โลหิตจางได้อย่างไร

โลหิตจางได้อย่างไร

เราอาจเคยได้ยินคำว่า เลือดจาง กันอยู่บ่อย ๆ แต่รู้หรือไม่ว่าโลหิตจางเกิดจากอะไร? และคุณมีภาวะเสี่ยงเป็นโรคโลหิตจางหรือไม่?

วันนี้พี่เนิร์สจะมาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับสาเหตุของภาวะโลหิตจาง พร้อมกับบอกวิธีการเช็กอาการด้วยตัวเองง่าย ๆ มาฝากทุกคนกันค่ะ

โลหิตจาง เป็นภาวะที่ร่างกายมีปริมาณเม็ดเลือดแดงในเลือดน้อยกว่าปกติ เนื่องจากการสูญเสียโลหิต การทำลายเม็ดเลือดแดงจำนวนมาก หรือการสร้างเม็ดเลือดแดงลดลง

โลหิตจางได้อย่างไร

โดยสาเหตุที่พบได้บ่อยในภาวะโลหิตจาง คือ ภาวะขาดธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของการสร้างเม็ดเลือดแดงของร่างกาย แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

1) ได้รับสารอาหารธาตุเหล็กไม่เพียงพอ

  • พบได้บ่อยในเด็กทารกที่รับประทานแต่นมเพียงอย่างเดียว เนื่องจากนมมีปริมาณธาตุเหล็กเพียงเล็กน้อย
  • ในผู้ใหญ่เกิดจากรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กน้อย แหล่งอาหารเพิ่มธาตุเหล็ก ได้แก่ อาหารจำพวกเนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ ไข่แดง และผักใบเขียว เป็นต้น

2) การดูดซึมธาตุเหล็กผิดปกติ อาจเกิดจากการมีกรดในกระเพาะอาหารลดลง ได้แก่

  • ผู้ที่รับประทานยาลดกรดในกระเพาะอาหารเป็นเวลานาน
  • ผู้ที่เคยได้รับการผ่าตัดเอากระเพาะอาหารออก
  • ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดเอาลำไส้เล็กส่วนต้นออก
  • ผู้ที่มีการอักเสบของลำไส้เล็กส่วนต้นเรื้อรัง

3) มีความต้องการธาตุเหล็กเพิ่มมากขึ้นในบางภาวะ
พบได้บ่อยในผู้ที่ตั้งครรภ์อยู่ หรือมีการให้นมบุตร ซึ่งจะมีความต้องการธาตุเหล็กมากกว่าคนทั่วไปถึงสามเท่า และกลุ่มเด็กเล็กที่กำลังเจริญเติบโตก็มีความต้องการธาตุเหล็กเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

4) ร่างกายสูญเสียธาตุเหล็กมากกว่าปกติ

  • การเสียเลือดเรื้อรัง สาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่ เลือดประจำเดือนออกมากและนานกว่าปกติในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์
  • การเสียเลือดเฉียบพลันจำนวนมาก เช่น ผ่าตัดใหญ่ คลอดบุตร แท้งบุตร การเกิดอุบัติเหตุ เป็นต้น
  • เลือดออกในทางเดินอาหารจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น แผลในกระเพาะอาหารเรื้อรัง เลือดออกในหลอดอาหาร ริดสีดวงทวารหนัก มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น
  • การเสียเลือดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น เม็ดเลือดแดงแตกและเสียเลือดในทางเดินปัสสาวะ การเสียเลือดจากระบบทางเดินหายใจ การบริจาคเลือดบ่อยครั้งกว่าที่กำหนดและไม่รับประทานยาเสริมธาตุเหล็กทดแทน เป็นต้น

Health Checklists : ภาวะโลหิตจางมีอาการอย่างไร?

  • ซีด อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
  • ปวดศีรษะ มึนงง วิงเวียนศีรษะ
  • เป็นลมง่าย หน้ามืดบ่อย
  • เจ็บหน้าอก ใจสั่น หายใจลำบาก
  • สมองล้า เซื่องซึม เฉื่อยชา
  • ความจำไม่ดี หลงลืมง่าย

ผู้มีภาวะโลหิตจางเล็กน้อยอาจไม่มีอันตรายใด ๆ แต่จะส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอ มีภูมิต้านทานต่ำ ขาดสมาธิในการทำงาน

แต่ถ้ามีภาวะโลหิตจางมาก จะทำให้หัวใจต้องทำงานหนักมากกว่าปกติ เพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายมากขึ้น ก็อาจรุนแรงถึงขั้นเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ช็อก และเสียชีวิตได้

