หน้ากากแบบไหน ป้องกันไวรัส COVID-19

หน้ากากแบบไหน ป้องกันไวรัส COVID-19

โควิด-19 ยังไม่ได้หายไป ดังนั้น หน้ากาก จึงเป็นเกราะป้องกันสำคัญ ที่ทุกคนควรใส่ติดตัวให้เป็นนิสัย เพื่อความปลอดภัยของตัวเองและส่วนรวม

แต่หน้ากากมีหลายชนิดให้เลือกมากมาย หลายคงอาจมีคำถามว่าควรใช้หน้ากากแบบไหนดี? ถึงจะป้องกันไวรัสโควิด-19 ได้ วันนี้พี่เนิร์สจะมาคลายข้อสงสัยให้ทุกคนได้รับทราบกันค่ะ

1. หน้ากาก N95
มีคุณสมบัติช่วยป้องกันทั้งฝุ่นละออง PM 2.5 และเชื้อโรคที่มีขนาดเล็กมาก ๆ มีประสิทธิภาพในการป้องกันไม่น้อยกว่า 95% เหมาะสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด แนะนำว่าควรใช้หน้ากากซ้ำไม่เกิน 8 ครั้ง ทั้งการอบร้อนและการฆ่าเชื้อด้วยเครื่องฉายแสง UV-C

ข้อควรระวัง ต้องหมั่นสังเกตว่า การนำหน้ากาก N95 มาใช้ใหม่ในแต่ละครั้ง สายยางยังคงกระชับแนบติดกับใบหน้าหรือไม่ หากใส่หน้ากาก N95 แล้วรู้สึกว่าสบาย แปลว่าสายยางอาจจะหลวม ไม่แนะนำให้นำกลับมาใช้ใหม่ สิ่งสำคัญคือต้องหมั่นทำความสะอาดมือที่สัมผัสกับใบหน้าและหน้ากากตลอดการสวมใส่

2. หน้ากาก KN90
ป้องกันฝุ่นละอองและเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสได้ 90-95% มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับหน้ากาก N95 ต่างกันที่ดีไซน์และมาตรฐานการผลิตจากประเทศจีน แต่สวมใส่สบายกว่า N95

3. หน้ากาก FFP1
ป้องกันฝุ่นละอองและเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสได้ 80% มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับหน้ากาก N95 ต่างกันที่ดีไซน์และมาตรฐานการผลิตจากประเทศในยุโรป แต่หายใจได้สะดวกกว่า N95

4. หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ (Surgical Mask)
มีแผ่นกรอง 3 ชั้นที่สามารถป้องกันเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสได้ถึง 60-80% ใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไอจาม เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ วิธีการใส่ให้นําด้านสีเขียวออกด้านหน้า เพื่อกันสารคัดหลั่งและการแพร่ของเชื้อไวรัส

หน้ากากแบบไหน ป้องกันไวรัส COVID-19

5. หน้ากากอนามัยคาร์บอน (Carbon Mask)
มีความหนาของเส้นใยสังเคราะห์ถึง 4 ชั้น คุณสมบัติไม่ต่างจากหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ สามารถป้องกันเชื้อไวรัสและแบคทีเรียได้ดี แต่มีความพิเศษตรงที่มีแผ่นกรองคาร์บอน จึงสามารถกรองกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์และสารเคมีได้

6. หน้ากากผ้า (Fabric Mask)
ป้องกันเชื้อไวรัสและแบคทีเรียได้ 54-59% เหมาะสำหรับคนทั่วไปที่ยังไม่ป่วย ใช้เพื่อป้องกันการสัมผัสเชื้อ หน้ากากผ้าควรทำจากผ้าฝ้าย ผ้ามัสลิน เพราะมีประสิทธิภาพในการป้องกันการซึมผ่านละอองน้ำ ป้องกันอนุภาคขนาดเล็กได้ และสามารถนำกลับมาใช้งานได้หลายครั้ง

ทุกคนไม่ควรประมาท การ์ดอย่าตก หมั่นล้างมือบ่อย ๆ สวมหน้ากาก กินร้อนช้อนตัวเองนะคะ

