ไข้เลือดออก ภัยร้ายจาก ยุงลาย ตัวจิ๋ว

ไข้เลือดออก ภัยร้ายจาก ยุงลาย ตัวจิ๋ว

ไข้เลือดออก โรคร้ายที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ หากมีอาการหนักมาก อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

เราควรรับมืออย่างไรให้รอดพ้นจากโรคไข้เลือดออก พี่เนิร์สมีคำตอบมาให้ทุกคนแล้วค่ะ

โรคไข้เลือดออก เกิดจากอะไร?
เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อว่าเดงกี่ (Dengue) ซึ่งมีทั้งหมด 4 สายพันธุ์ด้วยกัน โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค เมื่อยุงลายไปกัดคนที่เป็นไข้เลือดออกก็จะดูดเชื้อโรคไว้ และเพิ่มจำนวนในตัวของยุง จากนั้นยุงไปกัดคนอื่นก็จะถ่ายทอดเชื้อเดงกี่ให้ต่อไป

ไข้เลือดออก ภัยร้ายจาก ยุงลาย ตัวจิ๋ว

อาการของไข้เลือดออก

  • มีไข้ ลักษณะไข้สูงลอย ทานยาแล้วไข้ไม่ค่อยลด และมีอาการปวดศีรษะขณะมีไข้
  • มีเลือดออกตามอวัยวะต่าง ๆ ที่สังเกตได้ชัดเจน เช่น เลือกออกตามไรฟัน เลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือด
  • อาการร่วมอื่น ๆ คือ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง เบื่ออาหาร ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ
  • บางรายอาจรุนแรงถึงขั้น ช็อก หมดสติ

หากลูกมีอาการของไข้เลือดออก คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลลูกอย่างไร?

1) หากพบว่าลูกมีอาการรุนแรง ให้รีบนำส่งโรงพยาบาลทันที ซึ่งได้แก่อาการ ทานอาหารไม่ได้ คลื่นไส้อาเจียนรุนแรง มีเลือดออกผิดปกติ ปัสสาวะออกน้อย มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง (เช่น ซึมมากหรือร้องกวนโวยวายมากผิดปกติ) เป็นต้น

2) ถ้าลูกมีอาการไม่รุนแรง แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ดูแลลูกที่บ้านโดยวิธีดังต่อไปนี้
ทานยาลดไข้ พาราเซตามอล เมื่อมีไข้สูง แต่ห้ามใช้แอสไพรินหรือไอบูโพรเฟน เพราะอาจส่งผลให้เป็นแผลและเลือดออกในกระเพาะอาหาร

  • เช็ดตัวเพื่อลดไข้
  • ทานยาแก้คลื่นไส้อาเจียน จิบน้ำเกลือแร่
  • งดอาหารและเครื่องดื่มที่มีสีแดง ดำ หรือน้ำตาล เพื่อป้องกันความเข้าใจผิด เพราะหากเกิดอาการอาเจียน อาจทำให้เข้าใจผิดคิดว่ามีเลือดปนออกมากับอาเจียน

การป้องกันโรคไข้เลือดออก

1) การป้องกันไม่ให้ยุงกัด

  • นอนกางมุ้ง หรือติดมุ้งลวดในบ้าน
  • ทายากันยุง

2) การกำจัดยุงลาย

  • ปิดภาชนะใส่น้ำให้มิดชิด คว่ำภาชนะที่ไม่ใช้
  • หมั่นเปลี่ยนน้ำในภาชนะทุก 7 วัน เช่น แจกันดอกไม้สด แจกันที่หิ้งบูชาพระ แจกันที่ศาลพระภูมิ หรือแจกันประดับตามโต๊ะ
  • ฉีดพ่นสารเคมีหรือใช้สารเคมีกำจัดยุง ซึ่งต้องระมัดระวังอย่างมากในบ้านที่มีเด็กเล็กๆนะคะ

ขอเพียงทุกคนหมั่นดูแลสุขภาพตัวเอง และกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย แค่นี้ก็จะปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกแล้วค่ะ