Related Articles

ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ

สวัสดีค่ะ พี่น้อง nurse soulciety ทุกท่าน หลังจากพี่เนิร์สเผยแพร่เนื้อหาภาวะหลอดเลือดดำอักเสบไปแล้วนั้น วันนี้เราจะมาทบทวนความรู้ของภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาทางหลอดเลือดดำส่วนปลายอีกอย่างหนึ่ง ที่สำคัญมากๆ คือ ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ ส่งผลทำให้เกิดการติดเชื้อที่ตำแหน่งการให้ยา และติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ทำให้ต้องรักษาในโรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่ารักษาพยาบาลมากขึ้น ดังนั้นพยาบาลควรมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกัน เฝ้าระวัง ประเมินการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของยาหรือสารน้ำ และจัดการเมื่อเกิดภาวะดังกล่าว ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ภาวะรั่วซึมของยาหรือสารน้ำออกนอกหลอดเลือดดำ…

การประเมินทางระบบประสาท (Neurological signs)

การประเมินทางระบบประสาทมีเครื่องมือหลายอย่าง วันนี้พี่เนิร์สนำความรู้เรื่องแบบประเมินกลาสโกว์โคมาสกอร์(Glasgow Coma Score : GCS) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่นิยมใช้ประเมินความรู้สึกตัวบาดเจ็บศีรษะ แบบประเมินกลาสโกว์โคมาสกอร์(Glasgow Coma Score : GCS) คือ แบบประเมินที่ใช้อธิบายระดับความรู้สึกตัวในผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะโดยประเมินการทางานของสมองส่วนต่างๆ (Henderson, 2016 ) การบันทึก แบ่งออกเป็น 3 ข้อ คือ การลืมตา (eye opening)…

ทำความรู้จัก Burn Injury แผลไหม้

แผลไหม้ หมายถึง บาดแผลที่ผิวหนังถูกทำลายด้วยความร้อน สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากถูกเปลวไฟลวก ถูกของเหลวร้อนลวก กระแสไฟฟ้าแรงสูง หรือสารเคมี ส่งผลทำให้เนื้อเยื่อถูกทำลาย ตั้งแต่ชั้นหนังกำพร้า หนังแท้ หรืออาจลึกลงไปถึงกระดูกได้

กินวิตามินหลังติดโควิด ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน

สวัสดีค่าวันนี้พี่เนิร์ส เอาเรื่องวิตามินที่จำเป็นหลังจากหายโควิดมาฝากค่า หลังจากติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ถึงแม้จะหายดี ไม่พบเชื้อไวรัสหลงเหลือในร่างกายแล้ว แต่หลายคนกลับมีสภาพร่างกายเปลี่ยนไป เหนื่อยง่ายขึ้น สมาธิ ไอเรื้อรัง หรืออาการอื่นๆ ที่เข้าข่ายภาวะลองโควิด (Long COVID) อาการเหล่านี้ สามารถรักษาได้ด้วยการกินวิตามินหลังติดโควิดเพื่อฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาแข็งแรงดังเดิม วิตามินหลังติดโควิด จากการวิจัยพบว่า หลังติดเชื้อโควิด-19  ผู้ป่วย 30-50% พบอาการลองโควิด โดยผู้ป่วยส่วนมากที่มีภาวะลองโควิดคือผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ผู้ป่วยที่เชื้อลงปอด หรือมีโรคประจำตัวเรื้อรัง โดยจะมีอาการดังเช่น…

การประเมินแผลกดทับ

แผลกดทับ คือ การบาดเจ็บเฉพาะที่ของผิวหนังหรือเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังโดยเฉพาะบริเวณปุ่มกระดูกหรือบริเวณที่มีอุปกรณ์ทางการแพทย์กดทับการเกิดแผลกดทับมักพบในผู้ป่วยที่มีการนอนอยู่บนเตียงเป็นเวลานาน นอนติดเตียง ไม่ค่อยพลิกตะแคงตัว หรือเป็นผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้หรือช่วยเหลือตัวเองได้น้อย มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวจนเกิดแผลกดทับที่ผิวหนังตามตำแหน่งต่างๆ โดยเฉพาะบริเวณปุ่มกระดูก เช่น กระดูกก้นกบ กระดูกเชิงกราน กระดูกสันหลัง ข้อศอกและส้นเท้า เป็นต้น ระดับของแผลกดทับตาม National Pressure Ulcer Advisory Panel (NPUAP), April 13, 2016 1.ระดับ1…

Responses