12 พฤษภาคม วันพยาบาลสากล

วันพยาบาลสากล

วันพยาบาลสากล (ภาษาอังกฤษ: International Nurses Day) สภาพยาบาลระหว่างประเทศ (International Council of Nurses, ICN) ซึ่งเป็นองค์กรวิชาชีพพยาบาล ได้กำหนดให้วันที่ 12 พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันพยาบาลสากล (International Nurses Day) โดยเริ่มครั้งแรกเมื่อปี 2514

ทั้งนี้เนื่องจากวันที่ 12 พฤษภาคม เป็นวันเกิดของมิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ผู้ก่อกำเนิดวิชาชีพการพยาบาล และเป็นผู้ที่มีอุดมการณ์ตั้งใจจะบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เพื่อมวลมนุษย์อย่างแท้จริง จนได้รับการยกย่องและเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก

คำขวัญประจำวันพยาบาลสากล พ.ศ. 2565 คือ Nurses: A Voice to Lead – Invest in nursing and respect rights to secure global health | พลังพยาบาลเพื่อความมั่นคงสุขภาพโลก

เนื่องในโอกาสพิเศษนี้ Nurse Soulciety ขอร่วมรำลึกคุณงามความดีของ มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ที่ทำประโยชน์อย่างมากมายให้แก่มวลมนุษย์ และขอเชิดชูเกียรติพยาบาลไทยทุกท่านที่ร่วมฝ่าฟันวิกฤติโรคระบาดโควิด-19 มาอย่างยาวนาน

ขอขอบคุณ คลิปวิดิโอจาก สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคตะวันออก

Related Articles

12 พฤษภา วันพยาบาลสากล

เพื่อสดุดีคุณงามความดีของ มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล บูรพาจารย์แห่งการพยาบาล ผู้ก่อกำเนิดวิชาชีพพยาบาล รวมทั้งเพื่อเป็นการยกย่องให้เกียรติและให้พยาบาลทั่วโลกยึดถือเอาเป็นแบบอย่าง ตลอดจนยังเป็นการเผยแพร่บทบาทของพยาบาลต่อสุขภาพของประชาชนให้ทราบเป็นประจำทุกปี คำขวัญประจำวันพยาบาลสากล พ.ศ. 2563 คือ Nurses: A Voice to Lead – Nursing the World to Health | พยาบาล :…

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiography: EKG)

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นการตรวจที่ง่ายและมีประโยชน์ในการช่วยการวินิจฉัยหลายอย่าง วันนี้พี่เนิร์สนำวิธีการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ( EKG) มาทบทวนให้นะคะ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นการตรวจเพื่อดูปฏิกิริยาทางไฟฟ้าของหัวใจที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลาด้วยการรับสัญญาณไฟฟ้าผ่านอิเล็กโทรดที่ผิวหนังบริเวณหน้าอก การตรวจนี้เป็นการตรวจแบบ non-invasive โดยต้องใช้อุปกรณ์ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจโดยเฉพาะ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นการตรวจกระแสไฟฟ้าที่กล้ามเนื้อหัวใจผลิตออกมาขณะที่หัวใจบีบตัว เป็นวิธีการตรวจหาโรคหัวใจที่ง่าย ได้ผลดี ไม่เจ็บ ใช้เวลาไม่ถึง 5 นาที EKG สามารถสื่อถึงการนำไฟฟ้าภายในกล้ามเนื้อหัวใจของเรา, อัตราการเต้นของหัวใจ, จังหวะการเต้นของหัวใจเป็นไปอย่างสม่ำเสมอหรือไม่ โดยที่ในแต่ละส่วนของกราฟไฟฟ้าหัวใจจะช่วยบอกถึงความสัมพันธ์ในการทำงานของหัวใจห้องบนและห้องล่าง อีกทั้งยังสามารถช่วยในการวินิจฉัยโรคต่าง ๆ ได้อีกมากมาย…

การประเมินทางระบบประสาท (Neurological signs)

การประเมินทางระบบประสาทมีเครื่องมือหลายอย่าง วันนี้พี่เนิร์สนำความรู้เรื่องแบบประเมินกลาสโกว์โคมาสกอร์(Glasgow Coma Score : GCS) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่นิยมใช้ประเมินความรู้สึกตัวบาดเจ็บศีรษะ แบบประเมินกลาสโกว์โคมาสกอร์(Glasgow Coma Score : GCS) คือ แบบประเมินที่ใช้อธิบายระดับความรู้สึกตัวในผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะโดยประเมินการทางานของสมองส่วนต่างๆ (Henderson, 2016 ) การบันทึก แบ่งออกเป็น 3 ข้อ คือ การลืมตา (eye opening)…

วันล้างมือโลก – Global Handwashing Day 15 ตุลาคม

เรื่องใกล้ตัวอย่าง “การล้างมือ” ก็ถือเป็นเรื่องสำคัญระดับโลก โดยที่สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ กำหนดให้มี “วันล้างมือโลก” – Global Hand Washing Day ขึ้น ซึ่งตรงกับวันที่ 15 ตุลาคมของทุกปี เพื่อสร้างวัฒนธรรมการล้างมือให้สะอาดถูกสุขอนามัยทั่วโลก โดยการล้างมือที่ถูกต้องนั้นต้องล้างด้วยน้ำสะอาดและสบู่ ถูตามขั้นตอนทั้งหมด 6 ขั้นตอนง่ายๆ โดยทุกขั้นตอนให้ทำ 5 ครั้ง สลับกันทั้ง 2…

ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ

สวัสดีค่ะ พี่น้อง nurse soulciety ทุกท่าน หลังจากพี่เนิร์สเผยแพร่เนื้อหาภาวะหลอดเลือดดำอักเสบไปแล้วนั้น วันนี้เราจะมาทบทวนความรู้ของภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาทางหลอดเลือดดำส่วนปลายอีกอย่างหนึ่ง ที่สำคัญมากๆ คือ ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ ส่งผลทำให้เกิดการติดเชื้อที่ตำแหน่งการให้ยา และติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ทำให้ต้องรักษาในโรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่ารักษาพยาบาลมากขึ้น ดังนั้นพยาบาลควรมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกัน เฝ้าระวัง ประเมินการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของยาหรือสารน้ำ และจัดการเมื่อเกิดภาวะดังกล่าว ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ภาวะรั่วซึมของยาหรือสารน้ำออกนอกหลอดเลือดดำ…