เช็ค 5 อาการเสี่ยงโอมิครอน

โอมิครอน

จากสถานการณ์ที่ไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด 19 ที่มีการกลายพันธุ์เป็น โอมิครอน (Omicron) พี่เนิร์สมีความห่วงใย และอยากให้ทุกท่านได้สังเกตอาการตนเอง ซึ่งเจ้าสายพันธุ์นี้มีความพิเศษตรงที่สามารถแพร่กระจายได้ง่าย และรวดเร็วกว่าเดิม อีกทั้งยังมีผู้คนติดเชื้อสายพันธุ์นี้มากขึ้นเรื่อย แม้ก่อนหน้านี้จะมีการเปิดเผย อาการสำคัญหลังจากติดโควิดสายพันโอมิครอน จะแตกต่างจากสายพันธุ์ อัลฟา เบตา แกมมา และเดลตา ที่ไม่ว่าจะเป็น มีไข้สูง, ไอ และ ไม่ได้กลิ่นไม่รู้รส ปรากฏว่ามีอาการเบาลง ส่วนอาการอื่นยังไม่แน่ชัด

โอมิครอน

กระทั่งล่าสุด ทีมแพทย์จากแอฟริกาใต้ ซึ่งเป็นประเทศที่ตรวจพบเชื้อโอมิครอนนี้เป็นครั้งแรก ได้ค้นพบ 5 อาการสำคัญ ประกอบด้วย

1. เจ็บคอ
2. ปวดกล้ามเนื้อเล็กน้อย
3. เหนื่อยมาก
4. ไอแห้ง
5. เหงื่อออกตอนกลางคืน แม้จะนอนหลับในห้องแอร์ ซึ่งทำให้เปียกโชกจนคุณอาจต้องลุกขึ้นไปเปลี่ยนเสื้อผ้า

ทั้งนี้อาการดังกล่าวจะแสดงให้เห็นในกลุ่มผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้ว แต่ถ้าไม่ได้ฉีดวัคซีน อาจจะมีอาการที่รุนแรงกว่านี้ จนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

ส่วนวิธีที่ป้องกันโควิดได้ดีที่สุด ยังคงเป็นการสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ หลักเลี่ยงการเข้าไปอยู่ในพื้นที่แออัด รักษาระยะห่าง รับประทานอาหาร 5 หมู่ ออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อเสริมสร้างคุมกันให้กับร่างกายอยู่ตลอดเวลา

แหล่งข้อมูล : ศูนย์ข้อมูล COVID-19 กรมการแพทย์

Related Articles

Long Covid เจ็บ…แต่ไม่จบของคนเคยติดเชื้อ covid-19

Long Covid คืออะไร ? อ้างอิงจากนิยามองค์การอนามัยโลก ประกาศ ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2564 ระบุว่า เป็นอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นใหม่หรือต่อเนื่องภายหลังการติดเชื้อโควิด-19 หลังจากรักษาหายแล้ว แต่หลายคนยังรู้สึกเหมือนยังไม่หายดี ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นมีความหลากหลายและอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยอาจเป็นอาการที่เกิดขึ้นใหม่ หรือเป็นอาการที่หลงเหลืออยู่หลังรักษาหาย ส่วนมากตั้งแต่ 3 เดือน นับจากวันตรวจพบเชื้อ และมีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 2 เดือน…

ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ

สวัสดีค่ะ พี่น้อง nurse soulciety ทุกท่าน หลังจากพี่เนิร์สเผยแพร่เนื้อหาภาวะหลอดเลือดดำอักเสบไปแล้วนั้น วันนี้เราจะมาทบทวนความรู้ของภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาทางหลอดเลือดดำส่วนปลายอีกอย่างหนึ่ง ที่สำคัญมากๆ คือ ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ ส่งผลทำให้เกิดการติดเชื้อที่ตำแหน่งการให้ยา และติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ทำให้ต้องรักษาในโรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่ารักษาพยาบาลมากขึ้น ดังนั้นพยาบาลควรมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกัน เฝ้าระวัง ประเมินการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของยาหรือสารน้ำ และจัดการเมื่อเกิดภาวะดังกล่าว ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ภาวะรั่วซึมของยาหรือสารน้ำออกนอกหลอดเลือดดำ…

เรียนออนไลน์ โควิด-19 และ ระบาดวิทยา รับเกียรติบัตรฟรี

ชวนพี่น้องพยาบาลทุกท่านมาเรียนคอร์สเรียนออนไลน์ฟรีกัน กับหลักสูตร โควิด-19 และระบาดวิทยา สอนโดยศาสตราจารย์ นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ และรองศาสตราจารย์ ยืน ภู่วรวรรณ พี่เนิร์สได้ลองเรียนแล้ว คอร์สนี้จะช่วยให้เข้าใจข้อมูลเกี่ยวกับโควิด-19 อย่างละเอียด โดยเนื้อหาแต่ละบทจะอยู่ในรูปแบบวิดีโอสั้น ผสมกับเนื้อหาวิชาการที่อ่านเข้าใจง่าย พร้อมมีแบบทดสอบท้ายบทเรียน เมื่อเรียนครบทุกบทและสอบผ่านตามเกณฑ์ก็จะได้รับประกาศนียบัตร ที่ออกให้โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เนื้อหาออนไลน์ ประกอบด้วย 8 บทเรียน ดังนี้ 1. ความรู้เกี่ยวกับไวรัส2.…

หน้ากากแบบไหน ป้องกันไวรัส COVID-19

หน้ากากมีหลายชนิดให้เลือกมากมาย หลายคงอาจมีคำถามว่าควรใช้หน้ากากแบบไหนดี? ถึงจะป้องกันไวรัสโควิด-19 ได้ วันนี้พี่เนิร์สจะมาคลายข้อสงสัยให้ทุกคนได้รับทราบกันค่ะ

เราติดเชื้อแล้วหรือยังนะ เช็กอาการเบื้องต้นก่อนไปตรวจ COVID-19

สถานการณ์ COVID-19 ที่กำลังระบาดหนักขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เมืองไทยมียอดผู้ติดเชื้อสะสมสูงขึ้นทุกวัน จนหลายคนกังวลว่า ตัวเองติด COVID-19 หรือยังนะ? พี่เนิร์สขอให้คุณใจเย็น ๆ อย่าเพิ่งตื่นตระหนกจนมากเกินไป เพราะอาการ COVID-19 มีความใกล้เคียงกับโรคไข้หวัดอย่างมาก ดังนั้น เราจึงควรรู้อาการเบื้องต้นของแต่ละโรคก่อนเดินทางไปตรวจดีกว่า เพราะหากเดินทางออกจากบ้านไปโรงพยาบาลโดยไม่จำเป็น อาจทำให้เสี่ยงติดเชื้อ COVID-19 ได้ ความแตกต่างของ “COVID-19” กับ “ไข้หวัดทั่วไป”…