ใส่หน้ากาก 2 ชั้น ป้องกันโควิดได้ดีกว่าเดิมจริงรึป่าว?

หน้ากาก 2 ชั้น

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกมาให้ข้อมูลระบุว่า การสวมแมสก์ไม่สนิทหรือมีช่องโหว่ ป้องกันได้เพียง 41.3% การสวมแมสก์ 1 ชั้นแต่แนบสนิท ป้องกันได้ 95% และ สวมแมสก์ 2 ชั้น (หน้ากากผ้าทับ med.Mask) ป้องกันได้ 95% เช่นกัน

ปัจจุบันมีข้อมูลชัดเจนว่าการใส่หน้ากากผ้าทับหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ มีประโยชน์สามารถลดการแพร่เชื้อและป้องกันการรับเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ดีกว่าใส่หน้ากากชั้นเดียว

เพราะเวลาเราใส่หน้ากากอนามัย เนื่องจากหน้ากากไม่ได้แนบชิดกับใบหน้า มีช่องว่างด้านข้างและด้านบน ทำให้เวลาหายใจเข้าและออก อากาศบางส่วนจะผ่านช่องทางนี้ แทนที่อากาศทั้งหมดจะผ่านการกรองของหน้ากากด้านหน้า การสวมหน้ากากผ้าทับบนหน้ากากอนามัย ช่วยทำให้หน้ากากอนามัยแนบชิดกับใบหน้ามากขึ้น ลดช่องว่างรอบหน้ากากอนามัยโดยไม่ทำให้ผู้สวมใส่อึดอัดหรือหายใจลำบาก

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อแห่งสหรัฐอเมริกา (Centers for Disease Control and Prevention : CDC) ได้แบ่งหน้ากากอนามัยที่ใช้ลดความเสี่ยงการติดเชื้อโควิด-19 ไว้ 3 แบบ ได้แก่ หน้ากากผ้า (Cloth Masks), หน้ากากใช้แล้วทิ้ง (Disposable Masks) และหน้ากากกรองอนุภาค N95 (KN95 Masks)

ใส่หน้ากาก 2 ชั้น
CDC รายงานผลการทดลองในห้องปฏิบัติการโดยใช้หุ่นจำลองเหตุการณ์เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564 ดังนี้
  1. คนติดเชื้อใส่หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเวลาไอได้ 56% ใส่หน้ากากผ้าป้องกันการแพร่เชื้อได้ 51% ถ้าใส่หน้ากากผ้าทับหน้ากากอนามัย ป้องกันการแพร่เชื้อได้ 85%
  2. คนอยู่ใกล้กับคนติดเชื้อ ที่ไม่ได้ใส่หน้ากาก ใส่หน้ากาก 2 ชั้น ลดการรับเชื้อได้ 83%
  3. ทั้งคนติดเชื้อและคนที่อยู่ใกล้ชิด ต่างใส่หน้ากาก 2 ชั้นสามารถลดการรับเชื้อได้ 96%

วันที่ 6 เมษายน 2564 CDC ได้อัปเดตวิธีสวมหน้ากากอนามัย 2 ชั้น เพื่อแนะนำให้ประชาชนใส่ป้องกันการแพร่เชื้อโควิด-19 ด้วยการใช้หน้ากากอนามัยแบบผ้า และหน้ากากทางการแพทย์ร่วมกัน

หน้ากากที่ CDC แนะนำให้ใช้สวมเพื่อป้องกันตัวเอง
  1. หน้ากากผ้าที่มีใยถักทอหนาแน่นหลายชั้น
  2. หน้ากากผ้าที่ใช้ฟิลเตอร์เป็นรูระบายอากาศ
  3. สวมหน้ากากผ้าทับหน้ากากทางการแพทย์ใช้แล้วทิ้ง
ข้อควรระวังของการใส่หน้ากาก 2 ชั้น
  1. ต้องมั่นใจว่ามีการระบายอากาศที่ดีพอ
  2. หมั่นสังเกตอาการของตนเอง เช่นหายใจไม่ออก ปวดศีรษะ วิงเวียน ง่วงซึม
  3. หากใส่หน้ากาก 2 ชั้น แล้วหายใจไม่ออก จนต้องเอามือจับหน้ากากตลอดเวลา ไม่แนะนำให้ใส่