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

Related Articles

ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ

สวัสดีค่ะ พี่น้อง nurse soulciety ทุกท่าน หลังจากพี่เนิร์สเผยแพร่เนื้อหาภาวะหลอดเลือดดำอักเสบไปแล้วนั้น วันนี้เราจะมาทบทวนความรู้ของภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาทางหลอดเลือดดำส่วนปลายอีกอย่างหนึ่ง ที่สำคัญมากๆ คือ ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ ส่งผลทำให้เกิดการติดเชื้อที่ตำแหน่งการให้ยา และติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ทำให้ต้องรักษาในโรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่ารักษาพยาบาลมากขึ้น ดังนั้นพยาบาลควรมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกัน เฝ้าระวัง ประเมินการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของยาหรือสารน้ำ และจัดการเมื่อเกิดภาวะดังกล่าว ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ภาวะรั่วซึมของยาหรือสารน้ำออกนอกหลอดเลือดดำ…

การประเมินทางระบบประสาท (Neurological signs)

การประเมินทางระบบประสาทมีเครื่องมือหลายอย่าง วันนี้พี่เนิร์สนำความรู้เรื่องแบบประเมินกลาสโกว์โคมาสกอร์(Glasgow Coma Score : GCS) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่นิยมใช้ประเมินความรู้สึกตัวบาดเจ็บศีรษะ แบบประเมินกลาสโกว์โคมาสกอร์(Glasgow Coma Score : GCS) คือ แบบประเมินที่ใช้อธิบายระดับความรู้สึกตัวในผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะโดยประเมินการทางานของสมองส่วนต่างๆ (Henderson, 2016 ) การบันทึก แบ่งออกเป็น 3 ข้อ คือ การลืมตา (eye opening)…

โรคที่มากับหน้าฝน

ในฤดูฝน มีใครชอบบรรยากาศฝนตกในวันหยุดเหมือนพี่เนิร์สบ้างมั้ยคะ แต่ในฤดูฝน อากาศเริ่มเย็นลงและมีความชื้นสูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศนี้ อาจส่งผลต่อสุขภาพของทุกคนได้ค่ะ ฤดูฝนเป็นสาเหตุทำให้โรคหลายชนิดสามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว พี่เนิร์สขอนำข้อมูลเกี่ยวกับโรคที่สำคัญที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษในฤดูนี้ มาฝากค่ะ ข้อมูลจาก กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค ได้ออกประกาศเตือนประชาชนในการป้องกันโรคติดต่อ ที่มักเกิดขึ้นในฤดูฝน โดยมี 5 กลุ่ม ได้แก่  1.กลุ่มโรคติดต่อของระบบทางเดินอาหารที่พบบ่อย  โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน บิด ไทฟอยด์ อาหารเป็นพิษ  โรคเหล่านี้เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนของเชื้อจุลชีพ ที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหาร…

การประเมินแผลกดทับ

แผลกดทับ คือ การบาดเจ็บเฉพาะที่ของผิวหนังหรือเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังโดยเฉพาะบริเวณปุ่มกระดูกหรือบริเวณที่มีอุปกรณ์ทางการแพทย์กดทับการเกิดแผลกดทับมักพบในผู้ป่วยที่มีการนอนอยู่บนเตียงเป็นเวลานาน นอนติดเตียง ไม่ค่อยพลิกตะแคงตัว หรือเป็นผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้หรือช่วยเหลือตัวเองได้น้อย มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวจนเกิดแผลกดทับที่ผิวหนังตามตำแหน่งต่างๆ โดยเฉพาะบริเวณปุ่มกระดูก เช่น กระดูกก้นกบ กระดูกเชิงกราน กระดูกสันหลัง ข้อศอกและส้นเท้า เป็นต้น ระดับของแผลกดทับตาม National Pressure Ulcer Advisory Panel (NPUAP), April 13, 2016 1.ระดับ1…

คำย่อภาษาอังกฤษ ที่ใช้ในการวินิจฉัยโรค

พยาบาลนอกจากดูแลสุขภาพของผู้ป่วยแล้ว อีกหนึ่งหน้าที่ที่สำคัญคือ การอ่านข้อมูลที่บันทึกอยู่ในเวชระเบียน ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยที่มารับบริการตรวจและรักษาโรคในโรงพยาบาล

Responses