โรคฝีดาษลิง หรือ Monkeypox

โรคฝีดาษลิง ฝีดาษวานร หรือ Monkeypox เกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในสัตว์ฟันแทะบนทวีปแอฟริกา โดยเชื้อไวรัสนี้แพร่เชื้อไปยังสัตว์อื่น และสามารถแพร่จากสัตว์ไปสู่คนได้ ซึ่งการรายงานที่พบโรคนี้ครั้งแรกเกิดจากลิงในห้องทดลอง จึงเรียกว่าฝีดาษลิง หรือฝีดาษวานรนั่นเอง

การติดต่อของโรคฝีดาษลิง

  1. การติดเชื้อจากสัตว์สู่คน เกิดจากการสัมผัสโดยตรงจากเลือด สารคัดหลั่งหรือตุ่มหนองของสัตว์ ถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัดหรือข่วน รวมถึงการประกอบอาหารจากเนื้อสัตว์ป่าที่ติดเชื้อและปรุงสุกไม่เพียงพอ
  2. การแพร่เชื้อจากคนสู่คน สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้โดย
    -การสัมผัสโดยตรงกับรอยโรค ตุ่มหนอง หรือสารน้ำในตุ่มหนองที่แตกออกมา
    -ติดต่อผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งของทางเดินหายใจ เช่น การไอ จาม
    -การกอดจูบ การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อ
    -การสัมผัสสิ่งของ เช่น เสื้อผ้า หรือของใช้ที่มีสารคัดหลั่งปนเปื้อน
    -ติดต่อจากแม่สู่ลูกในครรภ์

อาการที่ควรเฝ้าระวังของโรคฝีดาษลิง

อาการของโรคจะแสดงอาการหลังจากได้รับเชื้อแล้วประมาณ 7-14 วัน

  1. มีไข้ อ่อนเพลีย ปวดหัว ปวดเมื่อยตามร่างกาย
  2. ต่อมน้ำเหลืองโต
  3. หลังจากมีไข้ประมาณ 1-3 วัน จะมีตุ่มเล็ก ๆ คล้ายผื่นขึ้นตามตัว ซึ่งตุ่มเหล่านี้จะอักเสบและแห้งไปเองใน 2 – 4 สัปดาห์ โดยมีการเปลี่ยนแปลงตามลำดับ ดังนี้
    3.1 มีตุ่มนูนแดงคล้ายผื่น
    3.2 ภายในตุ่มมีน้ำใสอยู่ภายใน รู้สึกคัน แสบร้อน
    3.3 ตุ่มใสกลายเป็นหนอง เมื่ออาการรุนแรงขึ้น ตุ่มหนองเหล่านั้นจะแตกออกและแห้งไปเอง
  4. อาจมีอาการท้องเสีย อาเจียน เจ็บคอ ไอ หอบเหนื่อยร่วมด้วย

การป้องกัน

  1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับเลือด ตุ่มหนอง หรือสารคัดหลั่ง เช่น น้ำลาย ละอองฝอย หรือน้ำเหลืองของสัตว์ที่ติดเชื้อ สัตว์ป่า หรือจากผู้ที่สงสัยว่าป่วยหรือมีประวัติเสี่ยงติดเชื้อ
  2. หลีกเลี่ยงการกินเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกไม่เพียงพอ
  3. หมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่และน้ำหรือเจลแอลกอฮอล์ โดยแยกของใช้ส่วนตัวทุกชนิดไม่ใช้ร่วมกับผู้อื่น และหลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ตา จมูก และปาก เป็นต้น
  4. การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้ทรพิษ สร้างจาก Modified Vaccinia Ankara-Bavarian Nordic (MVA-BN) สำหรับป้องกัน Orthopoxvirus สามารถป้องกันได้ทั้งโรคไข้ทรพิษ และโรคฝีดาษลิง ซึ่งมีประสิทธิภาพป้องกันโรคได้ถึง 85%

