วัคซีน สำหรับเด็กแรกเกิด ถึงอายุ 15 ปี

วัคซีน อายุ 0-15 ปี

การสร้างเกราะป้องกันโรคต่าง ๆ ให้ลูกด้วยการฉีดวัคซีนเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะกับเด็กแรกเกิดไปจนถึงเด็กอายุ 15 ปี เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันการเจ็บป่วยต่าง ๆ ได้

วัคซีนทุกช่วงอายุ ภาค 1 ตั้งแต่เด็กแรกเกิด – 15 ปี จะมีอะไรบ้างนั้น พี่เนิร์สจะมาบอกให้คุณพ่อคุณแม่ได้ทราบกันค่ะ

วัคซีนสำหรับป้องกันโรค สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท

วัคซีนพื้นฐาน (จำเป็น) เด็กทุกคนต้องได้รับวัคซีนตามโปรแกรมที่กำหนด หากเป็นโรงพยาบาลรัฐบาลจะไม่มีค่าใช้จ่าย ดังนี้
1) วัคซีนป้องกันวัณโรค (BCG)
2) วัคซีนตับอักเสบ B (HBV)
3) วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี-ฮิบ (DTP-HB-Hib)
4) วัคซีนโปลิโอแบบหยอด (OPV) และ วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดฉีด (IPV)
5) วัคซีนหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม (MMR)
6) วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี (LAJE)
7) วัคซีนโรต้า (Rota)
8) วัคซีนเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (IPD)
9) วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกจากเชื้อเอชพีวี (HPV)

วัคซีนเสริม (ทางเลือก) วัคซีนกลุ่มนี้ไม่จำเป็นต้องฉีด แต่ถ้าฉีดจะช่วยป้องกันการเกิดโรคได้ แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเอง ดังนี้
1) วัคซีนนิวโมคอคคัส (PCV)
2) วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี (Inactive JE)
3) วัคซีนตับอักเสบ A (HAV)
4) วัคซีนอีสุกอีใส (VZV)
5) วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ (Influenza)
6) วัคซีนป้องกันหูดหงอนไก่ในผู้ชายและมะเร็งทวารหนัก (HPV)
7) วัคซีนป้องกันไข้เลือดออก (DEN)
8) วัคซีนบาดทะยัก-คอตีบ-ไอกรน/บาดทะยัก-คอตีบ (Tdap/Td) เข็มรวม

ดังนั้น การพาลูกไปฉีดวัคซีนเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรละเลย เพื่อให้ลูกมีสุขภาพที่แข็งแรง แต่รู้หรือเปล่า? วัคซีนไม่ได้มีเฉพาะในเด็กเท่านั้น ผู้ใหญ่ก็ควรได้รับวัคซีนด้วยเช่นกัน

วัคซีน อายุ 0-15 ปี

มาติดตามวัคซีนทุกช่วงวัย ภาค 2 กันต่อได้ ในโพสต์ต่อไปค่ะ

Related Articles

วัคซีน สำหรับผู้ที่อายุ 15 ปีขึ้นไป

หลายคนคงเคยได้รับวัคซีนในวัยเด็ก และคิดว่าผู้ใหญ่คงไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนก็ได้ เพราะเชื่อว่าเคยได้รับวัคซีนครบตั้งแต่เล็กแล้ว ร่างกายย่อมมีภูมิคุ้มกันโรคที่แข็งแรงแน่นอน แท้จริงแล้ว!! วัคซีนหลายชนิดที่เคยฉีดนั้นไม่สามารถป้องกันโรคได้ตลอดชีวิต หรือบางรายอาจจะฉีดวัคซีนไม่ครบในช่วงวัยเด็ก รวมทั้งเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบันก้าวหน้าขึ้น ทำให้มีวัคซีนชนิดใหม่เกิดขึ้นมากมาย วัคซีนสำหรับป้องกันโรคในช่วงอายุ 15 ปี – วัยสูงอายุ จะมีอะไรบ้างนั้น พี่เนิร์สจะมาอธิบายต่อจากวัคซีนทุกช่วงวัย ภาคที่ 1 ให้ทุกคนได้ทราบกันค่ะ วัคซีนที่ให้วัยรุ่น อายุ 15-19 ปี1) วัคซีน HPV…

การฉีดยาเข้าสู่ร่างกาย ต้องรู้อะไรบ้าง?

การฉีดยา ยาที่ให้โดยการฉีดจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดเร็วกว่าการให้ยาโดยวิธีอื่น การให้ยาโดยการฉีด สามารถแบ่งออกได้ 4 วิธี ดังนี้ 1. การฉีดยาเข้าชั้นผิวหนัง (ID : Intradermal injection) วัตถุประสงค์ : เพื่อทดสอบปฏิกิริยาของร่างกายต่อยาปฏิชีวนะ และทดสอบภูมิแพ้ ตำแหน่งฉีดยา : บริเวณหน้าแขนหรือต้นแขน ในบางครั้งอาจฉีดบริเวณหลังหรือต้นขาก็ได้ องศาในการแทงเข็ม : ทำมุม 5-15…

วัคซีนหญิงตั้งครรภ์

การฉีดวัคซีน เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับหญิงตั้งครรภ์ ช่วยให้คุณแม่และทารกปลอดภัยจากการติดเชื้อตั้งแต่ในครรภ์จนถึงกำหนดคลอด ซึ่งวัคซีนที่แนะนำให้ฉีดมี 2 ชนิด

เรื่องที่ผู้หญิงต้องรู้เกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูกจะพบมากเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านมแต่กลับเป็นสาเหตุการเสียชีวิตจากมะเร็งอันดับหนึ่งของหญิงไทย เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกหรือระยะก่อนเป็นมะเร็งนั้นผู้ป่วยจะไม่มีอาการใดๆ รวมทั้งหญิงไทยมีความอาย กว่าจะมารับการตรวจโรคก็อาจเข้าสู่ระยะที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้จนต้องเสียชีวิตในที่สุด หากเราเรียนรู้และทำความเข้าใจ ก็จะช่วยป้องกันสาวๆ ให้ห่างไกลจากมะเร็งปากมดลูกได้ วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุตั้งแต่ 9 ปี ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ถึง 70 % มะเร็งปากมดลูกเกิดได้กับผู้หญิงทุกคนทั้งที่เคยมีเพศสัมพันธ์และไม่เคย สาเหตุของมะเร็งปากมดลูกกว่า 90% เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papillomavirus) ส่วนใหญ่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ส่วนน้อยติดต่อทางการสัมผัส…

ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ

สวัสดีค่ะ พี่น้อง nurse soulciety ทุกท่าน หลังจากพี่เนิร์สเผยแพร่เนื้อหาภาวะหลอดเลือดดำอักเสบไปแล้วนั้น วันนี้เราจะมาทบทวนความรู้ของภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาทางหลอดเลือดดำส่วนปลายอีกอย่างหนึ่ง ที่สำคัญมากๆ คือ ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ ส่งผลทำให้เกิดการติดเชื้อที่ตำแหน่งการให้ยา และติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ทำให้ต้องรักษาในโรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่ารักษาพยาบาลมากขึ้น ดังนั้นพยาบาลควรมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกัน เฝ้าระวัง ประเมินการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของยาหรือสารน้ำ และจัดการเมื่อเกิดภาวะดังกล่าว ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ภาวะรั่วซึมของยาหรือสารน้ำออกนอกหลอดเลือดดำ…

Responses

  1. ขอบคุณนะคะพี่เนิร์ส เนื้อหาเป็นประโยชน์มากก ถึงเวลาพาลูกหมามาฉีดวัคซีนพอดีเลยค่ะ