PPE อุปกรณ์พิทักษ์ป้องกัน COVID-19

PPE อุปกรณ์พิทักษ์ป้องกัน COVID-19

ในสถานการณ์ไวรัส COVID-19 ที่ยังคงแพร่ระบาดอยู่ ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ยังต้องรักษาคนไข้อย่างต่อเนื่อง และมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้ออยู่ตลอดเวลา

เมื่อต้องทำหน้าที่เสี่ยงในการดูแลผู้ป่วย พี่น้องพยาบาลก็จำเป็นต้องมีชุดป้องกันตัว เพื่อปฏิบัติภารกิจสู้กับ COVID-19 ให้สำเร็จนั้นก็คือ อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล หรือ Personal Protective Equipment (PPE)

อุปกรณ์ป้องกัน PPE ใช้สำหรับปกคลุมร่างกายทุกส่วน เพื่อป้องกันการติดเชื้อผ่านผิวหนังและสารคัดหลั่งของผู้ป่วย รวมทั้งช่วยป้องกันการซึมของน้ำและการติดเชื้อทางอากาศ

ข้อควรคำนึงในการใช้ อุปกรณ์ป้องกัน PPE

  • ใช้เมื่อจำเป็น
  • หากใช้น้อยเกินไป อาจเกิดการแพร่กระจายเชื้อ
  • หากใช้มากเกินไป จะสิ้นเปลือง เสียเวลา และไม่คล่องแคล่วขณะปฏิบัติงาน
  • เลือก PPE ให้เหมาะสมกับงาน กิจกรรมที่ปฏิบัติ หรือลักษณะของการสัมผัส
  • ขนาดต้องพอเหมาะกับผู้สวมใส่
  • อุปกรณ์บางชนิด สามารถใช้ซ้ำได้แต่ต้องมีการจัดการที่เหมาะสม
  • ระวังการปนเปื้อนในเวลาถอด
  • ควรทำความสะอาดมือในทุกขั้นตอนของการถอด PPE

ส่วนอุปกรณ์ป้องกัน PPE ประกอบด้วยอะไรบ้าง พี่เนิร์สหาคำตอบมาให้แล้ว ติดตามอ่านกันได้ที่รูปในโพสต์นี้เลยค่ะ

PPE อุปกรณ์พิทักษ์ป้องกัน COVID-19

Related Articles

Long Covid เจ็บ…แต่ไม่จบของคนเคยติดเชื้อ covid-19

Long Covid คืออะไร ? อ้างอิงจากนิยามองค์การอนามัยโลก ประกาศ ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2564 ระบุว่า เป็นอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นใหม่หรือต่อเนื่องภายหลังการติดเชื้อโควิด-19 หลังจากรักษาหายแล้ว แต่หลายคนยังรู้สึกเหมือนยังไม่หายดี ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นมีความหลากหลายและอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยอาจเป็นอาการที่เกิดขึ้นใหม่ หรือเป็นอาการที่หลงเหลืออยู่หลังรักษาหาย ส่วนมากตั้งแต่ 3 เดือน นับจากวันตรวจพบเชื้อ และมีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 2 เดือน…

เราติดเชื้อแล้วหรือยังนะ เช็กอาการเบื้องต้นก่อนไปตรวจ COVID-19

สถานการณ์ COVID-19 ที่กำลังระบาดหนักขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เมืองไทยมียอดผู้ติดเชื้อสะสมสูงขึ้นทุกวัน จนหลายคนกังวลว่า ตัวเองติด COVID-19 หรือยังนะ? พี่เนิร์สขอให้คุณใจเย็น ๆ อย่าเพิ่งตื่นตระหนกจนมากเกินไป เพราะอาการ COVID-19 มีความใกล้เคียงกับโรคไข้หวัดอย่างมาก ดังนั้น เราจึงควรรู้อาการเบื้องต้นของแต่ละโรคก่อนเดินทางไปตรวจดีกว่า เพราะหากเดินทางออกจากบ้านไปโรงพยาบาลโดยไม่จำเป็น อาจทำให้เสี่ยงติดเชื้อ COVID-19 ได้ ความแตกต่างของ “COVID-19” กับ “ไข้หวัดทั่วไป”…

ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ

สวัสดีค่ะ พี่น้อง nurse soulciety ทุกท่าน หลังจากพี่เนิร์สเผยแพร่เนื้อหาภาวะหลอดเลือดดำอักเสบไปแล้วนั้น วันนี้เราจะมาทบทวนความรู้ของภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาทางหลอดเลือดดำส่วนปลายอีกอย่างหนึ่ง ที่สำคัญมากๆ คือ ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ ส่งผลทำให้เกิดการติดเชื้อที่ตำแหน่งการให้ยา และติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ทำให้ต้องรักษาในโรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่ารักษาพยาบาลมากขึ้น ดังนั้นพยาบาลควรมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกัน เฝ้าระวัง ประเมินการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของยาหรือสารน้ำ และจัดการเมื่อเกิดภาวะดังกล่าว ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ภาวะรั่วซึมของยาหรือสารน้ำออกนอกหลอดเลือดดำ…

6 วิธีจัดการความเครียดจาก COVID-19 สำหรับพยาบาล

ท่ามกลางสถานการณ์ COVID-19 พี่น้องพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ทำงานกันอย่างหนัก ทุกคนล้วนรู้สึกเหน็ดเหนื่อย ทำให้เกิดภาวะความเครียดและวิตกกังวลขึ้นมา วันนี้พี่เนิร์สเลยจะมาแนะนำ 6 วิธีเพื่อรับมือกับความเครียดในสถานการณ์ COVID-19 สำหรับพยาบาลกันค่ะ 1) ติดตามข่าวสารเท่าที่จำเป็นก็พอการเสพข่าวจากโลกโซเชียลมากเกินไป อาจสร้างความวิตกกังวลและบั่นทอนจิตใจเราได้ จึงควรเลือกรับข้อมูลจากแหล่งที่เชื่อถือได้ก็พอ เช่น เว็บไซต์ WHO หรือกรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข 2) พูดคุยกับเพื่อนและครอบครัวบางครั้งต้องทำงานหนักอยู่แต่ที่โรงพยาบาล จนไม่สามารถกลับบ้านหรือออกไปข้างนอกได้ ทำให้คุณไม่ได้เจอกับคนในครอบครัวหรือเพื่อนฝูง แต่คุณสามารถเชื่อมต่อ พูดคุยปรึกษากันได้…

หลีกเลี่ยง 3C ปกติวิถีใหม่ ห่างไกล Covid-19

โควิดยังไม่จบ เราควรมีจิตสำนึกสาธารณะ ตระหนักถึงความเสี่ยงไปยังสถานที่ต่าง ๆ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสร้าย พี่เนิร์สมี หลีกเลี่ยง 3C มาฝากให้ทุกคนปฏิบัติร่วมกันค่ะ

Responses