แหล่งที่มา : โรงพยาบาลเปาโล , https://bit.ly/3cGG30m

                  โรงพยาบาลพระราม9 , https://www.praram9.com/monkeypox-virus/

Related Articles

ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ

สวัสดีค่ะ พี่น้อง nurse soulciety ทุกท่าน หลังจากพี่เนิร์สเผยแพร่เนื้อหาภาวะหลอดเลือดดำอักเสบไปแล้วนั้น วันนี้เราจะมาทบทวนความรู้ของภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาทางหลอดเลือดดำส่วนปลายอีกอย่างหนึ่ง ที่สำคัญมากๆ คือ ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ ส่งผลทำให้เกิดการติดเชื้อที่ตำแหน่งการให้ยา และติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ทำให้ต้องรักษาในโรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่ารักษาพยาบาลมากขึ้น ดังนั้นพยาบาลควรมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกัน เฝ้าระวัง ประเมินการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของยาหรือสารน้ำ และจัดการเมื่อเกิดภาวะดังกล่าว ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ภาวะรั่วซึมของยาหรือสารน้ำออกนอกหลอดเลือดดำ…

ดูแลเด็กอย่างไรให้ปลอดภัยจาก COVID-19

ยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้พ่อแม่รู้สึกกังวลต่อสุขภาพของเด็ก พี่เนิร์สเลยจะมาบอกวิธีการดูแลเด็กในช่วงโควิด-19 ให้ทุกคนทราบกันค่ะ

RSV เชื้อไวรัสร้ายอาการคล้ายไข้หวัด

เชื้อไวรัส RSV เป็นโรคที่มักพบได้บ่อยในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว ซึ่งในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี อาจมีอาการรุนแรงได้มากกว่ากลุ่มอายุอื่น ๆ ดังนั้นผู้ปกครองจึงควรหมั่นสังเกตอาการผิดปกติของลูกไว้ให้ดี เพราะถ้าลูกน้อยติดเชื้อ RSV อาจนำไปสู่โรคปอดอักเสบได้

ซิฟิลิสในหญิงตั้งครรภ์

ซิฟิลิส (Syphilis) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ Treponema pallidum โดยจะเริ่มแสดงอาการ 3-4 สัปดาห์ หลังจากได้รับเชื้อ

โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder)

โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder)  ถือเป็นโรคทางจิตเวชที่พบได้บ่อยมากขึ้นในปัจจุบัน มีความแตกต่างไปจากความวิตกกังวลทั่วไปซึ่งเป็นความรู้สึกที่สามารถพบได้ในชีวิตประจำวัน จากข้อมูลของกรมสุขภาพจิตพบคนไทยมากกว่าหนึ่งแสนคนป่วยด้วยโรควิตกกังวล ซึ่งโรควิตกกังวลนี้จะเป็นความกังวลที่มากกว่าปกติ ไม่ใช่เพียงแค่การคิดมากเกินไปจนส่งผลต่อการดำเนินชีวิต       ถ้าเราสังเกตเห็นถึงความวิตกกังวลมากจนเกินไปก็อาจสันนิษฐานได้ว่ามีแนวโน้มที่จะเป็นโรควิตกกังวล ซึ่งสาเหตุของโรคนี้เกิดจากความผิดปกติทางจิตใจ หรือความไม่สมดุลของสารสื่อประสาทในสมอง ซึ่งอาจเกิดจากพันธุกรรมก็ได้ รวมถึงอาจเกิดจากสภาพแวดล้อม การเลี้ยงดู หรือการเลียนแบบพฤติกรรมจากพ่อแม่ หรือคนใกล้ชิด การประสบกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่ก่อให้เกิดโรควิตกกังวลซึ่งมีหลายประเภท และนี่คือ 5 โรควิตกกังวลที่มักพบได้บ่อยในวัยทำงาน 1.โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder)…