APGAR score คะแนนประเมินสุขภาพทารก

APGAR score คะแนนประเมินสุขภาพทารก

หลังคลอดเสร็จเมื่อทารกน้อยลืมตาดูโลก เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเด็กแข็งแรง หายใจได้เป็นปกติ?

พี่เนิร์สมีคำตอบมาให้แล้ว วิธีการประเมินสุขภาพทารกแรกเกิดของแผนกห้องคลอดก็คือ APGAR Score นั่นเองค่ะ

APGAR Score

คือ คะแนนประเมินสภาวะทารกแรกเกิดใน 1 นาทีแรก ต่อด้วย 5 นาที และ 10 นาที หลังคลอด เพื่อประเมินภาวะการหายใจในทารก แบ่งออกเป็น 5 ส่วน

Appearance (ลักษณะสีผิว)

  • ถ้าผิวสีเขียวคล้ำทั่วร่างกาย ให้ 0 คะแนน
  • ถ้าเขียวปลายมือปลายเท้า ให้ 1 คะแนน
  • ถ้าผิวสีชมพูทั้งตัว ให้ 2 คะแนน

Pulse (อัตราการเต้นของหัวใจ)

  • ถ้าไม่มีชีพจร ให้ 0 คะแนน
  • ถ้ามีน้อยกว่า 100 ครั้ง/นาที ให้ 1 คะแนน
  • ถ้ามีมากกว่า 100 ครั้ง/นาที ให้ 2 คะแนน

Grimace (สีหน้าจากการกระตุ้น)

  • ถ้าไม่มีการตอบสนอง ให้ 0 คะแนน
  • แสยะปาก ร้องไห้เบาๆ ให้ 1 คะแนน
  • มีไอจาม หรือร้องไห้เสียงดัง ให้ 2 คะแนน

Activity (การเคลื่อนไหวของทารก)

  • ถ้าอ่อนปวกเปียก ให้ 0 คะแนน
  • ถ้าแขนขางอเล็กน้อย ให้ 1 คะแนน
  • ถ้าแข็งแรงเคลื่อนไหวได้ดี ให้ 2 คะแนน

Respiration (ความพยายามในการหายใจ)

  • ไม่หายใจ ให้ 0 คะแนน
  • หายใจช้า/ไม่สม่ำเสมอ ให้ 1 คะแนน
  • หายใจดี ร้องเสียงดัง ให้ 2 คะแนน

การประเมินสุขภาพทารกแรกเกิด มีคะแนนเต็มทั้งหมด 10 คะแนน

7 คะแนนขึ้นไป ทารกจัดอยู่ในภาวะปกติ ไม่ขาดออกซิเจน หลังทำการประเมินเสร็จ จะดูดสารคัดหลั่งในปากและจมูกด้วยลูกสูบยางแดง พร้อมกับเช็ดตัวและห่อตัวทารกให้อบอุ่น จากนั้นทารกก็สามารถออกมากินนมแม่ได้

ต่ำกว่า 7 คะแนน ทารกกลุ่มนี้จะสัมพันธ์กับภาวะขาดออกซิเจน (Birth Asphyxia) มีความเสี่ยงที่ทารกจะเกิดความผิดปกติและความพิการของสมอง ดังนั้นทารกในรายที่มีอาการรุนแรง อาจต้องได้รับการช่วยฟื้นคืนชีพด้วย CPR

Related Articles

CPR การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (ผู้ใหญ่/เด็ก/ทารก)

การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน CPR คืออะไร? CPR ย่อมาจากคำว่า Cardiopulmonary resuscitation หมายถึง ปฏิบัติการช่วยชีวิตยามฉุกเฉินเพื่อให้ปอดและหัวใจฟื้นคืนชีพขึ้นมา ก่อนถึงมือแพทย์เพื่อให้การรักษาเฉพาะต่อไป การทำ CPR เป็นวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อช่วยคืนชีวิตให้กับผู้ป่วย โดยผสมผสานระหว่าง การผายปอด เพื่อช่วยเพิ่มอากาศเข้าไปในปอด การกดหน้าอกบนตำแหน่งหัวใจ เพื่อช่วยให้หัวใจปั๊มเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนส่งต่อออกซิเจนไปยังอวัยวะต่าง ๆ เมื่อไหร่ถึงจะทำ CPR?การทำ CPR มักจะใช้สำหรับช่วยเหลือผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉินที่หมดสติ…

Bishop Score คะแนนประเมินความพร้อมของปากมดลูก

การชักนําคลอด หรือ การเร่งคลอด (Induction of labor) คือ การกระตุ้นให้เจ็บครรภ์ คลอดโดยทำให้มดลูกเกิดการหดรัดตัว ร่วมกับการทำให้ปากมดลูกนุ่ม เพื่อเข้าสู่กระบวนการคลอด

การประเมินทางระบบประสาท (Neurological signs)

การประเมินทางระบบประสาทมีเครื่องมือหลายอย่าง วันนี้พี่เนิร์สนำความรู้เรื่องแบบประเมินกลาสโกว์โคมาสกอร์(Glasgow Coma Score : GCS) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่นิยมใช้ประเมินความรู้สึกตัวบาดเจ็บศีรษะ แบบประเมินกลาสโกว์โคมาสกอร์(Glasgow Coma Score : GCS) คือ แบบประเมินที่ใช้อธิบายระดับความรู้สึกตัวในผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะโดยประเมินการทางานของสมองส่วนต่างๆ (Henderson, 2016 ) การบันทึก แบ่งออกเป็น 3 ข้อ คือ การลืมตา (eye opening)…

ทำความรู้จัก Burn Injury แผลไหม้

แผลไหม้ หมายถึง บาดแผลที่ผิวหนังถูกทำลายด้วยความร้อน สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากถูกเปลวไฟลวก ถูกของเหลวร้อนลวก กระแสไฟฟ้าแรงสูง หรือสารเคมี ส่งผลทำให้เนื้อเยื่อถูกทำลาย ตั้งแต่ชั้นหนังกำพร้า หนังแท้ หรืออาจลึกลงไปถึงกระดูกได้

การใช้มาตรวัดความเจ็บปวด

สวัสดีค่ะ พี่น้อง nurse soulciety ทุกท่าน การประเมินความเจ็บปวดของผู้ป่วย เป็นบทบาทหนึ่งของพยาบาลที่จะทำการประเมินและจัดการกับความเจ็บปวดให้ผู้ป่วยอย่างเหมาะสม พี่เนิร์สอยากมาแชร์ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือที่พยาบาลใช้ประเมินความเจ็บปวดของผู้ป่วยแต่ละราย เราเรียกเครื่องมือนี้ว่า มาตรวัดความเจ็บปวด มาติดตามดูกันได้เลยค่ะ มาตรวัดความเจ็บปวด หมายถึง เป็นเครื่องมือที่ใช้เป็นเกณฑ์วัดความเจ็บปวด เนื่องจากความเจ็บปวดเป็นนามธรรม ไม่อาจจับต้องได้บางครั้งผู้ป่วยเป็นเด็กเล็ก ผู้ป่วยวิกฤต หรือผู้ป่วยที่ขยับเขยื้อนไม่ได้ เป็นต้น จำเป็นที่เราต้องมีเครื่องมือที่เหมาะสมในการวัดสำหรับผู้ป่วยเหล่านี้ เครื่องมือในการประเมินความปวด ได้แก่ Neonatal Infant Pain…