ที่มา : โรงพยาบาลมะเร็งลำปาง, ศูนย์ข้อมูล COVID-19

Related Articles

CPR การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (ผู้ใหญ่/เด็ก/ทารก)

การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน CPR คืออะไร? CPR ย่อมาจากคำว่า Cardiopulmonary resuscitation หมายถึง ปฏิบัติการช่วยชีวิตยามฉุกเฉินเพื่อให้ปอดและหัวใจฟื้นคืนชีพขึ้นมา ก่อนถึงมือแพทย์เพื่อให้การรักษาเฉพาะต่อไป การทำ CPR เป็นวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อช่วยคืนชีวิตให้กับผู้ป่วย โดยผสมผสานระหว่าง การผายปอด เพื่อช่วยเพิ่มอากาศเข้าไปในปอด การกดหน้าอกบนตำแหน่งหัวใจ เพื่อช่วยให้หัวใจปั๊มเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนส่งต่อออกซิเจนไปยังอวัยวะต่าง ๆ เมื่อไหร่ถึงจะทำ CPR?การทำ CPR มักจะใช้สำหรับช่วยเหลือผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉินที่หมดสติ…

ใส่หน้ากาก 2 ชั้น ป้องกันโควิดได้ดีกว่าเดิมจริงรึป่าว?

ปัจจุบันมีข้อมูลชัดเจนว่าการใส่หน้ากากผ้าทับหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ มีประโยชน์สามารถลดการแพร่เชื้อและป้องกันการรับเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ดีกว่าใส่หน้ากากชั้นเดียว

Long Covid เจ็บ…แต่ไม่จบของคนเคยติดเชื้อ covid-19

Long Covid คืออะไร ? อ้างอิงจากนิยามองค์การอนามัยโลก ประกาศ ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2564 ระบุว่า เป็นอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นใหม่หรือต่อเนื่องภายหลังการติดเชื้อโควิด-19 หลังจากรักษาหายแล้ว แต่หลายคนยังรู้สึกเหมือนยังไม่หายดี ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นมีความหลากหลายและอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยอาจเป็นอาการที่เกิดขึ้นใหม่ หรือเป็นอาการที่หลงเหลืออยู่หลังรักษาหาย ส่วนมากตั้งแต่ 3 เดือน นับจากวันตรวจพบเชื้อ และมีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 2 เดือน…

บุคลากรทางการแพทย์ เอาตัวรอดยังไงในสถานการณ์ COVID-19

บุคลากรทางการแพทย์ เป็นกลุ่มที่ทำงานสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย จึงมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากกว่ากลุ่มอื่น แต่ยังไงก็ต้องรอดให้ได้!! เพื่อปกป้องตัวเองให้รอดจาก COVID-19 พี่เนิร์สมีวิธีการดูแลตัวเอง เมื่อต้องออกจากบ้านมาฝากค่ะ อุปกรณ์ที่ต้องมี : หน้ากากอนามัย, เจลแอลกอฮอล์ที่เข้มข้น 70%, ไม้จิ้มฟัน 1. ออกจากบ้านไปที่ทำงาน สวมหน้ากากอนามัยก่อนออกจากบ้าน หลีกเลี่ยงสัมผัสของใช้ส่วนตัวขณะเดินทาง ระวังอย่าใช้มือสัมผัสดวงตา จมูก และปาก 2. เมื่อถึงที่สถานพยาบาล พกไม้จิ้มฟันเพื่อใช้กดลิฟต์ หลีกเลี่ยงใช้มือกดลิฟต์โดยตรง…

การเลือกใช้และลำดับการบรรจุเลือดลงหลอดเก็บเลือด

หลอดเก็บเลือดเป็นหลอดแก้วที่ผ่านขบวนการปลอดเชื้อด้วยการอาบรังสี และถูกผนึกด้วยจุกพลาสติกเพื่อรักษาสภาพสุญญากาศ นอกจากนี้จุกยังมีสีต่าง ๆ ตามสารกันเลือดแข็งที่บรรจุอยู่ เพื่อความสะดวกต่อผู้ใช้ในการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ

Responses