คำย่อภาษาอังกฤษ ที่ใช้ในการบันทึกทั่ว ๆ ไป

คำย่อภาษาอังกฤษ ที่ใช้ในการบันทึกทั่ว ๆ ไป

พยาบาลศาสตร์ เป็นอีกหนึ่งคณะในฝันของน้อง ๆ หลายคน เพราะพยาบาลเป็นอาชีพที่มีเกียรติที่จะได้ดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ผู้ป่วยกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ

ถ้าน้อง ๆ อยากเรียนทางด้านการพยาบาล ก็จำเป็นต้องรู้คำศัพท์ย่อที่ใช้ในการบันทึกทั่ว ๆ ไปเอาไว้ด้วย เพื่อจะได้จดบันทึกการซักประวัติของผู้ป่วยและสามารถอ่านข้อมูลการรักษาของแพทย์ได้

ครั้งนี้พี่เนิร์สได้รวบรวมคำศัพท์ที่ใช้ในการบันทึกทั่ว ๆ ไปไว้ในรูปภาพใต้โพสต์นี้แล้ว พร้อมทั้งอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการซักประวัติผู้ป่วยให้ทุกคนได้ทราบกันค่ะ

การซักประวัติ เป็นการรวบรวมข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลการเจ็บป่วยของผู้ป่วย ประกอบด้วย

1) รายละเอียดทั่วไป (Introductory data) ได้แก่ ชื่อ เพศ อายุ เชื้อชาติ ศาสนา ที่อยู่ วันเดือนปีเกิด อาชีพ ระดับการศึกษา

2) อาการสำคัญ (Chief complaint) คือ ปัญหาหรืออาการที่ทำให้ผู้ป่วยต้องมาโรงพยาบาล

3) ประวัติปัจจุบัน (Present illness) ถามถึงอาการตั้งแต่เริ่มต้นเจ็บป่วยจนถึงปัจจุบัน

4) การเจ็บป่วยในอดีต (Past history) คือ ประวัติเจ็บป่วยในอดีตที่อาจเกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วยในปัจจุบัน นับรวมถึงประวัติการได้รับการผ่าตัดและโรคประจำตัวต่าง ๆ

5) การเจ็บป่วยในครอบครัว (Family history) คือ ประวัติเกี่ยวกับสุขภาพของครอบครัว โรคประจำตัวในครอบครัว โดยเฉพาะโรคที่อาจเกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วยในปัจจุบัน

6) ประวัติส่วนตัว (Personal history) คือ พฤติกรรมหรือข้อมูลส่วนตัวบางอย่าง ที่ช่วยให้ทราบถึงการดำรงชีวิตของผู้ป่วย และอาจมีผลต่อการเจ็บป่วยและการดูแลรักษาผู้ป่วย เช่น สถานที่เกิดหรือภูมิลำเนา การนอนพักผ่อน การออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น

7) การทบทวนอาการตามระบบ (Review of system) เป็นการทบทวนหรือหาข้อมูลเกี่ยวกับอาการตามระบบต่าง ๆ ที่อาจเกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วยครั้งนี้ เพื่อจัดรวบรวมอาการเกี่ยวกับความผิดปกติในแต่ละระบบให้เป็นระเบียบ จะได้นำไปใช้วินิจฉัยโรคได้ง่ายขึ้น

คำย่อภาษาอังกฤษ ที่ใช้ในการบันทึกทั่ว ๆ ไป

Related Articles

ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ

สวัสดีค่ะ พี่น้อง nurse soulciety ทุกท่าน หลังจากพี่เนิร์สเผยแพร่เนื้อหาภาวะหลอดเลือดดำอักเสบไปแล้วนั้น วันนี้เราจะมาทบทวนความรู้ของภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาทางหลอดเลือดดำส่วนปลายอีกอย่างหนึ่ง ที่สำคัญมากๆ คือ ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ ส่งผลทำให้เกิดการติดเชื้อที่ตำแหน่งการให้ยา และติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ทำให้ต้องรักษาในโรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่ารักษาพยาบาลมากขึ้น ดังนั้นพยาบาลควรมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกัน เฝ้าระวัง ประเมินการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของยาหรือสารน้ำ และจัดการเมื่อเกิดภาวะดังกล่าว ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ภาวะรั่วซึมของยาหรือสารน้ำออกนอกหลอดเลือดดำ…