นอกจากการใส่หน้ากาก 2 ชั้นแล้ว อย่าลืมเว้นระยะห่างและล้างมือบ่อยๆกันด้วยนะคะ

แหล่งข้อมูล : กรมสุขภาพจิต , กรมควบคุมโรค , FB หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ , เว็บไซต์ tnnthailand , เว็บไซต์ ไทยรัฐออนไลน์

Related Articles

ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ

สวัสดีค่ะ พี่น้อง nurse soulciety ทุกท่าน หลังจากพี่เนิร์สเผยแพร่เนื้อหาภาวะหลอดเลือดดำอักเสบไปแล้วนั้น วันนี้เราจะมาทบทวนความรู้ของภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาทางหลอดเลือดดำส่วนปลายอีกอย่างหนึ่ง ที่สำคัญมากๆ คือ ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ ส่งผลทำให้เกิดการติดเชื้อที่ตำแหน่งการให้ยา และติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ทำให้ต้องรักษาในโรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่ารักษาพยาบาลมากขึ้น ดังนั้นพยาบาลควรมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกัน เฝ้าระวัง ประเมินการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของยาหรือสารน้ำ และจัดการเมื่อเกิดภาวะดังกล่าว ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ภาวะรั่วซึมของยาหรือสารน้ำออกนอกหลอดเลือดดำ…

หน้ากากแบบไหน ป้องกันไวรัส COVID-19

หน้ากากมีหลายชนิดให้เลือกมากมาย หลายคงอาจมีคำถามว่าควรใช้หน้ากากแบบไหนดี? ถึงจะป้องกันไวรัสโควิด-19 ได้ วันนี้พี่เนิร์สจะมาคลายข้อสงสัยให้ทุกคนได้รับทราบกันค่ะ

6 ที่เที่ยวรับลมหนาว

ฤดูหนาวมาถึงเราอีกรอบ ! ทำให้ใครหลายๆ คน อยากออกเดินทางไปกอดสายหมอก โอบลมหนาวกันสักครั้ง วันนี้พี่เนิร์สเลยคัดสรรแหล่งท่องเที่ยวรับลมหนาว บรรยากาศดี วิวสวย รับรองว่าไปแล้วไม่ผิดหวัง ทะเลหมอกอัยเยอร์เวง จังหวัดยะลา ไฮไลท์สุดหวาดเสียวอย่าง สกายวอล์ค ทะเลหมอกอัยเยอร์เวง ที่ตั้งอยู่บนระดับความสูงกว่า 2,038 ฟุต ให้นักท่องเที่ยวสามารถชมวิวทิวทัศน์ได้รอบทิศทางแบบ 360 องศา และที่พื้นนั้นยังเป็นพื้นกระจกใส ยาว 61 เมตร…

เตรียมของไหว้ตรุษจีนอย่างไรให้บรรพบุรุษถูกใจ

โดยทั่วไป ของไหว้ หลักๆ ในวันตรุษจีนมักจะประกอบไปด้วยผลไม้มงคล ขนมมงคล อาหารเจ อาหารมงคล ขนมจันอับ ธูป เทียน ข้าวสวย น้ำชา กระดาษเงิน กระดาษทอง พี่เนิร์สจะขออธิบายส่วนหลักๆ ที่ควรรู้ว่าต้องซื้ออะไรบ้าง ที่เป็นสิ่งมงคล ลูกหลานพึงใจและบรรพบุรูษถูกใจ มาดูกันเลย ผลไม้มงคล ตรุษจีน 5 หรือ 7 อย่าง…

Long Covid เจ็บ…แต่ไม่จบของคนเคยติดเชื้อ covid-19

Long Covid คืออะไร ? อ้างอิงจากนิยามองค์การอนามัยโลก ประกาศ ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2564 ระบุว่า เป็นอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นใหม่หรือต่อเนื่องภายหลังการติดเชื้อโควิด-19 หลังจากรักษาหายแล้ว แต่หลายคนยังรู้สึกเหมือนยังไม่หายดี ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นมีความหลากหลายและอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยอาจเป็นอาการที่เกิดขึ้นใหม่ หรือเป็นอาการที่หลงเหลืออยู่หลังรักษาหาย ส่วนมากตั้งแต่ 3 เดือน นับจากวันตรวจพบเชื้อ และมีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 2 เดือน…