หลีกเลี่ยง 3C ปกติวิถีใหม่ ห่างไกล Covid-19

โควิดยังไม่จบ เราควรมีจิตสำนึกสาธารณะ ตระหนักถึงความเสี่ยงไปยังสถานที่ต่าง ๆ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสร้าย พี่เนิร์สมี หลีกเลี่ยง 3C มาฝากให้ทุกคนปฏิบัติร่วมกันค่ะ

Avoid the 3cs

หลีกเลี่ยง 3C หรือ 3 สถานที่ที่ควรหลีกเลี่ยง

เนื่องจากเป็นสถานที่ที่เชื้อไวรัส COVID-19 สามารถแพร่ระบาดหรือติดต่อกันได้ง่ายขึ้น

1. Crowded places สถานที่แออัด มีคนอยู่รอบตัวจำนวนมาก
2. Close-contact settings สถานที่สัมผัสใกล้ชิด โดยเฉพาะเมื่อมีการสนทนาระยะใกล้
3. Confined and enclosed spaces สถานที่ปิดทึบและการระบายอากาศไม่ดี

Avoid the 3cs

วิธีป้องกันตัวเองจากเชื้อไวรัส COVID-19

  • หลีกเลี่ยงไปสถานที่แออัด เช่น สถานบันเทิง โรงเรียน โรงภาพยนตร์ กิจกรรมกีฬา เป็นต้น หรือถ้าจำเป็นให้พยายามลดเวลาในการทำกิจกรรมให้สั้นลงเท่าที่ทำได้
  • รักษาระยะห่างจากคนอื่น อย่างน้อย 1-2 เมตร เพื่อลดเสี่ยงแพร่ระบาด COVID-19
  • เปิดหน้าต่าง-ประตู เพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก
  • หมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เจลล้างมือ ปิดปาก ปิดจมูก เวลาไอ จาม ด้วยกระดาษทิชชูหรือต้นแขนด้านใน
  • สวมหน้ากากอนามัยป้องกันก่อนออกจากบ้าน

หากมีอาการป่วย เช่น มีไข้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ หายใจลำบาก ควรกักตัวอยู่แต่ในบ้าน ยกเว้นว่าจะไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างเร่งด่วน

แหล่งที่มา : World Health Organization (WHO)

Related Articles

ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ

สวัสดีค่ะ พี่น้อง nurse soulciety ทุกท่าน หลังจากพี่เนิร์สเผยแพร่เนื้อหาภาวะหลอดเลือดดำอักเสบไปแล้วนั้น วันนี้เราจะมาทบทวนความรู้ของภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาทางหลอดเลือดดำส่วนปลายอีกอย่างหนึ่ง ที่สำคัญมากๆ คือ ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ ส่งผลทำให้เกิดการติดเชื้อที่ตำแหน่งการให้ยา และติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ทำให้ต้องรักษาในโรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่ารักษาพยาบาลมากขึ้น ดังนั้นพยาบาลควรมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกัน เฝ้าระวัง ประเมินการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของยาหรือสารน้ำ และจัดการเมื่อเกิดภาวะดังกล่าว ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ภาวะรั่วซึมของยาหรือสารน้ำออกนอกหลอดเลือดดำ…

Long Covid เจ็บ…แต่ไม่จบของคนเคยติดเชื้อ covid-19

Long Covid คืออะไร ? อ้างอิงจากนิยามองค์การอนามัยโลก ประกาศ ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2564 ระบุว่า เป็นอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นใหม่หรือต่อเนื่องภายหลังการติดเชื้อโควิด-19 หลังจากรักษาหายแล้ว แต่หลายคนยังรู้สึกเหมือนยังไม่หายดี ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นมีความหลากหลายและอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยอาจเป็นอาการที่เกิดขึ้นใหม่ หรือเป็นอาการที่หลงเหลืออยู่หลังรักษาหาย ส่วนมากตั้งแต่ 3 เดือน นับจากวันตรวจพบเชื้อ และมีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 2 เดือน…

โรคนอนไม่หลับ (Insomnia)

โรคนอนไม่หลับเป็นปัญหาที่พบได้ทุกวัย ทุกอายุ เกิดขึ้นได้บ่อยตามข้อมูลการศึกษาพบได้ถึง ร้อยละ30-35 ของผู้ใหญ่ พบภาวะดังกล่าวได้บ่อยในวัยผู้สูงอายุ, ผู้ป่วยที่มีปัญหาเจ็บป่วยทางร่างกายหรือจิตใจ  ผู้ป่วยจะมีปัญหานอนไม่หลับทั้งๆที่มีโอกาสเพียงพอสำหรับการนอน  ผลของการนอนไม่หลับทำให้ร่างกายเกิดความอ่อนเพลีย, ปวดศีรษะ, จิตใจเกิดความกังวลหรือมีผลต่อการคิดการตัดสินใจและการทำงานในช่วงกลางวัน โรคนอนไม่หลับสามารถแบ่งได้หลายประเภทตามลักษณะช่วงเวลาของการนอนไม่หลับ 1.Initial insomnia คือภาวะที่ผู้ป่วยมีปัญหานอนหลับยากใช้เวลานอนนานกว่าจะหลับภาวะดังกล่าวอาจสัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวล2.Maintinance insomnia คือภาวะที่ผู้ป่วยไม่สามารถนอนหลับได้ยาวมีการตื่นกลางดึกบ่อยภาวะดังกล่าวอาจเกี่ยวข้องกับปัญหาทางกาย เช่นภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น3.Terminal insomnia คือภาวะที่ผู้ป่วยตื่นเร็วกว่าเวลาที่ควรจะตื่นอาจพบได้ในผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้า นอกจากนี้ถ้าแบ่งตามระยะเวลาที่เกิดโรคจะแบ่งได้สองกลุ่มคือ  1.Adjustment insomnia (โรคการนอนไม่หลับจากการปรับตัว) ซึ่งผู้ป่วยมักเป็นฉับพลันตามหลังสถานการณ์…

กินวิตามินหลังติดโควิด ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน

สวัสดีค่าวันนี้พี่เนิร์ส เอาเรื่องวิตามินที่จำเป็นหลังจากหายโควิดมาฝากค่า หลังจากติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ถึงแม้จะหายดี ไม่พบเชื้อไวรัสหลงเหลือในร่างกายแล้ว แต่หลายคนกลับมีสภาพร่างกายเปลี่ยนไป เหนื่อยง่ายขึ้น สมาธิ ไอเรื้อรัง หรืออาการอื่นๆ ที่เข้าข่ายภาวะลองโควิด (Long COVID) อาการเหล่านี้ สามารถรักษาได้ด้วยการกินวิตามินหลังติดโควิดเพื่อฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาแข็งแรงดังเดิม วิตามินหลังติดโควิด จากการวิจัยพบว่า หลังติดเชื้อโควิด-19  ผู้ป่วย 30-50% พบอาการลองโควิด โดยผู้ป่วยส่วนมากที่มีภาวะลองโควิดคือผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ผู้ป่วยที่เชื้อลงปอด หรือมีโรคประจำตัวเรื้อรัง โดยจะมีอาการดังเช่น…

ดูแลเด็กอย่างไรให้ปลอดภัยจาก COVID-19

ยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้พ่อแม่รู้สึกกังวลต่อสุขภาพของเด็ก พี่เนิร์สเลยจะมาบอกวิธีการดูแลเด็กในช่วงโควิด-19 ให้ทุกคนทราบกันค่ะ

Responses