เช็กสุขภาพพุงกันเถอะ

มาเช็กสุขภาพพุงกันเถอะ! พุงของคุณเป็นแบบไหน?พุงลักษณะแบบนี้เกิดจากอะไร ?? พร้อม How
to..ลดพุงที่ทำตามได้ง่ายๆ
พุงเกิดจากการสะสมของไขมันที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
ซึ่งมีปัจจัยหลักมาจากการรับประทานในชีวิตประจำวัน การไม่ออกกำลังกาย นั่งเป็นเวลานานๆ
หรือแม่กระทั้งคุณแม่หลังคลอด ก็มักจะต้องเจอปัญหาเกี่ยวกับการมีพุง
พุงแต่ละแบบนั้นมีสาเหตุการเกิดที่แตกต่างกัน และวิธีในการลดพุงแต่ละแบบก็แตกต่างกันตามไปด้วย
มาสำรวจสุขภาพพุง “พุง” คุณเป็นไหน?

พุงแบบที่ 1 พุงกลม Alcohol Belly

ลักษณะ: พุงกลมๆ ยื่นออกมาอย่างเห็นได้ชัด เพราะมีไขมันสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก
สาเหตุเกิดจาก: คนที่มีพุงกลมๆ ส่วนใหญ่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นการดื่มเหล้า
ดื่มเบียร์ หรือเครื่องดื่มอื่นๆ ที่มีแอลกอฮอล์ แอลกอฮอล์จะส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร
ทำให้กระเพาะอาหารย่อยได้ยากขึ้น เมื่อรับประทานอาหารที่ไม่ย่อยเข้าไป จะทำให้เกิดเป็นพุงกลมๆ
ยื่นออกมาอย่างเห็นได้ชัด และเนื่องจากแอลกฮอล์มีปริมาณน้ำตาลและแคลอรี่สูง จึงทำให้เรามีพุงกลม
หรือเรียกว่า “อ้วนลงพุง” นั่นเอง
วิธีลดพุงกลม: ลดพุงกลมได้โดยการปรับพฤติกรรมของตนเอง งดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
หรือมีปริมาณน้ำตาลสูง ควรเน้นการรับประทานผัก ผลไม้ให้มากขึ้น เพื่อให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้น
ที่สำคัญควรหมั่นออกกำลังกาย เน้นท่าออกกำลังที่ช่วยในการลดหน้าท้อง

พุงแบบที่ 2 พุงเครียด Stressed Belly

ลักษณะ: พุงเครียดจะมีลักษณะพุงเป็นชั้นๆ หน้าท้องบวมอืด
และยื่นเป็นชั้นออกมาระหว่างสะดือและกระบังลม
สาเหตุเกิดจาก: พุงเครียดเกิดจากความเครียด และการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ
ทำให้ระบบเผาผลาญของร่างกาย ทำงานได้ไม่ปกติ และผลิตไขมันขึ้นที่บริเวณหน้าท้อง
นอกจากความเครียดแล้ว ยังเกิดจาก การรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา การรับประทานอาหารประเภท
Junk Food มากเกินไป รวมไปถึงการดื่มกาแฟ หรือเครื่องดื่มคาเฟอีนที่มากไปอีกด้วย
นอกจากสาเหตุเหล่านี้แล้ว พุงเครียดยังเป็นสัญญาณเตือนของโรคลำไส้แปรปรวน
จะทำให้มีอาการปวดท้อง แน่นท้อง และมีปัญหาเกี่ยวกับระบบขับถ่าย
วิธีลดพุงเครียด: พุงเครียดสามารถลดได้โดยการปรับพฤติกรรมของเจ้าของพุง พยายามลดความเครียด
หาวิธีจัดการกับความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ หากิจกรรมที่ช่วยในการผ่อนคลาย จำกัดการดื่มกาแฟ
โดยไม่ควรดื่มเกินวันละ 2 แก้ว รับประทานอาหารให้ตรงเวลา และรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ
เน้นการออกกำลังกายเบาๆ เช่น โยคะ พิลาทีส เพื่อช่วยลดความเครียด
พุงแบบที่ 3 พุงหมาน้อย Hormonal Belly

ลักษณะ: พุงหมาน้อยจะมีลักษณะพุงด้านล่างห้อย แต่พุงด้านบนเรียบปกติ
สาเหตุเกิดจาก: พุงหมาน้อยจะมีเกิดจากการที่ชอบรับประทานหวานมากเกินไป อาหารที่มีน้ำตาลสูง
อาหารประเภทข้าว ขนมปัง นอกจากนี้ยังเกิดได้กับคนที่ต้องนั่งทำงานอยู่กับที่เป็นเวลานานๆ
ไม่ค่อยได้ทำกิจกรรมอย่างอื่น รวมถึงการไม่ออกกำลังกาย หรือออกกำลังกายผิดท่า
ก็ทำให้เกิดพุงหมาน้อยได้เช่นกัน
วิธีลดพุงหมาน้อย: สำหรับคนที่มีพุงหมาน้อยแนะนำให้รับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง
เพื่อช่วยให้ระบบย่อยทำงานได้ดีขึ้น ลดการรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต
เน้นอาหารประเภท Low Fat และหมั่นออกกำลังกายให้มากขึ้น
พุงแบบที่ 4 พุงป่อง Bloated Belly

ลักษณะ: พุงป่องจะมีลักษณะคล้ายกันกับพุงกลม แต่พุงจะแบนตอนเช้า และป่องในช่วงตอนกลางวัน
สาเหตุเกิดจาก: พุงลักษณะนี้เกิดจากการรับประทานอาหารที่ย่อยยาก มีแก๊สในกระเพาะอาหารมาก
ทำให้ท้องอืด
วิธีการลดพุงป่อง: พุงแบบนี้จะไม่อันตรายเท่ากับพุงแบบอื่น
สามารถลดได้โดยการปรับเปลี่ยนวิธีการรับประทานอาหาร รับประทานอาหารที่มีกากใยให้มากขึ้น
ดื่มน้ำมากๆ เพื่อช่วยให้ระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายทำงานได้ดียิ่งขึ้น
หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารจำพวกแป้ง น้ำตาล และงดการรับประทานในช่วงมื้อดึก
พุงแบบที่ 5 พุงคนท้อง Mommy Belly

ลักษณะ: พุงคุณแม่หลังคลอด จะมีลักษณะหน้าท้องห้อย และพุงยื่นๆ
สาเหตุเกิดจาก: มดลูกยังไม่เข้าอู่
วิธีลดพุงคนท้อง: โดยปกติแล้วพุงที่มีลักษณะเป็นชั้นๆ แบบนี้ จะใช้เวลาประมาณ 6 สัปดาห์
กว่ามดลูกจะเข้าอู่ คุณแม่ควรรอให้ร่างกายกลับสู่สภาวะปกติก่อน
และไม่ควรหักโหมในการออกกำลังกายมากจนเกินไป


แหล่งอ้างอิง : ศิครินทร์ , https://bit.ly/3exfqfg

Related Articles

กลุ่มอาการ PMS/PMDD ก่อนมีประจำเดือน

สาวๆ คุณเคยมีอาการดังต่อไปนี้หรือเปล่า? อารมณ์แปรปรวนก่อนมีประจำเดือน เศร้า หดหู่ เซ็ง หงุดหงิด น่าเบื่อไปหมดทุกอย่าง อาการเหวี่ยงวีนของสาวๆ ก่อนมีประจำเดือน บางทีสาวๆ อย่างเราก็ยังไม่เข้าใจตัวเองเลย วันนี้พี่เนิร์สจึงขอพาทุกคนมาเช็คอาการที่เรามักจะเป็นก่อนมีประจำเดือน ว่าเราจัดอยู่ในกลุ่มอาการแบบไหน ต้องรักษาไหม?ไปดูกันเลย 1. เราเป็น PMS, PMDD หรือเปล่า ? PMS (Premenstrual Syndrome) คือ…

โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder)

โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder)  ถือเป็นโรคทางจิตเวชที่พบได้บ่อยมากขึ้นในปัจจุบัน มีความแตกต่างไปจากความวิตกกังวลทั่วไปซึ่งเป็นความรู้สึกที่สามารถพบได้ในชีวิตประจำวัน จากข้อมูลของกรมสุขภาพจิตพบคนไทยมากกว่าหนึ่งแสนคนป่วยด้วยโรควิตกกังวล ซึ่งโรควิตกกังวลนี้จะเป็นความกังวลที่มากกว่าปกติ ไม่ใช่เพียงแค่การคิดมากเกินไปจนส่งผลต่อการดำเนินชีวิต       ถ้าเราสังเกตเห็นถึงความวิตกกังวลมากจนเกินไปก็อาจสันนิษฐานได้ว่ามีแนวโน้มที่จะเป็นโรควิตกกังวล ซึ่งสาเหตุของโรคนี้เกิดจากความผิดปกติทางจิตใจ หรือความไม่สมดุลของสารสื่อประสาทในสมอง ซึ่งอาจเกิดจากพันธุกรรมก็ได้ รวมถึงอาจเกิดจากสภาพแวดล้อม การเลี้ยงดู หรือการเลียนแบบพฤติกรรมจากพ่อแม่ หรือคนใกล้ชิด การประสบกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่ก่อให้เกิดโรควิตกกังวลซึ่งมีหลายประเภท และนี่คือ 5 โรควิตกกังวลที่มักพบได้บ่อยในวัยทำงาน 1.โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder)…

ทะเลไทย เที่ยวหน้าไหนดี?

ใครกำลังอยากรู้ว่าจะเที่ยวทะเลไทย ควรไปช่วงเดือนไหนดีที่จะไม่เจอมรสุม วันนี้น้องอารีย์มีคำตอบมาให้ทุกคนแล้วว ทะเลไทยแบ่งออกเป็น 4 โซนใหญ่ๆ ตามนี้ 1. ฝั่งอันดามัน เช่น ภูเก็ต กระบี่ พังงา ตรัง หลีเป๊ะ 2. ทะเลฝั่งอ่าวไทยตอนบน เช่น ชะอำ เพชรบุรี หัวหิน ประจวยคีรีขันธ์ 3. ทะเลฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง เช่น…

ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ

สวัสดีค่ะ พี่น้อง nurse soulciety ทุกท่าน หลังจากพี่เนิร์สเผยแพร่เนื้อหาภาวะหลอดเลือดดำอักเสบไปแล้วนั้น วันนี้เราจะมาทบทวนความรู้ของภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาทางหลอดเลือดดำส่วนปลายอีกอย่างหนึ่ง ที่สำคัญมากๆ คือ ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ ส่งผลทำให้เกิดการติดเชื้อที่ตำแหน่งการให้ยา และติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ทำให้ต้องรักษาในโรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่ารักษาพยาบาลมากขึ้น ดังนั้นพยาบาลควรมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกัน เฝ้าระวัง ประเมินการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของยาหรือสารน้ำ และจัดการเมื่อเกิดภาวะดังกล่าว ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ภาวะรั่วซึมของยาหรือสารน้ำออกนอกหลอดเลือดดำ…

เบาหวานกับความเชื่อผิดๆ

โรคเบาหวาน คือโรคที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูง หากระดับน้ำตาลสูงเรื้อรังเป็นเวลานานจะมีผลแทรกซ้อนต่อหลอดเลือดหัวใจ ตา ไต สมอง และระบบประสาทส่วนปลาย โรคเบาหวานเกิดจากกรรมพันธุ์ ร่วมกับพฤติกรรมในการรับประทานอาหารที่มีแป้งและไขมันมาก หรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลปริมาณมาก รวมทั้งการไม่ออกกำลังกาย อย่างไรก็ตาม หลายๆ คนยังมีความเข้าใจหรือความเชื่อที่ไม่ถูกต้องในเรื่องของโรคเบาหวาน ทานของหวานมากเกินไป จะทำให้เป็นโรคเบาหวาน สำหรับคนที่มีความเสี่ยงอยู่แล้ว เช่นมีภาวะโรคอ้วน ความดันโลหิตสูง มีประวัติพ่อแม่ หรือญาติสายตรงเป็นโรคเบาหวาน จะถือว่ามีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานได้มากกว่าคนทั่วไป หากรับประทานของหวานมากเกินความต้องการของร่างกาย แต่ถึงแม้ว่าเราจะมีความเสี่ยงสูงแต่ถ้าควบคุมอาหารได้ดี หลีกเลี่ยงการรับประทานแป้งและน้ำตาลในปริมาณมาก…