6 วิธีจัดการความเครียดจาก COVID-19 สำหรับพยาบาล

6 วิธีจัดการความเครียดจาก COVID-19 สำหรับพยาบาล

ท่ามกลางสถานการณ์ COVID-19 พี่น้องพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ทำงานกันอย่างหนัก ทุกคนล้วนรู้สึกเหน็ดเหนื่อย ทำให้เกิดภาวะความเครียดและวิตกกังวลขึ้นมา

วันนี้พี่เนิร์สเลยจะมาแนะนำ 6 วิธีเพื่อรับมือกับความเครียดในสถานการณ์ COVID-19 สำหรับพยาบาลกันค่ะ

1) ติดตามข่าวสารเท่าที่จำเป็นก็พอ
การเสพข่าวจากโลกโซเชียลมากเกินไป อาจสร้างความวิตกกังวลและบั่นทอนจิตใจเราได้ จึงควรเลือกรับข้อมูลจากแหล่งที่เชื่อถือได้ก็พอ เช่น เว็บไซต์ WHO หรือกรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข

2) พูดคุยกับเพื่อนและครอบครัว
บางครั้งต้องทำงานหนักอยู่แต่ที่โรงพยาบาล จนไม่สามารถกลับบ้านหรือออกไปข้างนอกได้ ทำให้คุณไม่ได้เจอกับคนในครอบครัวหรือเพื่อนฝูง แต่คุณสามารถเชื่อมต่อ พูดคุยปรึกษากันได้ โดยใช้เทคโนโลยีเชื่อมต่อถึงกัน เช่น VDO Call หรือโทรหากัน การได้พูดระบายกับคนที่ไว้ใจและคนที่คุณรัก จะช่วยผ่อนคลายความวิตกกังวลได้

3) ทานอาหารที่มีประโยชน์เสริมภูมิคุ้มกัน
การทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ผัก ผลไม้ ที่มีเบต้าแคโรทีนและวิตามินซี ได้แก่ ฟักทอง แครอท มะละกอ ส้ม มะนาว ฝรั่ง ก็จะช่วยเพิ่มภูมิต้านทานและเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงได้

4) หากิจกรรมผ่อนคลายความเครียด
ลองทำกิจกรรมที่คุณสนใจ เช่น ฝึกโยคะ นั่งสมาธิ ซึ่งเป็นการฝึกร่างกายและจิตใจให้สงบ หรือการดูหนังตลก ทำให้คุณหัวเราะ ร่างกายก็จะหลั่งสารเอ็นดอร์ฟินออกมา ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายและลดภาวะซึมเศร้าได้

5) บอกความต้องการ ขอความช่วยเหลือ
เนื่องจากทำงานที่โรงพยาบาลจนยุ่งไม่มีเวลาไปทำอย่างอื่น คุณอาจขอความช่วยเหลือหรือขอสิ่งที่ขาดแคลนจากเพื่อน ครอบครัว และบุคคลภายนอก เช่น ประกาศขอรับบริจาคหน้ากากและอุปกรณ์ป้องกันตัว PPE ขอให้ครอบครัวหรือเพื่อนสนิทช่วยส่งอาหารและเครื่องดื่มที่คุณชอบมาให้ หรือฝากคนใกล้ชิดช่วยเลี้ยงดูลูกของคุณระหว่างที่ปฏิบัติหน้าที่ที่โรงพยาบาล เป็นต้น

6) ตั้งสติและฝึกปรับทัศนคติ
ทุกครั้งที่มีความรู้สึกแย่ ๆ เกิดขึ้น ลองใช้เวลาสักวันละ 5 นาที เพื่อตั้งสติ ทบทวนความคิด หรือความรู้สึกของตัวเอง พยายามคิดบวก โดยอยู่บนพื้นฐานความจริง รวมทั้งคอยให้กำลังตนเองและเพื่อนพยาบาลด้วยกันว่าเราจะผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน

เข้าใจว่าหลายคนกำลังเผชิญกับความเครียดอยู่ พี่เนิร์สขอส่งกำลังใจให้เหล่านักรบเสื้อกราวน์สู้ศึก COVID-19 ไปด้วยกันนะคะ

Related Articles

รู้จักสี ผัก เสริมรัก (สุขภาพ)

