เหนื่อยนักก็พักก่อน! งีบหลับยังไงให้มีประสิทธิภาพ

เหนื่อยนักก็พักก่อน! งีบหลับยังไงให้มีประสิทธิภาพ

ในวันที่พักผ่อนไม่เพียงพอ ร่างกายอ่อนล้า แต่ยังต้องทำงานหนัก หยุดพักไม่ได้ พี่เนิร์สเข้าใจค่ะ

ถ้างั้นเรามางีบหลับสักนิดในเวลาพักเบรก เพื่อเรียกพลังกันหน่อยดีกว่า จะได้สดชื่น มีแรงลุยงานต่อ แล้วต้องงีบหลับอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ มาดูกันค่ะ

การนอนระหว่างวันในระยะเวลาสั้นๆ หรือที่เรียกว่า Power Nap คือ การงีบหลับประมาณ 10-20 นาที จะช่วยเพิ่มพลังและคืนความสดชื่นแก่ร่างกายและสมอง

แต่ถ้างีบหลับเกินกว่า 20 นาที ตื่นมาแล้วร่างกายจะรู้สึกง่วง หรืออ่อนเพลียมากกว่าเดิม และยังทำให้เราอยากนอนเพิ่มอีกด้วย

เวลาที่เหมาะสมในการงีบหลับ

  • 10 นาที ได้ผลทันใจ หายล้า กระตุ้นสมองได้ดี มีผล 2 ชั่วโมง
  • 20 นาที ช่วยกระตุ้นได้ดี ทำให้ตื่นตัว ใช้ความคิดได้ดี แต่สู้งีบ 10 นาทีไม่ได้

การงีบหลับส่งผลต่อร่างกายอย่างไร

1) ชาร์จพลังในการทำงาน
การงีบช่วยลดความเหนื่อยล้าจากการทำงาน สมองและร่างกายกลับมาตื่นตัวอย่างรวดเร็ว

2) เพิ่มประสิทธิภาพด้านความจำ
การงีบระยะสั้น เป็นการนอนที่อยู่ในช่วง Non-Rapid Eye Movement (NREM) ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาที่สมองกำลังทบทวนสิ่งที่เพิ่งเรียนรู้ไป เพื่อส่งผ่านความจำระยะสั้นให้เกิดเป็นความจำระยะยาว ทำให้จดจำสิ่งต่าง ๆ ได้ยาวนาน

3) ผ่อนคลายความเครียด
การหลับช่วยลดฮอร์โมนความเครียด (Cortisol) ทำให้ร่างกายสดชื่น อารมณ์ดีขึ้น เมื่อระดับความเครียดลดลง ก็จะช่วยลดเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้

4) หัวใจทำงานดีขึ้น
ขณะที่เรานอนหลับ ร่างกายจะหลั่งสารต้านก่อโรคหัวใจ จึงช่วยลดความเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจได้

5) กระตุ้นจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
การงีบหลับเป็นการรีเฟรชร่างกาย ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมอง ทำให้สมองโลดแล่น สามารถคิดไอเดียใหม่ ๆ ออกมาได้

ไม่น่าเชื่อว่าการงีบหลับเพียงไม่กี่นาที จะให้ประโยชน์กับเรามากขนาดนี้ หากรู้สึกเหนื่อย ลองทำ Power nap ช่วงพักเบรกสักนิด แล้วค่อยลุยงานต่อนะคะ

เหนื่อยนักก็พักก่อน! งีบหลับยังไงให้มีประสิทธิภาพ

Related Articles

nursesoulciety ร่วมเชิดชูพยาบาลดีเด่น เนื่องในวันพยาบาลแห่งชาติ

21 ตุลาคม วันพยาบาลแห่งชาติ และรวมถึงเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระองค์ได้ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจในการพัฒนาสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตของประชาชน ไม่ว่าจะอยู่ในถิ่นทุรกันดารเพียงใด

คำย่อภาษาอังกฤษ ที่ใช้ในการวินิจฉัยโรค

พยาบาลนอกจากดูแลสุขภาพของผู้ป่วยแล้ว อีกหนึ่งหน้าที่ที่สำคัญคือ การอ่านข้อมูลที่บันทึกอยู่ในเวชระเบียน ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยที่มารับบริการตรวจและรักษาโรคในโรงพยาบาล

Responses