อ้วนเพราะนอนให้น้ำเกลือที่โรงพยาบาล จริงหรอ

อ้วนเพราะนอนให้น้ำเกลือที่โรงพยาบาล จริงหรอ

จริงหรือไม่? อ้วนเพราะนอนให้น้ำเกลือที่โรงพยาบาล หลายคนคงสงสัยกับประเด็นนี้มานาน

อ้วนเพราะนอนให้น้ำเกลือที่โรงพยาบาล จริงหรอ

พี่เนิร์สจะมาไขข้อสงสัยให้ทุกคนได้ทราบกันค่ะ

น้ำเกลือคืออะไร?
น้ำเกลือคือของเหลวที่ประกอบด้วยน้ำผสมกับสารละลายชนิดต่างๆ เช่น โซเดียมคลอไรด์ เด็กซ์โตรส หรือสารอื่นๆ โดยความเข้มข้นของสารละลายและน้ำจะถูกเลือกและปรับให้เหมาะสมต่อแผนการรักษาของผู้ป่วยนั้น ๆ เพื่อความปลอดภัยของตัวผู้ป่วย

น้ำเกลือเป็นสารอาหารทดแทนน้ำและเกลือแร่ให้แก่ร่างกายผ่านทางเส้นเลือด ในยามที่ผู้ป่วยอาจทานอาหารได้น้อยลง หรือกลืนอาหารทางปากไม่ได้

ให้น้ำเกลือแก่ผู้ป่วยในกรณีใดบ้าง?

  • ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะร่างกายขาดน้ำ
  • ผู้ป่วยที่สูญเสียเกลือแร่จากอาการป่วย เช่น เป็นไข้ อาเจียน ท้องร่วง
  • ผู้ป่วยที่อดอาหารและน้ำเป็นเวลานาน หรือทานอาหารและน้ำเองไม่ได้
  • ผู้ป่วยที่งดอาหารและน้ำ เพื่อเตรียมผ่าตัด ตรวจพิเศษต่าง ๆ
  • ผู้ป่วยที่ได้รับยาทางหลอดเลือดดำ
  • ผู้ป่วยที่เสียเลือดมากจากอุบัติเหตุ จนเกิดภาวะช็อกหรือหมดสติ

การให้น้ำเกลือ ทำให้อ้วนจริงหรือ?
แท้ที่จริงแล้วเป็นแค่อาการบวมน้ำชั่วคราวหลังได้รับน้ำเกลือเท่านั้น ร่างกายจะขับน้ำเกลือส่วนที่เกินจากความต้องการออก แล้วอาการบวมก็จะหายไป และร่างกายจะกลับเข้าสู่สภาพปกติ จึงไม่มีผลทำให้อ้วนแต่อย่างใด

Related Articles

ทะเลไทย เที่ยวหน้าไหนดี?

ใครกำลังอยากรู้ว่าจะเที่ยวทะเลไทย ควรไปช่วงเดือนไหนดีที่จะไม่เจอมรสุม วันนี้น้องอารีย์มีคำตอบมาให้ทุกคนแล้วว ทะเลไทยแบ่งออกเป็น 4 โซนใหญ่ๆ ตามนี้ 1. ฝั่งอันดามัน เช่น ภูเก็ต กระบี่ พังงา ตรัง หลีเป๊ะ 2. ทะเลฝั่งอ่าวไทยตอนบน เช่น ชะอำ เพชรบุรี หัวหิน ประจวยคีรีขันธ์ 3. ทะเลฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง เช่น…

ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ

สวัสดีค่ะ พี่น้อง nurse soulciety ทุกท่าน หลังจากพี่เนิร์สเผยแพร่เนื้อหาภาวะหลอดเลือดดำอักเสบไปแล้วนั้น วันนี้เราจะมาทบทวนความรู้ของภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาทางหลอดเลือดดำส่วนปลายอีกอย่างหนึ่ง ที่สำคัญมากๆ คือ ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ ส่งผลทำให้เกิดการติดเชื้อที่ตำแหน่งการให้ยา และติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ทำให้ต้องรักษาในโรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่ารักษาพยาบาลมากขึ้น ดังนั้นพยาบาลควรมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกัน เฝ้าระวัง ประเมินการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของยาหรือสารน้ำ และจัดการเมื่อเกิดภาวะดังกล่าว ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ภาวะรั่วซึมของยาหรือสารน้ำออกนอกหลอดเลือดดำ…

กลุ่มอาการ PMS/PMDD ก่อนมีประจำเดือน

สาวๆ คุณเคยมีอาการดังต่อไปนี้หรือเปล่า? อารมณ์แปรปรวนก่อนมีประจำเดือน เศร้า หดหู่ เซ็ง หงุดหงิด น่าเบื่อไปหมดทุกอย่าง อาการเหวี่ยงวีนของสาวๆ ก่อนมีประจำเดือน บางทีสาวๆ อย่างเราก็ยังไม่เข้าใจตัวเองเลย วันนี้พี่เนิร์สจึงขอพาทุกคนมาเช็คอาการที่เรามักจะเป็นก่อนมีประจำเดือน ว่าเราจัดอยู่ในกลุ่มอาการแบบไหน ต้องรักษาไหม?ไปดูกันเลย 1. เราเป็น PMS, PMDD หรือเปล่า ? PMS (Premenstrual Syndrome) คือ…

การประเมินแผลกดทับ

แผลกดทับ คือ การบาดเจ็บเฉพาะที่ของผิวหนังหรือเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังโดยเฉพาะบริเวณปุ่มกระดูกหรือบริเวณที่มีอุปกรณ์ทางการแพทย์กดทับการเกิดแผลกดทับมักพบในผู้ป่วยที่มีการนอนอยู่บนเตียงเป็นเวลานาน นอนติดเตียง ไม่ค่อยพลิกตะแคงตัว หรือเป็นผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้หรือช่วยเหลือตัวเองได้น้อย มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวจนเกิดแผลกดทับที่ผิวหนังตามตำแหน่งต่างๆ โดยเฉพาะบริเวณปุ่มกระดูก เช่น กระดูกก้นกบ กระดูกเชิงกราน กระดูกสันหลัง ข้อศอกและส้นเท้า เป็นต้น ระดับของแผลกดทับตาม National Pressure Ulcer Advisory Panel (NPUAP), April 13, 2016 1.ระดับ1…

กินวิตามินหลังติดโควิด ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน

สวัสดีค่าวันนี้พี่เนิร์ส เอาเรื่องวิตามินที่จำเป็นหลังจากหายโควิดมาฝากค่า หลังจากติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ถึงแม้จะหายดี ไม่พบเชื้อไวรัสหลงเหลือในร่างกายแล้ว แต่หลายคนกลับมีสภาพร่างกายเปลี่ยนไป เหนื่อยง่ายขึ้น สมาธิ ไอเรื้อรัง หรืออาการอื่นๆ ที่เข้าข่ายภาวะลองโควิด (Long COVID) อาการเหล่านี้ สามารถรักษาได้ด้วยการกินวิตามินหลังติดโควิดเพื่อฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาแข็งแรงดังเดิม วิตามินหลังติดโควิด จากการวิจัยพบว่า หลังติดเชื้อโควิด-19  ผู้ป่วย 30-50% พบอาการลองโควิด โดยผู้ป่วยส่วนมากที่มีภาวะลองโควิดคือผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ผู้ป่วยที่เชื้อลงปอด หรือมีโรคประจำตัวเรื้อรัง โดยจะมีอาการดังเช่น…

Responses