อาการเจ็บหน้าอกแบบนี้ หัวใจ VS กรดไหลย้อน เช็กอย่างไร

อาการเจ็บหน้าอกแบบนี้ หัวใจ VS กรดไหลย้อน เช็กอย่างไร

บางครั้งผู้ป่วยอาจจะบอกกับพยาบาลว่า เจ็บหน้าอก แต่อาการแบบไหนล่ะที่เข้าข่ายเสี่ยงเป็น โรคหัวใจ หรือ โรคกรดไหลย้อน

วันนี้พี่เนิร์สจะมาไขข้อสงสัยให้ทุกคนได้ทราบกันค่ะ สรุปมาแบบเข้าใจง่าย ๆ หวังว่าจะเป็นประโยนช์กับทุกคนนะคะ

อาการเจ็บหน้าอก เกิดจากการที่เลือดไหลไปเลี้ยงหัวใจลดลง เนื่องจากเส้นเลือดที่เลี้ยงหัวใจมีการตีบแคบหรืออุดตันอย่างน้อย 1 เส้น

อาการเจ็บหน้าอกแบบนี้ หัวใจ VS กรดไหลย้อน เช็กอย่างไร

อาการโรคหัวใจ หรือภาวะหัวใจขาดเลือด

  • รู้สึกแน่น อึดอัด จุกเหมือนมีอะไรมาทับหรือบีบรัด บริเวณกลางหน้าอก
  • รู้สึกเจ็บร้าวไปที่ลำคอ ขากรรไกร ไหล่และแขน โดยเฉพาะแขนซ้าย
  • มีอาการเหนื่อยร่วมกับหายใจไม่อิ่ม
  • มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เวียนศีรษะ คลื่นไส้ ใจสั่น เหงื่อออก เป็นต้น
  • รู้สึกเหนื่อยมากกว่าปกติเวลาออกแรง เช่น ออกกำลังกาย เดินเร็ว วิ่ง

อาการโรคกรดไหลย้อน

  • มีอาการเจ็บหน้าอกเวลาหายใจลึก ๆ หรือไอ แต่ไม่ร้าวไปบริเวณที่ไหล่ แขน หรือขากรรไกร
  • ปวดแสบร้อนในลำคอ หน้าอก หรือช่วงท้อง
  • จุกแน่นอยู่ในหน้าอก คล้ายอาหารไม่ย่อย
  • กลืนลำบาก เหมือนมีก้อนจุกอยู่ที่คอ
  • รู้สึกเหมือนมีรสเปรี้ยวของกรดในคอหรือปาก
  • เรอเปรี้ยว ผายลมบ่อย

จุดแตกต่างระหว่าง โรคหัวใจ กับ กรดไหลย้อน
อาการโรคหัวใจ แน่นหน้าอก รู้สึกเจ็บร้าวไปที่ลำคอ ขากรรไกร ไหล่และแขนซ้าย ส่วนกรดไหลย้อน จะมีอาการเจ็บหน้าอกเวลาหายใจลึกๆ หรือไอ แต่ไม่ร้าวไปบริเวณที่ไหล่ แขน หรือขากรรไกร

Related Articles

โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder)

โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder)  ถือเป็นโรคทางจิตเวชที่พบได้บ่อยมากขึ้นในปัจจุบัน มีความแตกต่างไปจากความวิตกกังวลทั่วไปซึ่งเป็นความรู้สึกที่สามารถพบได้ในชีวิตประจำวัน จากข้อมูลของกรมสุขภาพจิตพบคนไทยมากกว่าหนึ่งแสนคนป่วยด้วยโรควิตกกังวล ซึ่งโรควิตกกังวลนี้จะเป็นความกังวลที่มากกว่าปกติ ไม่ใช่เพียงแค่การคิดมากเกินไปจนส่งผลต่อการดำเนินชีวิต       ถ้าเราสังเกตเห็นถึงความวิตกกังวลมากจนเกินไปก็อาจสันนิษฐานได้ว่ามีแนวโน้มที่จะเป็นโรควิตกกังวล ซึ่งสาเหตุของโรคนี้เกิดจากความผิดปกติทางจิตใจ หรือความไม่สมดุลของสารสื่อประสาทในสมอง ซึ่งอาจเกิดจากพันธุกรรมก็ได้ รวมถึงอาจเกิดจากสภาพแวดล้อม การเลี้ยงดู หรือการเลียนแบบพฤติกรรมจากพ่อแม่ หรือคนใกล้ชิด การประสบกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่ก่อให้เกิดโรควิตกกังวลซึ่งมีหลายประเภท และนี่คือ 5 โรควิตกกังวลที่มักพบได้บ่อยในวัยทำงาน 1.โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder)…

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

NCDs ย่อมาจาก Non-Communicable Diseases หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หมายถึง โรคที่ไม่ติดต่อ หรือไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อโรค แต่เกิดจากการสะสมอาการอย่างต่อเนื่อง จากนิสัยหรือพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม

ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ

สวัสดีค่ะ พี่น้อง nurse soulciety ทุกท่าน หลังจากพี่เนิร์สเผยแพร่เนื้อหาภาวะหลอดเลือดดำอักเสบไปแล้วนั้น วันนี้เราจะมาทบทวนความรู้ของภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาทางหลอดเลือดดำส่วนปลายอีกอย่างหนึ่ง ที่สำคัญมากๆ คือ ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ ส่งผลทำให้เกิดการติดเชื้อที่ตำแหน่งการให้ยา และติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ทำให้ต้องรักษาในโรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่ารักษาพยาบาลมากขึ้น ดังนั้นพยาบาลควรมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกัน เฝ้าระวัง ประเมินการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของยาหรือสารน้ำ และจัดการเมื่อเกิดภาวะดังกล่าว ภาวะรั่วซึมของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือดดำ สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ภาวะรั่วซึมของยาหรือสารน้ำออกนอกหลอดเลือดดำ…

กลุ่มอาการ PMS/PMDD ก่อนมีประจำเดือน

สาวๆ คุณเคยมีอาการดังต่อไปนี้หรือเปล่า? อารมณ์แปรปรวนก่อนมีประจำเดือน เศร้า หดหู่ เซ็ง หงุดหงิด น่าเบื่อไปหมดทุกอย่าง อาการเหวี่ยงวีนของสาวๆ ก่อนมีประจำเดือน บางทีสาวๆ อย่างเราก็ยังไม่เข้าใจตัวเองเลย วันนี้พี่เนิร์สจึงขอพาทุกคนมาเช็คอาการที่เรามักจะเป็นก่อนมีประจำเดือน ว่าเราจัดอยู่ในกลุ่มอาการแบบไหน ต้องรักษาไหม?ไปดูกันเลย 1. เราเป็น PMS, PMDD หรือเปล่า ? PMS (Premenstrual Syndrome) คือ…

ทะเลไทย เที่ยวหน้าไหนดี?

ใครกำลังอยากรู้ว่าจะเที่ยวทะเลไทย ควรไปช่วงเดือนไหนดีที่จะไม่เจอมรสุม วันนี้น้องอารีย์มีคำตอบมาให้ทุกคนแล้วว ทะเลไทยแบ่งออกเป็น 4 โซนใหญ่ๆ ตามนี้ 1. ฝั่งอันดามัน เช่น ภูเก็ต กระบี่ พังงา ตรัง หลีเป๊ะ 2. ทะเลฝั่งอ่าวไทยตอนบน เช่น ชะอำ เพชรบุรี หัวหิน ประจวยคีรีขันธ์ 3. ทะเลฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง เช่น…

Responses