้นหัวใจรั่ว

ครื่องมือที่ใช้

1. เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 1ชุด

2. อุปกรณ์ทำความสะอาดผิวหนังและเครื่องมือ 1ชุด

3. เจลหรือ สำลี 70%alcohol 1ชุด

4. Blade clipper ในกรณีจำเป็น

หลักการตรวจ

1. ระบบสายสื่อชนิด 1 ขั้ว

  • lead I บันทึกความต่างศักไฟฟ้าระหว่าง แขนขวา (-) กับแขนซ้าย (+)
  • lead II บันทึกความต่างศักไฟฟ้าระหว่าง แขนขวา (-) กับขาซ้าย (+)
  • lead III บันทึกความต่างศักไฟฟ้าระหว่าง แขนซ้าย (-) กับขาซ้าย (+)

2.ระบบสายสื่อชนิดขั้วเดียว เป็นการบันทึกการเปลี่ยนแปลงไฟฟ้าในแนว frontal plane electrod ขั้ว

หนึ่งจะถูกสร้างให้มีค่าศักดาไฟฟ้าเป็นศูนย์ electrod อีกขั้วจะบันทึกศักดาไฟฟ้าอย่างสมบูรณ์ ขั้วเดียว

  • lead aVR แขนขวา
  • lead aVL แขนซ้าย
  • lead aVF ขาซ้าย

3.ขั้วสายสื่อทรวงอก เป็นระบบขั้วสายสื่อขั้วเดียวบันทึกการเปลี่ยนแปลงไฟฟ้าใน horizontal planeใช้

Electrodeวางบนตำแหน่งต่างๆบนทรวงอก

ขั้นตอนการตรวจ

  1. เปิดเครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
  2. เตรียมผู้ป่วย ในกรณีที่ผู้ป่วยเพศชำยที่มีขนที่บริเวณหน้าอกให้ทาการโกนขนก่อนที่จะตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจซึ่งต้องได้รับการยินยอมจากผู้ป่วย ในกรณีผู้หญิงหากมีชุดชั้นในที่มีโครงเหล็ก แนะนำให้ถอดออกก่อน
  3. ทาเจลลงบนตาแหน่งที่จะติด Electrode Suction และ Electrode Limb Lead ดังนี้
  • V1 : ด้านขวาช่องซี่โครงที่ 4(Intercostal space 4) ชิดกระดูกสันอก (Sternum)
  • V2 : ด้านซ้ายช่องซี่โครงที่ 4 (Intercostal space 4) ชิดกระดูกสันอก (Sternum)
  • V3 : ตรงกลางระหว่าง V2 และ V4
  • V4 : ตรงตาแหน่ง Mild Clavicle Line ตัดกับIntercostal space ช่องที่ 5
  • V5 : ตรงตาแหน่ง Anterior Axillary Line ตัดกับเส้นในแนวระนาบที่ลากจาก V4
  • V6 : ตรงตาแหน่ง Mild Clavicle Line ตัดกับIntercostal space ช่องที่ 5
  • V3R อยู่กึ่งกลางระหว่างV1และV4R
  • V7 and V8 ติดด้านหลังตรงสะบักด้านซ้ายใช้ในกรณีที่ต้องการจะดู POSTERIOR WALL MI
  • RA :หนีบที่แขนขวาบริเวณข้อมือ
  • RL : หนีบที่แขนซ้ายบริเวณข้อมือ
  • LL : หนีบที่ขาซ้ายบริเวณตาตุ่มทั้งสองข้าง

4.สังเกตลักษณะของคลื่นไฟฟ้าหัวใจว่าเรียบร้อยดี จึงกดปุ่ม Print เพื่อบันทึก

5.รอจนกระทั่งเครื่อง Print เรียบร้อยแล้วจึงปลดสาย Electrode Suction และ Electrode Limb Lead

6.ทำความสะอาดเจลออกจากตัวผู้ป่วย เก็บสาย Lead ให้เรียบร้อย

7.ตรวจสอบข้อมูลที่บันทึกในใบ EKG อีกครั้งว่าถูกต้องครบถ้วนหรือไม่

8.ส่งผลให้แพทย์อ่านทันทีเมื่อทำเสร็จ

ข้อควรระวัง

1.ในขณะปฎิบัติควรระมัดระวังเรื่องการ EXPOSE ผู้ป่วย

2.ระมัดระวังขณะปลด electrode suction ควรทำด้วยความนุ่มนวลและไม่เกิดHematoma หลังจากการทำ

3.พยาบาลควรอ่านbasic EKGได้เบื้องต้นเพื่อเป็นการตรวจสอบว่า ติดLeadถูกต้องหรือไม่หรือผลการตรวจมีความผิดปกติมากน้อยเร่งด่วนเพียงไร

4.การตรวจ EKG ควรตรวจในขณะพัก (โรคบางโรคอาจตรวจขณะออกกาลังกายหรือมีอาการ)

5. การทำความสะอาดเจลบริเวณผิวหนังที่ติดอิเลคโทรด ใช้ผ้าสะอาดเช็ดให้สะอาด

เอกสารอ้างอิง :

จำนงค์ แถวจันทึก(2556).คู่มือกำรกำรตรวจคลื่นไฟฟ้ำหัวใจ(EKG).กรุงเทพ:สถานพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษรศาสตร์.

อรสา ไพรรุน.(2556).ความรู้พื้นฐานของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ.สืบค้นเมื่อ 19ส.ค.2563,

Related Articles

ทำความรู้จัก Burn Injury แผลไหม้

แผลไหม้ หมายถึง บาดแผลที่ผิวหนังถูกทำลายด้วยความร้อน สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากถูกเปลวไฟลวก ถูกของเหลวร้อนลวก กระแสไฟฟ้าแรงสูง หรือสารเคมี ส่งผลทำให้เนื้อเยื่อถูกทำลาย ตั้งแต่ชั้นหนังกำพร้า หนังแท้ หรืออาจลึกลงไปถึงกระดูกได้

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

NCDs ย่อมาจาก Non-Communicable Diseases หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หมายถึง โรคที่ไม่ติดต่อ หรือไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อโรค แต่เกิดจากการสะสมอาการอย่างต่อเนื่อง จากนิสัยหรือพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม