Social Distancing ระยะห่างทางสังคม พิชิตภัยไวรัสโคโรนา

Social Distancing ระยะห่างทางสังคม พิชิตภัยไวรัสโคโรนา

Social Distancing คือการทำให้ผู้คนอยู่ห่างจากกันและกัน หลีกเลี่ยงการเดินทางและการพบปะกันโดยไม่จำเป็น ซึ่งเป็นมาตรการหนึ่งที่จะช่วยชะลอการแพร่ระบาดในปัจจุบัน

เนื่องจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ “โควิด-19” นี้ สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ผ่านทางการไอ จาม สัมผัส น้ำมูก น้ำลาย และเชื้อมีระยะฟักตัวอยู่ประมาณ 14 วัน

เพื่อลดการติดต่อของโรคสู่กัน จึงควรเว้นระยะห่างออกจากกันสักพัก โดยเราสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

  • ทิ้งระยะห่างจากคนอื่นอย่างน้อย 2 เมตร เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสสวมใสหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันฝอยละอองน้ำลายขณะพูด
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรง ไม่กอด จูบ หรือจับมือคนอื่น เพราะอาจเป็นการนำเชื้อมาสู่ตัวเอง หรือในขณะเดียวกันก็เป็นการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น
  • งดสังสรรค์ หลีกเลี่ยงการรวมตัวของคนหมู่มาก และไม่ไปสถานที่ที่มีคนพลุกพล่าน
  • Work From Home ให้พนักงานเปลี่ยนมาทำงานที่บ้านแทน โดยพูดคุยผ่านทาง VDO Conference
  • สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ควรระงับการสอนในห้องเรียนชั่วคราวไปก่อน และให้นักเรียนหันมาเรียนระบบออนไลน์แทน
  • ลดการรับประทานอาหารร่วมกัน ใช้ภาชนะและทานอาหารส่วนตัวเท่านั้น และเปลี่ยนจากการไปนั่งทานที่ร้านอาหารมาเป็นซื้อใส่กล่องกลับมาทาน
  • หลีกเลี่ยงการเดินทางออกนอกบ้าน และหันมาช้อปปิ้งสินค้าบนออนไลน์ดีกว่า

หากหลีกเลี่ยง Social Distance ไม่ได้จริง ๆ และจำต้องเข้าไปอยู่ในกลุ่มคนจำนวนมาก ควรป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อ ด้วยการสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ และอย่าลืมใช้ Alcohol Gel ทุกครั้งที่สัมผัสสิ่งของที่ไม่ใช่ของส่วนตัว

Related Articles

ห่างกันสักพัก แต่รักเหมือนเดิม

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ยังคงมีการติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง แถมไม่นานมานี้ยังมีไวรัสโควิดสายพันธ์ใหม่อย่างโอไมครอนเข้ามาอีก ยังคงทำให้มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของทุกคน พี่เนิร์สเชื่อว่าหลายคนคงอยากกลับไปสู่สภาวะปกติได้พบปะสังสรรค์ได้อยู่ใกล้คนที่เรารักเหมือนเดิม แต่ตอนนี้สิ่งที่พวกเราทุกคนต้องช่วยกันคือ เว้นระยะห่างกันสักพัก (Social Distancing) เพื่อลดการแพร่เชื้อ คิดเสียว่าเป็นการทำเพื่อตัวเองและคนที่เรารัก รวมทั้งคนอื่นอีกมากมายรอบๆตัว ถึงแม้สถานการณ์เริ่มดีขึ้นแต่ขอให้ทุกท่านการ์ดไม่ตกนะคะ Social Distancing หรือ การเว้นระยะห่างทางสังคม คือ การสร้างระยะห่างระหว่างตัวเราเองกับคนอื่นๆ ในสังคม ลดการทำกิจกรรมนอกบ้าน หลีกเลี่ยงการใช้ขนส่งสาธารณะ การไม่รวมกลุ่ม ทำกิจกรรมใดๆร่วมกับผู้อื่น…

ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ

สวัสดีค่ะ พี่น้อง nurse soulciety ทุกท่าน หลังจากพี่เนิร์สเผยแพร่เนื้อหาภาวะหลอดเลือดดำอักเสบไปแล้วนั้น วันนี้เราจะมาทบทวนความรู้ของภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาทางหลอดเลือดดำส่วนปลายอีกอย่างหนึ่ง ที่สำคัญมากๆ คือ ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ ส่งผลทำให้เกิดการติดเชื้อที่ตำแหน่งการให้ยา และติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ทำให้ต้องรักษาในโรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่ารักษาพยาบาลมากขึ้น ดังนั้นพยาบาลควรมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกัน เฝ้าระวัง ประเมินการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของยาหรือสารน้ำ และจัดการเมื่อเกิดภาวะดังกล่าว ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ภาวะรั่วซึมของยาหรือสารน้ำออกนอกหลอดเลือดดำ…

โรคฝีดาษลิง หรือ Monkeypox

โรคฝีดาษลิง ฝีดาษวานร หรือ Monkeypox เกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในสัตว์ฟันแทะบนทวีปแอฟริกา โดยเชื้อไวรัสนี้แพร่เชื้อไปยังสัตว์อื่น และสามารถแพร่จากสัตว์ไปสู่คนได้ ซึ่งการรายงานที่พบโรคนี้ครั้งแรกเกิดจากลิงในห้องทดลอง จึงเรียกว่าฝีดาษลิง หรือฝีดาษวานรนั่นเอง การติดต่อของโรคฝีดาษลิง การติดเชื้อจากสัตว์สู่คน เกิดจากการสัมผัสโดยตรงจากเลือด สารคัดหลั่งหรือตุ่มหนองของสัตว์ ถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัดหรือข่วน รวมถึงการประกอบอาหารจากเนื้อสัตว์ป่าที่ติดเชื้อและปรุงสุกไม่เพียงพอ การแพร่เชื้อจากคนสู่คน สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้โดย-การสัมผัสโดยตรงกับรอยโรค ตุ่มหนอง หรือสารน้ำในตุ่มหนองที่แตกออกมา-ติดต่อผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งของทางเดินหายใจ เช่น การไอ จาม-การกอดจูบ การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อ-การสัมผัสสิ่งของ เช่น…

ดูแลเด็กอย่างไรให้ปลอดภัยจาก COVID-19

ยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้พ่อแม่รู้สึกกังวลต่อสุขภาพของเด็ก พี่เนิร์สเลยจะมาบอกวิธีการดูแลเด็กในช่วงโควิด-19 ให้ทุกคนทราบกันค่ะ

DO’S DON’TS ข้อปฏิบัติระหว่างกักตัวเอง 14 วัน

พี่เนิร์สมีข้อปฏิบัติระหว่างกักตัวเอง 14 วัน มาฝากกันค่ะ ช่วงสถานการณ์ COVID-19 ที่กำลังระบาดหนักในประเทศไทย สำหรับใครที่เดินทางกลับมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยงโรค COVID-19 หรือมีประวัติสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ ควร-ไม่ควรทำอะไรบ้าง? Do’s ใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาแม้อยู่ในที่พัก พร้อมทั้งคอยเช็กอาการและวัดไข้ทุกวัน ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่อย่างน้อยครั้งละ 20 วินาที หรือใช้เจลแอลกอฮอล์ ความเข้มข้นอย่างน้อย 70% อยู่เสมอ ควรอาศัยอยู่ในห้องเฉพาะ และอยู่ห่างจากคนอื่นในบ้าน หากมีอาการผิดปกติ เช่น…

Responses