7 เมษายน ของทุกปี “องค์การสหประชาชาติ” ได้กำหนดให้เป็น วันอนามัยโลก (World Health Day)
7 เมษายน ของทุกปี “องค์การสหประชาชาติ” ได้กำหนดให้เป็น วันอนามัยโลก (World Health Day) วันนี้พี่เนิร์สเอาประวัติของ “วันอนามัยโลก” มาฝากเพื่อนๆ พี่น้องกันค่ะ
องค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) เป็นองค์กรของสหประชาชาติที่เกิดขึ้นหลังจากประชากรของโลกได้ถูกภัยคุมคามจากโรคระบาดต่าง ๆ ทำให้เกิดปัญหาที่ต้องพิจารณากันในระหว่างประชาชาติต่าง ๆ เพราะมีโรคระบาดแพร่จากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่งอยู่เสมอ ทำให้ต้องมีการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศได้ร่วมมือกัน ทำให้ในปี พ.ศ. 2349 ได้มีการจัดการประชุมเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยระหว่างประเทศเป็นครั้งแรกที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เพื่อวางมาตรการควบคุมและกักกันโรคระบาดระหว่างประเทศ
ต่อมา ในปี พ.ศ. 2489 คณะมนตรีด้านสังคมและเศรษฐกิจแห่งสหประชาชาติได้จัดให้มีการประชุมว่าด้วยสุขภาพระหว่างประเทศที่รัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยในที่ประชุมเล็งเห็นว่าสุขภาพของประชาชนเป็นรากฐานของสันติภาพและความมั่นคงปลอดภัยของประชาชาติ จึงได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อเตรียมการสถาปนาองค์การอนามัยโลก โดยจัดการร่างธรรมนูญขององค์การอนามัยโลกแล้วเสร็จ ประกาศใช้ธรรมนูญเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2491 พร้อมกันนี้ สมัชชาองค์การอนามัยโลก ได้พิจารณาให้เฉลิมฉลองวันที่ 7 เมษายน ของทุกปีเป็น “วันอนามัยโลก (World Health Day)” และมีมติให้มีการฉลองพร้อมกันทั่วโลกตั้งแต่ พ.ศ. 2492 โดยองค์การอนามัยโลกได้กำหนดข้อปัญหาทางอนามัยขึ้นปีละ 1 เรื่อง สำหรับตั้งเป็นคำขวัญ เพื่อให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทั่วโลกใช้เป็นแนวทางในการให้สุขศึกษาแก่ประชาชน
องค์การนามัยโลกแบ่งงานออกเป็นกี่ประเภท
องค์การอนามัยโลกแบ่งงานแยกออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. พยายามอำนวยความช่วยเหลือให้แก่ประเทศต่าง ๆ ตามความต้องการเมื่อได้ร้องขอ
2. จัดให้บริการด้านสุขภาพอนามัยแก่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก
3. ส่งเสริมและประสานงานด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศ เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพต่าง ๆ อันไม่อาจดำเนินไปได้โดยลำพังแต่ละประเทศ
วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งองค์การอนามัยโลกคืออะไร
1. เพื่อช่วยเหลือประชาชนทั่วโลกให้มีสุขภาพอนามัยอยู่ในระดับสูงสุดทั้งในร่างกายและจิตใจ
2. เพื่อส่งเสริมการอนามัยระหว่างประเทศ และร่วมมือกับรัฐบาลประเทศสมาชิกในการดำเนินงานตามโครงการอนามัยต่าง ๆ รวมทั้งกำหนดมาตรฐานยาและวัคซีน
3. เพื่อให้บริการทางวิชาการในด้านอนามัยระหว่างประเทศ และส่งเสริมการวิจัยทางการแพทย์
แนวทางในการส่งเสริมอนามัยโลกมีอะไรบ้าง
ให้บริการด้านสุขภาพอนามัยแก่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ส่งเสริมและประสานงานด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศ เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพต่างๆ รวมถึงการส่งเสริมแนวทางการจัดกิจกรรมวันอนามัยโลก
กิจกรรมในวันอนามัยโลก มีอะไรบ้าง
1. จัดนิทรรศการให้คนหันมาใส่ใจสุขภาพ
2. จัดการเต้นแอโรบิกเพื่อสุขภาพ
ขอบคุณข้อมูลจาก : องค์การอนามัยโลก [WHO] และ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)