ทุกคนรู้ว่าผักผลไม้เป็นอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร และสารพฤกษาเคมีต่างๆที่มีประโยชน์ต่อร่างกายกินทุกวันเป็นสิ่งดีต่อสุขภาพ แต่เพื่อให้ได้รับคุณประโยชน์สูงสุด

กินวิตามินหลังติดโควิด ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน

สวัสดีค่าวันนี้พี่เนิร์ส เอาเรื่องวิตามินที่จำเป็นหลังจากหายโควิดมาฝากค่า หลังจากติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ถึงแม้จะหายดี ไม่พบเชื้อไวรัสหลงเหลือในร่างกายแล้ว แต่หลายคนกลับมีสภาพร่างกายเปลี่ยนไป เหนื่อยง่ายขึ้น สมาธิ ไอเรื้อรัง หรืออาการอื่นๆ ที่เข้าข่ายภาวะลองโควิด (Long COVID) อาการเหล่านี้ สามารถรักษาได้ด้วยการกินวิตามินหลังติดโควิดเพื่อฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาแข็งแรงดังเดิม วิตามินหลังติดโควิด จากการวิจัยพบว่า หลังติดเชื้อโควิด-19  ผู้ป่วย 30-50% พบอาการลองโควิด โดยผู้ป่วยส่วนมากที่มีภาวะลองโควิดคือผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ผู้ป่วยที่เชื้อลงปอด หรือมีโรคประจำตัวเรื้อรัง โดยจะมีอาการดังเช่น…

ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ

สวัสดีค่ะ พี่น้อง nurse soulciety ทุกท่าน หลังจากพี่เนิร์สเผยแพร่เนื้อหาภาวะหลอดเลือดดำอักเสบไปแล้วนั้น วันนี้เราจะมาทบทวนความรู้ของภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาทางหลอดเลือดดำส่วนปลายอีกอย่างหนึ่ง ที่สำคัญมากๆ คือ ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ ส่งผลทำให้เกิดการติดเชื้อที่ตำแหน่งการให้ยา และติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ทำให้ต้องรักษาในโรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่ารักษาพยาบาลมากขึ้น ดังนั้นพยาบาลควรมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกัน เฝ้าระวัง ประเมินการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของยาหรือสารน้ำ และจัดการเมื่อเกิดภาวะดังกล่าว ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ภาวะรั่วซึมของยาหรือสารน้ำออกนอกหลอดเลือดดำ…

PPE อุปกรณ์พิทักษ์ป้องกัน COVID-19

ในสถานการณ์ไวรัส COVID-19 ที่ยังคงแพร่ระบาดอยู่ ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ยังต้องรักษาคนไข้อย่างต่อเนื่อง และมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้ออยู่ตลอดเวลา เมื่อต้องทำหน้าที่เสี่ยงในการดูแลผู้ป่วย พี่น้องพยาบาลก็จำเป็นต้องมีชุดป้องกันตัว เพื่อปฏิบัติภารกิจสู้กับ COVID-19 ให้สำเร็จนั้นก็คือ อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล หรือ Personal Protective Equipment (PPE) อุปกรณ์ป้องกัน PPE ใช้สำหรับปกคลุมร่างกายทุกส่วน เพื่อป้องกันการติดเชื้อผ่านผิวหนังและสารคัดหลั่งของผู้ป่วย รวมทั้งช่วยป้องกันการซึมของน้ำและการติดเชื้อทางอากาศ ข้อควรคำนึงในการใช้ อุปกรณ์ป้องกัน PPE ใช้เมื่อจำเป็น…

Long Covid เจ็บ…แต่ไม่จบของคนเคยติดเชื้อ covid-19

Long Covid คืออะไร ? อ้างอิงจากนิยามองค์การอนามัยโลก ประกาศ ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2564 ระบุว่า เป็นอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นใหม่หรือต่อเนื่องภายหลังการติดเชื้อโควิด-19 หลังจากรักษาหายแล้ว แต่หลายคนยังรู้สึกเหมือนยังไม่หายดี ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นมีความหลากหลายและอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยอาจเป็นอาการที่เกิดขึ้นใหม่ หรือเป็นอาการที่หลงเหลืออยู่หลังรักษาหาย ส่วนมากตั้งแต่ 3 เดือน นับจากวันตรวจพบเชื้อ และมีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 2 เดือน…

Responses