12 ท่าแพลงก์ยอดฮิต ลดพุงวันละนิด 4 สัปดาห์เห็นผล

ท่าแพลงก์ เป็นหนึ่งในท่าการออกกำลังกายที่คนนิยมมากที่สุด เนื่องจากไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ใด ๆ และเป็นท่าที่เห็นผลอย่างมีประสิทธิภาพ หากทำบ่อยๆอย่างมีวินัย ก็สามารถฟิต แอนด์ เฟิร์มร่างกายได้ วันนี้พี่เนิร์สจะมาแนะนำ 12 ท่าแพลงก์ทำตามไม่ยากค่ะ 1. ท่าแพลงก์ปกติ (Basic Plank) วิธีฝึก 1. เริ่มต้นด้วยท่านอนคว่ำ เหยียดตัวตรง เกร็งคอ และศีรษะลอยจากพื้น 2. ตั้งศอกทั้ง 2…

การประเมินแผลกดทับ

แผลกดทับ คือ การบาดเจ็บเฉพาะที่ของผิวหนังหรือเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังโดยเฉพาะบริเวณปุ่มกระดูกหรือบริเวณที่มีอุปกรณ์ทางการแพทย์กดทับการเกิดแผลกดทับมักพบในผู้ป่วยที่มีการนอนอยู่บนเตียงเป็นเวลานาน นอนติดเตียง ไม่ค่อยพลิกตะแคงตัว หรือเป็นผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้หรือช่วยเหลือตัวเองได้น้อย มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวจนเกิดแผลกดทับที่ผิวหนังตามตำแหน่งต่างๆ โดยเฉพาะบริเวณปุ่มกระดูก เช่น กระดูกก้นกบ กระดูกเชิงกราน กระดูกสันหลัง ข้อศอกและส้นเท้า เป็นต้น ระดับของแผลกดทับตาม National Pressure Ulcer Advisory Panel (NPUAP), April 13, 2016 1.ระดับ1…

การประเมินทางระบบประสาท (Neurological signs)

การประเมินทางระบบประสาทมีเครื่องมือหลายอย่าง วันนี้พี่เนิร์สนำความรู้เรื่องแบบประเมินกลาสโกว์โคมาสกอร์(Glasgow Coma Score : GCS) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่นิยมใช้ประเมินความรู้สึกตัวบาดเจ็บศีรษะ แบบประเมินกลาสโกว์โคมาสกอร์(Glasgow Coma Score : GCS) คือ แบบประเมินที่ใช้อธิบายระดับความรู้สึกตัวในผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะโดยประเมินการทางานของสมองส่วนต่างๆ (Henderson, 2016 ) การบันทึก แบ่งออกเป็น 3 ข้อ คือ การลืมตา (eye opening)…

โรงพยาบาลเทพธารินทร์ (พระราม 4) เปิดรับสมัครพนักงาน

หัวหน้าแผนกผู้ป่วยนอกหัวใจ เพศหญิง อายุ 28 ปี ขึ้น จบวุฒิ ป.ตรี (พยาบาลศาสตร์) มีใบประกอบวิชาชีพ มีประสบการณ์ด้านการพยาบาล อย่างน้อย 5 ปี มีประสบการณ์บริหารงานผู้ป่วยนอกหัวใจอย่างน้อย 1 ปี หัวหน้าแผนกฉุกเฉิน เพศหญิง อายุ 28 ปี ขึ้นไป จบวุฒิ ป.ตรี…

Responses