บุคลากรทางการแพทย์ เอาตัวรอดยังไงในสถานการณ์ COVID-19

บุคลากรทางการแพทย์ เอาตัวรอดยังไงในสถานการณ์ COVID-19

บุคลากรทางการแพทย์ เป็นกลุ่มที่ทำงานสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย จึงมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากกว่ากลุ่มอื่น แต่ยังไงก็ต้องรอดให้ได้!!

เพื่อปกป้องตัวเองให้รอดจาก COVID-19 พี่เนิร์สมีวิธีการดูแลตัวเอง เมื่อต้องออกจากบ้านมาฝากค่ะ

อุปกรณ์ที่ต้องมี : หน้ากากอนามัย, เจลแอลกอฮอล์ที่เข้มข้น 70%, ไม้จิ้มฟัน

1. ออกจากบ้านไปที่ทำงาน

  • สวมหน้ากากอนามัยก่อนออกจากบ้าน
  • หลีกเลี่ยงสัมผัสของใช้ส่วนตัวขณะเดินทาง
  • ระวังอย่าใช้มือสัมผัสดวงตา จมูก และปาก

2. เมื่อถึงที่สถานพยาบาล

  • พกไม้จิ้มฟันเพื่อใช้กดลิฟต์ หลีกเลี่ยงใช้มือกดลิฟต์โดยตรง
  • สวมหน้ากาก N95 หรือ Surgical mask ขึ้นอยู่กับหัตถการ
  • ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ รอให้แห้ง อย่าเช็ดออก
  • เช็ดทำความสะอาดอุปกรณ์ (ในกรณีสัมผัส) ด้วยเจลแอลกอฮอล์หรือแอลกอฮอล์ล้างแผล
  • รักษาระยะห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 2 เมตร

3. ออกจากสถานพยาบาลกลับบ้าน

  • ล้างมือด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์
  • สวมหน้ากากอนามัยขณะใช้บริการขนส่งสาธารณะ
  • ใช้เจลแอลกอฮอล์หลังจับสิ่งของ เช่น ราวบันไดเลื่อน ที่จับประตู

4. เมื่อกลับถึงบ้าน

  • ล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาด อย่างน้อย 20 วินาที
  • เช็ดทำความสะอาดอุปกรณ์ส่วนตัว เช่น กระเป๋าสตางค์ โทรศัพท์มือถือ
  • เปลี่ยนเสื้อผ้าและทำความสะอาดร่างกายทันที และควรรีบซักทำความสะอาดเสื้อผ้า
  • หากสมาชิกในบ้านต้องทำงานในสถานที่เสี่ยงติดเชื้อ ถ้ามีความเสี่ยงมากควรแยกตัวไปก่อน แต่ถ้าไม่สามารถแยกได้ เมื่อกลับถึงบ้านควรอาบน้ำสระผมเปลี่ยนเสื้อผ้าก่อนเจอลูก และควรใส่หน้ากากตลอดเวลา ล้างมือและทำความสะอาดจุดสัมผัสร่วมบ่อย ๆ เว้นระยะห่าง แยกข้าวของเครื่องใช้ และสำรับอาหาร

ระยะนี้พี่เนิร์สขอให้ทุกคนดูแลสุขภาพตัวเองให้ดี ลองทำตามคำแนะนำเหล่านี้กันดูนะคะ

Related Articles

หน้ากากแบบไหน ป้องกันไวรัส COVID-19

หน้ากากมีหลายชนิดให้เลือกมากมาย หลายคงอาจมีคำถามว่าควรใช้หน้ากากแบบไหนดี? ถึงจะป้องกันไวรัสโควิด-19 ได้ วันนี้พี่เนิร์สจะมาคลายข้อสงสัยให้ทุกคนได้รับทราบกันค่ะ

Long Covid เจ็บ…แต่ไม่จบของคนเคยติดเชื้อ covid-19

Long Covid คืออะไร ? อ้างอิงจากนิยามองค์การอนามัยโลก ประกาศ ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2564 ระบุว่า เป็นอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นใหม่หรือต่อเนื่องภายหลังการติดเชื้อโควิด-19 หลังจากรักษาหายแล้ว แต่หลายคนยังรู้สึกเหมือนยังไม่หายดี ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นมีความหลากหลายและอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยอาจเป็นอาการที่เกิดขึ้นใหม่ หรือเป็นอาการที่หลงเหลืออยู่หลังรักษาหาย ส่วนมากตั้งแต่ 3 เดือน นับจากวันตรวจพบเชื้อ และมีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 2 เดือน…

ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ

สวัสดีค่ะ พี่น้อง nurse soulciety ทุกท่าน หลังจากพี่เนิร์สเผยแพร่เนื้อหาภาวะหลอดเลือดดำอักเสบไปแล้วนั้น วันนี้เราจะมาทบทวนความรู้ของภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาทางหลอดเลือดดำส่วนปลายอีกอย่างหนึ่ง ที่สำคัญมากๆ คือ ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ ส่งผลทำให้เกิดการติดเชื้อที่ตำแหน่งการให้ยา และติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ทำให้ต้องรักษาในโรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่ารักษาพยาบาลมากขึ้น ดังนั้นพยาบาลควรมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกัน เฝ้าระวัง ประเมินการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของยาหรือสารน้ำ และจัดการเมื่อเกิดภาวะดังกล่าว ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ภาวะรั่วซึมของยาหรือสารน้ำออกนอกหลอดเลือดดำ…

ห่างกันสักพัก แต่รักเหมือนเดิม

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ยังคงมีการติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง แถมไม่นานมานี้ยังมีไวรัสโควิดสายพันธ์ใหม่อย่างโอไมครอนเข้ามาอีก ยังคงทำให้มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของทุกคน พี่เนิร์สเชื่อว่าหลายคนคงอยากกลับไปสู่สภาวะปกติได้พบปะสังสรรค์ได้อยู่ใกล้คนที่เรารักเหมือนเดิม แต่ตอนนี้สิ่งที่พวกเราทุกคนต้องช่วยกันคือ เว้นระยะห่างกันสักพัก (Social Distancing) เพื่อลดการแพร่เชื้อ คิดเสียว่าเป็นการทำเพื่อตัวเองและคนที่เรารัก รวมทั้งคนอื่นอีกมากมายรอบๆตัว ถึงแม้สถานการณ์เริ่มดีขึ้นแต่ขอให้ทุกท่านการ์ดไม่ตกนะคะ Social Distancing หรือ การเว้นระยะห่างทางสังคม คือ การสร้างระยะห่างระหว่างตัวเราเองกับคนอื่นๆ ในสังคม ลดการทำกิจกรรมนอกบ้าน หลีกเลี่ยงการใช้ขนส่งสาธารณะ การไม่รวมกลุ่ม ทำกิจกรรมใดๆร่วมกับผู้อื่น…

ดูแลเด็กอย่างไรให้ปลอดภัยจาก COVID-19

ยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้พ่อแม่รู้สึกกังวลต่อสุขภาพของเด็ก พี่เนิร์สเลยจะมาบอกวิธีการดูแลเด็กในช่วงโควิด-19 ให้ทุกคนทราบกันค่ะ

Responses